"เนื้องอกในสมอง" รักษาได้ไหม?
"เนื้องอกในสมอง"... แค่ได้ยินชื่อก็น่ากลัวแล้ว ยิ่งถ้าเกิดขึ้นกับเราหรือคนใกล้ชิดด้วยแล้วหล่ะ! ก็ยิ่งกลัวกังวลกันไปใหญ่ แต่อย่าเพิ่งตกอกตกใจหรือคิดกันไปไกลขนาดนั้นเลยครับ เพราะบางทีมันอาจจะไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เราคิดขนาดนั้นก็ได้..
โดยทั่วไปเนื้องอกในสมองแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ เนื้องอกธรรมดาและเนื้อร้าย ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดและสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเนื้องอกมีได้หลายอย่าง เช่น กรรมพันธุ์ การได้รับรังสีหรือสารเคมีบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงการเป็นมะเร็งที่อวัยวะอื่นแล้วแพร่กระจายไปยังสมอง
อาการของเนื้องอกสมองทั้งเนื้องอกธรรมดาและเนื้อร้าย จะมีอาการแสดงทั่วไปคล้ายๆ กัน ที่พบบ่อยคืออาการปวดศีรษะ ซึ่งแน่นอนว่าอาการปวดศีรษะนั้นมีหลายแบบ แต่อาการปวดที่อาจไม่ใช่แค่ปวดศีรษะทั่วๆ ไปที่เราต้องสังเกตและควรมาพบแพทย์ เช่น ปวดศีรษะบ่อยๆ และปวดรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ กินยาแล้วอาการปวดไม่ลดลง หรือปวดศีรษะร่วมกับมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แขน ขา ชาหรืออ่อนแรง ซึ่งหากมีอาการผิดปกติดังกล่าวให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน
การวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจสมองโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อดูเนื้องอกและรายละเอียดโดยรอบซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจน ช่วยให้แพทย์สามารถบอกชนิดของเนื้องอกหรือคาดการณ์ได้ว่าเนื้องอกเป็นแบบไหนและวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
เนื้องอกในสมอง รักษาได้ไหม และมีวิธีการรักษาอย่างไร? >> อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิก https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/519