เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 ณ อาคารสัญลักษณ์ (อาคาร 24 ) ชั้น 15 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ม.หอการค้าไทย แถลงข่าวผลสำรวจ สถานภาพแรงงานไทย : กรณีศึกษาผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ จำนวน 1256 ตัวอย่าง โดยมี ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี ม.หอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พร้อมด้วย อาจารย์ อุมากมล สุนทรสุรัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย ร่วมแถลงข่าว พบว่า ประชากรส่วนใหญ่ มีหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือน ประมาณ 8,024 บาทต่อคน หนี้ส่วนใหญ่ นำมาใช้จ่ายในด้านอุปโภคบริโภคและหนี้บัตรเครดิต และยังพบว่า ยังขาดสภาพคล่องทางการเงิน มากถึงร้อยละ 36.1 นอกจากนั้น ยังพบว่า โครงการคนละครึ่ง ของภาครัฐ สามารถช่วยเหลือค่าครองชีพ ได้ ร้อยละ 41.29 เราชนะ ร้อยละ 22.39 ม.33 ร้อยละ 17.41 และในปีนี้ มูลค่าการใช้จ่ายในวันแรงงาน มีอัตราการขยายตัว ติดลบ -19.7 นับเป็นปีแรก ในรอบ 11 ปี ที่มีมูลค่าติดลบ และยังพบว่า ประชากรส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ในปัจจุบัน มีความเหมาะสมปานกลาง ร้อยละ 52.1 มีความเหมาะสมน้อยร้อยละ 35.4 มีความเหมาะสมมาก ที่ร้อยละ 11.3 ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างในผลสำรวจยังได้เรียกร้องให้ภาครัฐให้ความช่วยเหลือผ่านการปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นทุกปี, ลดปัญหาการว่างงาน, ควบคุมราคาสินค้า, แก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว, ค่ารักษาพยาบาล, ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และลดการควบคุมหนี้นอกระบบ ขณะที่ช่วงวันหยุดประจำปี วันแรงงานแห่งชาติ (1 พ.ค.) ที่จะถึงนี้ คาดการณ์ว่าน่าจะมีมูลค่าเงินสะพัดการใช้จ่ายสูงสุดถึง 2,193 ล้านบาทเลยทีเดียว