การแพร่ระบาดของโควิด เป็นเหมือนตัวเร่งการเติบโตของการตลาดแบบ Influencersในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไม่ใช่แค่ผู้คนจะมองหาคนทำคอนเทนท์ใหม่เท่านั้น แต่แบรนด์ต่างๆก็ศึกษา การตลาดแบบ Influencers เพื่อนำมาใช้ ให้เกิดเป้าหมายของตน
โดยในช่วงที่มีมาตรการ lockdown รุนแรง ผู้คนที่ติดอยู่ที่บ้านจะใช้เวลาอยู่กับโซเชียลเน็ตเวิร์ก , เล่นเกมและดูพวก OTT (Over The Top เช่น Youtube , Netflix และ Platform อื่น ) การใช้เวลาออนไลน์มากขึ้นกว่าเดิม ทำให้แบรนด์สินค้าต่างๆ ทำงานร่วมกับ กลุ่ม Influencers มากขึ้น เนื่องจากยอดการมีส่วนร่วมบนแพลตฟอร์ม เช่น YouTube, Facebook และ Instagram พุ่งสูงขึ้น
การแพร่ระบาดของโควิด ทำให้การบริโภคสื่อดิจิทัลสูงมากขึ้น
การแพร่ระบาดได้กระตุ้นการใช้งานสื่อดิจิทัล รวมถึงการซื้อสินค้าออนไลน์สูงขึ้นและมีแนวโน้มที่จะโตต่อไปในอนาคต
ไม่เพียงแต่แบรนด์ที่เป็นที่ยอมรับเท่านั้น แต่สตาร์ทอัพต่างก็ใช้กลยุทธ์การตลาดนี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากสามารถเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์และดึงดูดผู้ชมจำนวนมากได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ Influencers ยังสามารถกำหนดเป้าหมายไปยังตลาดเฉพาะกลุ่มที่สตาร์ทอัพมักมองหา
ตัวอย่างเช่น บริษัท สตาร์ทอัพของ Influencer Marketing Agency ในประเทศไทย "ShareIt" เป็น บริษัทผู้นำ ด้านการตลาดแบบ Influencers และโซเชียลมีเดีย ที่ใช้ข้อมูลเชิงลึก ในการที่วางแผนและกำหนดกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่มีดี ระหว่างแบรนด์และผู้สร้างคอนเทนท์ เชื่อมโยงผู้ใช้งาน , แบรนด์ , ผู้สร้างคอนเทนท์ ได้อย่างง่ายดายด้วยการนำเสนอแพลตฟอร์มการตลาดที่ก้าวหน้าและใช้งานง่ายซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทุกคน
ShareIt มีแพลตฟอร์ม ให้ผู้ใช้ ใช้ในการทำกิจกรรมโซเชียลของตน โดยจากการวิจัยที่สำรวจมาพบว่า ปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้เวลามากกว่า 2 ชั่วโมง 22 นาทีต่อวัน บนโลกโซเชียลและแพลตฟอร์มการส่งข้อความ และข้อมูลนี้ยังบอกให้เห็นว่า การใช้งานโซเชียลมีเดียอาจถึงจุดอิ่มตัว
แต่ในปี 2564 มีเทรนด์หนึ่งที่มีแนวโน้มจะเติบโตขึ้น คือการเพิ่มขึ้นของInfluencersระดับนาโนและไมโคร ส่วนใหญ่เกิดจากการมีส่วนร่วมที่สูง ต้นทุนต่ำและมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากผู้บริโภคจำนวนมากเปลี่ยนไปใช้การซื้อทางออนไลน์ แบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและเครื่องสำอางจึงต้องพึ่งพา Influencers เนื่องจากสามารถแสดงการใช้งานและอธิบายถึงประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ได้
ในทำนองเดียวกัน ธุรกิจต่างๆกำลังใช้ Influencers เพื่อผลักดันการเข้าชมเว็บไซต์ของตน ด้วยลิงก์ในสตอรี่ของสื่อออนไลน์ต่างๆ และปัจจุบันผู้คนลดความสนใจในการชมภาพอย่างเดียว และหันมาสนใจวิดีโอมากขึ้นกว่าเดิม ผู้บริโภคต้องการได้รับการอัปเดตเกี่ยวกับชีวิตของ Influencers ซึ่งกำลังสร้างพื้นที่สำหรับการผสานรวมผลิตภัณฑ์กับชีวิตประจำวัน ที่แบรนด์ต่าง ๆ นำเข้ามา
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ ที่เหมาะสำหรับการตลาดแบบ Influencers
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการตลาดรูปแบบนี้ โดยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากและเกือบ 90% เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนเป็นหลัก
มูลค่าเศรษฐกิจจากอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคนี้ โตขึ้นมากและภายในปี 2568 คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงถึง 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ประมาณ 10,000 ล้านบาท)
การที่เป็นภูมิภาคแรก ที่ใช้อุปกรณ์มือถือควบคู่ไปกับกลุ่มประชากรที่มีอายุน้อย และความนิยมที่เพิ่มขึ้นของแพลตฟอร์มโซเชียล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงกลายเป็นพื้นที่ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการตลาดที่มี Influencers
นอกจากนั้นภูมิภาคนี้ยังได้รับความสนใจจากทั่วโลกอย่างมาก ยังมีโอกาสที่สำคัญสำหรับแบรนด์ท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์จากรูปแบบการตลาดนี้ ในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเช่น Facebook, Instagram และ YouTube เป็นที่นิยมอย่างมากในภูมิภาคนี้และเป็นที่น่าสังเกตว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้ใช้ Tik Tok มากที่สุด
คอนเท้นท์ รูปแบบวิดีโอสั้นใหม่ ๆ ที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงนี้ มีโอกาสมากมายในการกระตุ้นการมีส่วนร่วมเพิ่มการรับรู้ถึงแบรนด์และเข้าถึงผู้ชมใหม่ ๆ สำหรับธุรกิจ อย่างไรก็ตามนักการตลาดต้องตามล่า Influencers ที่มีความเชื่อมโยงกับผู้ชมอย่างแท้จริง
สรุปได้ว่าแบรนด์ต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยินดีที่จะลงทุนด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับแนวโน้มของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย และการตลาดที่มี Influencers ก็จะยังคงเติบโตต่อไป