อาจารย์ มจพ. พัฒนาต้นแบบปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มม.สัญชาติไทยมีความแม่นยำสูง

ข่าวทั่วไป Friday April 23, 2021 16:10 —ThaiPR.net

อาจารย์ มจพ. พัฒนาต้นแบบปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มม.สัญชาติไทยมีความแม่นยำสูง

ผศ.ณรงค์เดช พัฒนไพบูลย์อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)หัวหน้าโครงการ และคณะทำงานประกอบด้วย ผศ.ณรงค์เดช พัฒนไพบูลย์รศ.สถาพรชาตาคม ผศ.ดร.กิตติภัฎ รัตนจันทร์ผศ.ดร.สุนทร สิทธิสกุลเจริญผศ.วัชระ ลายลักษณ์ผศ.ดร.ศรายุทธ เงินทองผศ.ประมุข เจนกิตติยนต์ และอาจารย์ภาวัช จันทสรต้นแบบปืนเล็กยาวขนาด 5.56มิลลิเมตรเป็นปืนเล็กยาวจู่โจม(Assault Rifle) ระบบการทำงานด้วยแก๊ส

ลูกสูบช่วงชักยาว (Gas-operated Long-stroke piston) ระยะการยิงหวังผลเป็นจุด 550 เมตร ระยะการยิงหวังผลเป็นพื้นที่ 800 เมตรส่วนอายุการใช้งานลำกล้องและเครื่องลั่นไก 20,000 นัดใช้ซองกระสุนความจุ 30 นัดสำหรับกระสุนหัวแข็ง M855 FMJ(Full Metal Jacket) อัตราการยิงต่อเนื่องอัตโนมัติ 600-800 นัด มีรูปแบบการยิง ห้ามไก (Safe) สามารถทำการยิงทีละนัด (Semi-Auto) และยิงแบบอัตโนมัติ(Full-Auto)มีน้ำหนักเบา การใช้งานสามารถถอดประกอบเพื่อบำรุงรักษาในเบื้องต้นได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มิลลิเมตรกระบอกนี้คือผลงานการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก(Army Research and Development Office) กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

ผศ.ณรงค์เดชเล่าให้ฟังว่า การคิดค้นการพัฒนาต้นแบบปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มิลลิเมตรมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร ที่เป็นต้นแบบที่เหมาะกับสรีระ และภารกิจของกองทัพบกไทย และการพัฒนาปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร ต้นแบบที่มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับประเทศมหาอำนาจต่างๆที่ผลิตปืนเล็กยาวขนาด 5.56?45 มิลลิเมตร นาโต้ (5.56?45 mm. NATO) จัดเป็นปืนเล็กยาวมาตรฐานประจำกองทัพประเทศในกลุ่มนาโต้ รวมถึงสหรัฐอเมริกา และมีประจำการในกองทัพต่างๆ เกือบทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยที่มีประจำการอยู่ประมาณ 200,000-300,000 กระบอก ปืนเล็กยาวเป็นอาวุธประจำกายของทหารในกองทัพ โดยเฉพาะทหารราบ ซึ่งต้องฝากชีวิตไว้กับปืนเล็กยาวประจำกายในการปฏิบัติการ ไม่ว่าภูมิประเทศ ภูมิอากาศจะเป็นอย่างไร ปืนเล็กยาวประจำกายต้องสามารถปฏิบัติการได้อย่างไม่ขัดข้อง และแน่นอน เพราะความขัดข้องเพียงเล็กน้อยที่เกิดกับปืนเล็กยาวประจำกายนั้นอาจจะหมายถึงชีวิตของทหารที่ฝากชีวิตไว้กับปืนกระบอกนั้น และภารกิจของหน่วยปฏิบัติการเลยทีเดียว

ปัจจุบันกองทัพบกได้มีการจัดซื้อปืนเล็กยาว ขนาด 5.56มิลลิเมตรTAVOR และอะไหล่ในการบำรุงรักษาที่มีราคาสูง จากประเทศอิสราเอล เข้ามาประจำการทดแทนปืนเล็กยาว M16 เดิม ที่หมดอายุการใช้งานไปตามเวลาด้วยงบประมาณของประเทศจำนวนหลายล้านบาท และจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ และการเมืองระหว่างประเทศ ทำให้การจัดหาปืนเล็กยาว เข้าประจำการในกองทัพทำได้ยากซึ่งคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการออกแบบ พัฒนา และผลิตปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร ขึ้นเองภายในประเทศ เพื่อเกียรติภูมิของประเทศชาติที่จะมีปืนเล็กยาวขนาด 5.56มิลลิเมตร ที่ออกแบบ และผลิตขึ้นเองประจำการในกองทัพ เพื่อเพิ่มศักยภาพของกองทัพในการป้องกันราชอาณาจักร และอธิปไตยของประเทศชาติ เสริมสร้างสมรรถนะของกองทัพ

