บริษัท เวียตเจ็ท เอวิเอชั่น จอยท์ สต๊อค (HoSE: VJC) เผยผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1/2564 และรายงานงบการเงินประจำปี 2563 พร้อมสัญญาณบวกที่แสดงถึงการฟื้นตัว
จากรายงานผลประกอบการ บริษัทแม่ของเวียตเจ็ทมีรายได้และกำไรหลังหักภาษีประจำไตรมาสที่ผ่านมาอยู่ที่ 123.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 4.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ขณะที่รายได้รวมและกำไรรวมหลังหักภาษีของเวียตเจ็ทในในไตรมาส 1/2564 อยู่ที่ 175.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ ประมาณ 5.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ โดยเวียตเจ็ททำกำไรได้จากการการลงทุนด้านการเงินและโครงการต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาบริการด้านการบินใหม่ ๆ เพื่อชดเชยกิจการขนส่งทางอากาศที่ซบเซา
เวียตเจ็ทยังได้โอนหุ้นซื้อคืนทั้งหมดในไตรมาสแรกเพื่อสร้างความเข็มแข็งให้กับงบดุลและกระแสเงินสดแก่กลุ่มธุรกิจการขนส่งทางอากาศ
ตลอดระยะเวลาสามเดือนแรกของปี เวียตเจ็ทได้ขนส่งผู้โดยสารแล้วเกือบ 3.6 ล้านคน บนกว่า 21,000 เที่ยวบิน โดยมีอัตราความตรงต่อเวลาของเที่ยวบิน (OTP) เกิน 90% ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับระดับนานาชาติ
นอกจากการขนส่งผู้โดยสาร เวียตเจ็ทยังได้คิดหาวิธีการในการเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ยังผลให้ปัจจุบันรายได้จากการจำหน่ายสินค้าที่ระลึกมีสัดส่วนถึงเกือบ 50% ของรายได้ทั้งหมดของสายการบินฯ
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการขนส่งสินค้าทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้น เวียตเจ็ทได้เพิ่มความหลากหลายในสินค้าและบริการขนส่งทางอากาศ ในไตรมาส 1/2564 บริษัท สวิฟต์247 จอยท์ สต๊อค ซึ่งเวียตเจ็ทถือหุ้นอยู่ 67% ได้เปิดตัวบริการขนส่งสินค้าทางอากาศแบบออนไลน์ ภายใต้ชื่อ "SWIFT Mega" เพื่อขนส่งสินค้าหนักบนเครือข่ายเส้นทางบินของเวียตเจ็ทที่กำลังขยายกว้างขวางขึ้นเรื่อย ๆ โดยเวียตเจ็ทได้ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศแล้วกว่า 18,000 ตันในไตรมาสแรกของปี 2564
เวียตเจ็ทเป็นสายการบินแรกที่ได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศเวียดนามอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งยังได้เปิดเส้นทางบินใหม่เพื่อตอบรับกับความต้องการเดินทางที่เพิ่มสูงขึ้นภายหลังช่วงวันหยุดเทศกาลเต็ดและช่วงฤดูร้อน เส้นทางบินใหม่เหล่านี้มีส่วนอย่างมากในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นของเวียดนาม
ในช่วงไม่กี่เดือนถัดจากนี้ เวียตเจ็ทจะมุ่งให้ความสำคัญกับการปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อเร่งสมรรถภาพและประสิทธิภาพในการปฏิบัติการ ทั้งยังวางแผนเจรจาขอส่วนลดจากผู้ให้บริการแต่ละเจ้า รวมถึงมองหาแหล่งที่มาของรายได้อื่น ๆ เช่น บริการขนส่งสินค้าทางอากาศและบริการการทางการบินอื่น ๆ สายการบินฯ คาดว่าจะยังคงรักษาการลงทุนทางการเงินและโครงการต่าง ๆ เพื่อรับประกันประสิทธิภาพและความยั่งยืนของกลยุทธ์ทางธุรกิจของตน
