พช.นครพนม ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนการน้อมนำแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทางอาหาร สู่ปฏิบัติการ 90 วัน "ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร รอบ 2" และโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช."
นายสุรพล แก้วอินธิ พัฒนาการจังหวัดนครพนม มอบหมายให้ นางวรนุช กรุงเกตุ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน พร้อมนายหาญ ศรีหาวงษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน ผู้ช่วย ผอ.กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และทีมนักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนการน้อมนำแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทางอาหาร สู่ปฏิบัติการ 90 วัน "ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร รอบ 2" และโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช." ณ พื้นที่ตำบลนาทม อำเภอนาทม โดยมี นางสาวณิชาทิพย์ อุบลบาลไชโรจน์ พัฒนาการอำเภอนาทม และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ ตลอดจนผู้นำชุมชน ครัวเรือนเป้าหมาย ร่วมให้ข้อมูลในพื้นที่ดังกล่าว
จังหวัดนครพนม ได้น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทางอาหารสู่ปฏิบัติการ 90 วัน "ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร รอบ 2" ซึ่งเป็นการสนองพระราชปณิธานของพระองค์ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงพระราชทานเป็นหลักในการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรไทย มาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการรณรงค์ให้ทุกครัวเรือนปลูกผักสวนครัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีนัยสำคัญในการสร้างหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มั่นคงและปลอดภัยได้ด้วยตนเองก่อให้เกิดความมั่นคงระดับครัวเรือนและชุมชนอย่างยั่งยืน
จากนั้น ได้ลงพื้นที่ ติดตาม เยี่ยมเยียน ให้กำลังใจผู้นำการเปลี่ยนแปลงและครัวเรือนเป้าหมายในการดำเนินงาน "ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร รอบ 2" ของชุมชน " ปิดหมู่บ้าน 3 เดือนพวกเราอยู่ได้" ผู้นำต้นแบบตัวอย่างที่เห็นจริง และผู้นำต้องทำก่อน เพื่อเป็นการรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวทุกครัวเรือน เน้นการพึ่งตนเอง และความสามัคคีของคนในชุมชน ได้แก่ ครัวชุมชน ณ ศาลาประชาคมบ้านนาทม หมู่ที่ 10 บ้านนาทม ตำบลนาทม ปลูกในพื้นที่สาธารณประโยชน์ จำนวน 1 ไร่ ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ กิจกรรมที่ดำเนินการ ได้แก่ การเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ปลูกพริก มะเขือ มะละกอ แมงลัก ถั่ว บวบ ฟักทอง ผักบุ้ง ฯลฯ และมอบพันธุ์ต้นผักหวาน จำนวน 20 ต้น ให้แก่ นายประมูล ศรีนาทม ผู้ใหญ่บ้าน บ้านนาทม หมู่ที่ 10 ตำบลนาทม เพื่อขยายผลต่อยอดในชุมชนต่อไป
และติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช." ดังนี้ 1.ครัวเรือนราย นายสาคร โคตรภูมี หมู่ที่ 10 บ้านนาทม ตำบลนาทม ซึ่งดำเนินการขุดตามแบบรายละเอียดงานปรับรูปแบบแปลงที่ดิน ตามแบบมาตรฐาน โคก หนอง นา พช. พื้นที่เข้าร่วมโครงการขนาด 1 ไร่ สัดส่วน 1:1 ประเภทดินร่วนปนทราย ได้ดำเนินการขุดปรับพื้นที่เสร็จแล้ว ได้แนะนำการบริหารจัดการพื้นที่ โดยการ ปลูกหญ้าแฝก ตระไคร้ กล้วย มะม่วง ฯลฯ เพื่อชะลอการไหลของน้ำซึ่งจะช่วยลดปัญหาการพังทลายของหน้าดินแก่ครัวเรือนเป้าหมาย และปลูกพืชผักสวนครัว เช่น พริก มะเขือ ถั่ว มะละกอ แมงลัก ชะอม ข้าวโพด ฯลฯ 2.ครัวเรือนราย นายวิษรุต บุญนาง บ้านเลขที่ 111 หมู่ที่ 2 บ้านดอนแดง ตำบลนาทม ซึ่งดำเนินการขุดตามแบบรายละเอียดงานปรับรูปแบบแปลงที่ดิน ตามแบบมาตรฐาน โคก หนอง นา พช. พื้นที่เข้าร่วมโครงการขนาด 1 ไร่ สัดส่วน 1:1 ประเภทดินร่วนปนทราย ได้ดำเนินการขุดปรับพื้นที่เสร็จแล้ว ได้แนะนำการบริหารจัดการพื้นที่ โดยการ ปลูกหญ้าแฝก ตระไคร้ กล้วย ฯลฯ เพื่อชะลอการไหลของน้ำซึ่งจะช่วยลดปัญหาการพังทลายของหน้าดินแก่ครัวเรือนเป้าหมาย
ทั้งนี้ ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ที่ได้ทรงพระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักในการดำเนินชีวิต และรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในอันที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอด และนำหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ "โคก หนอง นา โมเดล" และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทางอาหารสู่ปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อคุณภาพชีวิตของพสกนิกรของพระองค์ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พึ่งพาตนเองได้และมีความสุขอย่างยั่งยืน