การพัฒนาต้นแบบปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มิลลิเมตร ลักษณะงานวิจัยเป็นแบบวิจัยเชิงทดลองเป็นการศึกษาข้อมูลการยุทธศาสตร์ของทหารไทยและการศึกษาเทคโนโลยีของปืนเล็กยาวแบบต่างๆ ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการลูกกลิ้งหน่วงเวลาถอยหลังระบบปฏิบัติการแบบแก๊ส แบบแก๊ส -ลูกสูบ และแบบสปริงแรงเฉื่อย (Inertia spring) เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการออกแบบปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มิลลิเมตร เป็นการออกแบบเบื้องต้นเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบทางเทคนิคของปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร โดยตั้งเป้าหมายในการออกแบบไว้ 2-3 แบบ และคัดเลือกแบบที่เหมาะสมมาทำการพัฒนาประสิทธิภาพและทำการทดสอบการใช้งานภาคสนาม แบบที่ 1การจัดทำข้อมูลสรุป ประกอบด้วย ข้อมูลการออกแบบพิมพ์เขียวของปืนยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร ต้นแบบ แบบพิมพ์เขียวของเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต ระบบปฏิบัติการการที่นิยมกันในปืนเล็กยาวมี 3 แบบ ระบบปฏิบัติการที่นิยมในปืนเล็กยาวมีรูปแบบ คือ แบบที่ 1 ใช้แรงสะท้อนถอยหลัง (Recoil)จะใช้แรงสะท้อนถอยหลังของชุดลำกล้องมาดันชุดลูกเลื่อนให้ถอยหลังพร้อมกับทำการคัดปลอกกระสุนทิ้งจากนั้นแรงจากสปริงที่รองรับชุดลูกเลื่อนอยู่จะดันชุดลูกเลื่อนกลับพร้อมกับป้อนกระสุนแบบที่ 2โบลว์แบ็ก (Blowback)จะใช้แรงดันที่แก๊สกระทำต่อปลอกกระสุนให้ปลอกกระสุนดันชุดลูกเลื่อนถอยหลังพร้อมกับทำการคัดปลอกกระสุนทิ้ง จากนั้นแรงจากสปริงที่รองรับชุดลูกเลื่อนอยู่จะดันชุดลูกเลื่อนกลับพร้อมกับป้อนกระสุนแบบที่ 3ปฏิบัติการด้วยแก๊ส (Gas operate) จะใช้แรงดันแก๊สในรังเพลิงมาทำหน้าที่ขับเคลื่อนชุดลูกเลื่อนโดยตรง หรือผ่านชุดลูกสูบ ซึ่งมีการเจาะรูเล็กที่ลำกล้อง เพื่อเอาแก๊สมาใช้ และต้องมีท่อส่งแก๊ส หรือชุดลูกสูบ กลไกแบบนี้มีข้อดีคือรับแรงได้สูงจึงเป็นที่นิยมใช้ในปืนไรเฟิลจู่โจมในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามขั้นตอนการออกแบบอย่างเป็นระบบPahlและ Beitzแบ่งขั้นตอนการออกแบบอย่างเป็นระบบ 4 ขั้นตอน การวางแผนผลิตภัณฑ์ และการศึกษารายละเอียดให้ชัดเจน ขั้นตอนการออกแบบแนวคิด การออกแบบเบื้องต้น และขั้นตอนการดำเนินการออกแบบรายละเอียดต้นแบบปืน สรุปผลจากผลการวิจัย การพัฒนาต้นแบบปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มิลลิเมตร สามารถใช้งานได้จริงตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ มีความแม่นยำอยู่ในระดับ (กลุ่มกระสุนที่ดีที่สุด) 0.7-3 MOA ที่ระยะยิง 50 -100 เมตร ซึ่งความแม่นยำนี้ขึ้นอยู่กับผู้เล็ง กล้องเล็ง และอุปกรณ์จับยึดเป็นสำคัญ

นอกจากนี้แล้ว ได้นำต้นแบบปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มิลลิเมตร ไปแสดงที่กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม กระทรวงกลาโหม ในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชาติ Defense and Security 2019 ณ ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 18-21 พฤศจิกายน 2562 งานมหกรรมการวิจัยด้านยุทโธปกรณ์ สู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อศักยภาพของกองทัพและการปกป้องประเทศ (Thailand's Armament and National Defense Research and Industry) ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ จัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563

และการนำเสนอผลงานวิจัยต่อ ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงอุดมศึกษาฯ ในโอกาสที่เยี่ยมชมมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา

ประโยชน์จากพัฒนาต้นแบบปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มิลลิเมตร เพื่อเสริมสร้างอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศให้มีความเข้มแข็งลดการนำเข้าสินค้ายุทธภัณฑ์ที่มีราคาสูงจากต่างประเทศและสามารถต่อยอดพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่จะผลิตอาวุธประจำกายในกองทัพของประเทศได้ และยังสามารถที่จะใช้องค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอด เพื่อนำไปขยายผลในการผลิตเชิงพาณิชย์ ชึ่งปัจจุบัน ได้มีการประชุมร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ และสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก ในส่วนของการถ่ายทอดความรู้และแนวทางการขยายผลต่อไปต้นแบบปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มิลลิเมตร นับได้ว่าเป็นงานวิจัยและพัฒนาในประเทศจากฝีมือคนไทย สัญชาติไทยโดยแท้

สอบถามรายละเอียดได้ที่ ผศ.ณรงค์เดช พัฒนไพบูลย์ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) โทรศัพท์.0-2555-2000 ต่อ6406หรือ 096-829-5695


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