เวียตเจ็ทคาดการณ์ว่าจะสามารถกลับมาให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศได้ในไตรมาสที่ 4/2564 โดยได้เตรียมความพร้อมสำหรับเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศแล้ว ขณะเดียวกัน รัฐบาลเวียดนามได้ขยายมาตรการผ่อนปรนภาษีและค่าธรรมเนียม ทั้งยังได้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและการลดดอกเบี้ยเงินกู้แก่สายการบินฯ เร็ว ๆ นี้
เร็ว ๆ นี้ เวียตเจ็ทได้เปิดเผยรายงานงบการเงินประจำปี 2563 โดยบริษัทแม่ของเวียตเจ็ทมีรายได้ที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว ประจำปี 2563 อยู่ที่ 657.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีรายได้รวมและกำไรหลังภาษีที่ได้รับการตรวจสอบแล้วอยู่ที่ 788.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 2.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณากำไรในแต่ละภาคส่วน เวียตเจ็ทขาดทุนในธุรกิจการขนส่งทางอากาศ 62.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยลดลงกว่า 31% จากรายงานงบการเงินที่ผ่าน ๆ มา
เกี่ยวกับ เวียตเจ็ทกรุ๊ป
เวียตเจ็ท สายการบินยุคใหม่แห่งเวียดนาม มิเพียงปฏิวัติอุตสาหกรรมการบินของเวียดนามเท่านั้น หากยังเป็นสายการบินผู้บุกเบิกในหลายด้านของภูมิภาคเอเชียและทั่วโลก โดยให้ความสำคัญกับการบริหารต้นทุน การดำเนินงานและประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยม เพื่อมอบโอกาสการเดินทางด้วยอัตราค่าโดยสารที่คุ้มค่าและยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงบริการพิเศษมากมายเพื่อการตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารอย่างสมบูรณ์แบบ
สายการบินเวียตเจ็ท ได้รับการบรรจุเป็นสมาชิกของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ ไออาตา (International Air Transport Association: IATA) โดยสมบูรณ์ เวียตเจ็ทเป็นสายการบินเอกชนรายใหญ่ที่สุดที่ได้รับการจัดอันดับด้านความปลอดภัยระดับ 7 ดาวในปี ค.ศ. 2018, 2019 และ 2020 จากเว็บไซต์ AirlineRatings.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ด้านความปลอดภัยและการจัดอันดับผลิตภัณฑ์ระดับโลก นอกจากนี้ เวียตเจ็ทยังติดอันดับ 50 สายการบินที่มีสถานทางการเงินและการดำเนินงานเข้มแข็งที่สุดของโลกโดยนิตยสาร Airfinance Journal ในปี ค.ศ. 2018 และ 2019 นอกจากนี้ สายการบินยังได้รับการยกย่องเป็นสายการบินต้นทุนต่ำพิเศษที่ดีที่สุด (Best Low-Cost Carrier) โดยองค์กรชั้นนำหลายแห่ง อาทิ Skytrax, CAPA, Airline Ratings และอีกมากมาย
สายการบินไทยเวียตเจ็ท ดำเนินงานร่วมกับสายการบินเวียตเจ็ทในการขยายเครือข่ายการบินเพื่อมอบโอกาสการเดินทางที่มากกว่าแก่ผู้บริโภค ปัจจุบันมีบริการเที่ยวบินในประเทศไทย 14 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่ เชียงราย กระบี่ ภูเก็ต อุดรธานี หาดใหญ่ ขอนแก่น นครศรีธรรมราช อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี เส้นทางระหว่าง เชียงรายสู่ ภูเก็ต หาดใหญ่ อุดรธานี เส้นทางระหว่างเชียงใหม่ สู่ นครศรีธรรมราช และเที่ยวบินระหว่างประเทศ 17 เส้นทางจากไทยสู่เวียดนาม ไต้หวัน และจีน
ติดตามกิจกรรมและข่าวสารล่าสุดได้ทาง www.vietjetair.com