ภายใต้การอำนวยการของ นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี และนายคำแสน ประเสริฐสุข พัฒนาการอำเภอนาตาล พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ นายช่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนและตรวจรับงานโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช." ในพื้นที่อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี
โดยการลงพื้นที่ในครั้งนี้ คณะฯ ได้ติดตามสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ "โคก หนอง นา พช." งบเงินกู้รัฐบาล ระดับครัวเรือน HLM (household lab model for quality of life) ที่ผู้รับเหมาดำเนินการขุดปรับแล้วเสร็จ ตามแบบมาตรฐานของกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมตรวจรับงานและให้คำแนะนำแก่ครัวเรือนเป้าหมายในการจัดกิจกรรมสาธิตและกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ประกอบด้วย แปลงนายกองสี ชาตรี บ้านหนองหอย หมู่ที่ 2 ตำบลพังเคน อำเภอนาตาล และแปลงนายสมพงษ์ จันทสาร บ้านหนองหอย หมู่ที่ 2 ตำบลพังเคน อำเภอนาตาล ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ นอกจากนั้น คณะติดตามฯ ยังได้ร่วมกันตีผังแบบแปลนในการขุดปรับพื้นที่อีก 5 แปลงในเขตอำเภอนาตาล ได้แก่ นางดอกรักษณ์ พั่วแดง บ้านค้อใหญ่ หมู่ที่ 4 ตำบลกองโพน / นายประสิทธิ์ ถิระบุตร บ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ 19 ตำบลพังเคน / นางสาวลำยอง บัวขาว บ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ 19 ตำบลพังเคน / นางสมจิตร พิลากุล บ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ 19 ตำบลพังเคน และนางคำใหม่ ถิรบุตร บ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ 19 ตำบลพังเคน อีกด้วย
จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการอนุมัติดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช." จำนวน 576,592,500 บาท โดยมีพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดฯ ทั้งสิ้น 3,960 แห่ง ถือว่ามากที่สุดในประเทศไทย แบ่งเป็นพื้นที่ระดับตำบล (CLM) : 68 แห่ง และพื้นที่ระดับครัวเรือน (HLM) : 3,892 แห่ง และโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กลุ่มเป้าหมาย พื้นที่เรียนรู้ชุมชน จำนวน 791 แห่ง แบ่งเป็น พื้นที่ 1 ไร่ 620 แห่ง และพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 171 แห่ง ในส่วนของอำเภอนาตาล มีพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา พช." แยกเป็นงบพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่ 1 ไร่ 9 แปลง และพื้นที่ 3 ไร่ 6 รวม 15 แปลง งบเงินกู้รัฐบาล แปลง HLM พื้นที่ 1 ไร่ 82 แปลง, พื้นที่ 3 ไร่ 38 แปลง รวม 120 แปลง และ CLM พื้นที่ 15 ไร่ 3 แปลง และมีการจ้างงานนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ จำนวน 32 คน และได้รับงบประมาณโครงการฯ รวม 16,319,400 บาท และมีความคืบหน้าในการดำเนินการจัดทำสัญญา PO ในภาพรวมทุกกิจกรรมแล้ว 9,097,819 บาท คิดเป็นร้อยละ 55.75 (ข้อมูลวันที่ 20 พฤษภาคม 2564)
โอกาสนี้ คณะฯ ได้พบปะคณะทำงานที่ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการฯ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และเจ้าของแปลงในพื้นที่ โดยชื่นชมแปลงที่ดำเนินการได้แล้วเสร็จตามแนวทางของหลักกสิกรรมธรรมชาติ และระยะเวลาที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด ก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูฝน หากมีเหตุขัดข้องหรือข้อสงสัย ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยทันที เพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน และโครงการฯ สามารถดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ทันการ เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาคุณภาพของพี่น้องประชาชน ตามแนวทางและนโยบายทางรัฐบาล ส่งผลให้มีแปลงตัวอย่างที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบแก่คนในพื้นที่ ให้สามารถพึ่งตนเองและสร้างทางรอดในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบัน