โดยคุณยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย
วิกฤตการณ์โควิด-19 ทำให้เราเห็นถึงช่องโหว่ทางเศรษฐกิจและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ อาทิ ห่วงโซ่อุปทานการผลิต (global supply chains) และโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข จุดอ่อนในระบบเศรษฐกิจและสังคม นำไปสู่คำถามเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ และมีการเรียกร้องให้องค์กรต่างๆ ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น รัฐบาลในหลายประเทศ องค์กร และชุมชนต่างๆ หันมาให้ความสำคัญกับการเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น
คุณยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้แบ่งปันมุมมองต่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์การลงทุนที่ธนาคารยูโอบีคาดการณ์ไว้ และจะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน ตลอดจนการพิจารณาและความเสี่ยงของการลงทุนบนความยั่งยืน
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 องค์การสหประชาชาติได้เผยแพร่ 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) เพื่อเร่งรัดนานาประเทศให้พัฒนาสู่อนาคตที่ยั่งยืน รับผิดชอบต่อสังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเหล่านี้อยู่ภายใต้กรอบความคิดการพัฒนาในมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ
เมื่อการรับรู้ด้านความยั่งยืนเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน อาทิ การลดการใช้พลังงาน ลดการใช้น้ำ หรือการลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ผู้บริโภคเต็มใจที่จะสนับสนุนแบรนด์ที่ยั่งยืนมากขึ้น จากผลการสำรวจเกี่ยวกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของธนาคารยูโอบี ในปี พ.ศ. 2563 พบว่ากว่าครึ่งของผู้บริโภคทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย (ร้อยละ 54) เต็มใจที่จะสนับสนุนแบรนด์ที่ปฏิบัติตามแนวทางความยั่งยืน โดยสี่ในสิบของกลุ่มตัวอย่างยินดีจะจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันนักลงทุนสถาบันจำนวนมากต่างให้การตอบรับกับหลักการของสหประชาชาติสำหรับการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ และได้จัดสรรเงินทุนให้กับบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมีการจัดพอร์ตการลงทุนโดยให้คำนึงถึงนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) มากขึ้น
การให้ความสำคัญปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) จากผู้บริโภคและนักลงทุนสถาบัน อาจเป็นเหตุผลที่บริษัทจำนวนมากหันมากำหนดนโยบายความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจเพื่อการเติบโดและความสำเร็จในระยะยาว การดำเนินธุรกิจตามแนวทางความยั่งยืนยังมีข้อดีต่อองค์กรดังต่อไปนี้:
- การนำความยั่งยืนผนวกเข้ากับแนวทางการดำเนินธุรกิจจะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโด ลดการสูญเสียทรัพยากรในขั้นตอนการผลิตของสินค้าหรือการบริการ ส่งผลให้ประหยัดต้นทุน และเพิ่มผลกำไร ตัวอย่างเช่น Nike ที่ใช้วัสดุรีไซเคิลร้อยละ 76 ในผลิตภัณฑ์ และสามารถลดของเสียลงได้ 1,500 ตันต่อปี ซึ่งทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนการผลิตลง นอกจากนี้ บริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมีแนวโน้มว่าจะสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง การฟ้องร้องดำเนินคดีที่ยืดเยื้อและค่าปรับที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ ESG ที่อาจส่งผลในทางลบต่อผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น
- จากข้อมูล ESG ของ MSCI พบว่าธุรกิจที่ปฏิบัติตามนโยบาย ESG จะได้ลูกค้าเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันพนักงานในบริษัทเหล่านี้มักมีความพึงพอใจกับองค์กรมากกว่า ซึ่งนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Microsoft และ Adobe ที่ส่งเสริมแนวปฏิบัติด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม อาทิ ความเท่าเทียมทางเพศและและความหลากหลายของประชากรในที่ทำงาน มีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจจากผู้บริโภค และพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความคิดแบบเดียวกัน
- กลุ่มบริษัทยั่งยืนเหล่านี้จะสร้างตำแหน่งงานใหม่ขึ้นมากมาย เนื่องจากการเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต้องใช้ทักษะความรู้ใหม่ ทั้งในตำแหน่งงานเดิมและตำแหน่งงานที่สร้างขึ้นใหม่ ตัวอย่างเช่น เงินทุก 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ลงทุนในโครงการฟื้นฟูระบบนิเวศได้สร้างงานเพิ่ม 31.5 ตำแหน่ง นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนจะเพิ่มการจ้างงานทั้งหมดจาก 58 ล้านคนในปัจจุบัน เป็น 100 ล้านคน ภายในปีพ.ศ. 2593
แม้ว่านโยบายความยั่งยืนจะส่งผลดีแก่ธุรกิจ แต่การลงทุนในความยั่งยืนก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการลงทุนอื่นๆ เนื่องจากอาจมีบางธุรกิจใช้เทคนิค "การฟอกเขียว" หรือการทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดด้วยการโฆษณาที่เป็นเท็จเกี่ยวกับสินค้าหรือองค์กรให้มีภาพลักษณ์ว่ารับผิดชอบต่อสังคมโดยการรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ บริษัทที่เริ่มดำเนินนโยบายตามแนวทาง ESG อาจต้องลงทุนด้วยเม็ดเงินจำนวนมาก เพื่อเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานตามความคาดหวังของผู้บริโภคที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อกระแสเงินสดและความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจในระยะสั้น เพื่อการเติบโตในระยะยาว
และเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ตกหลุมพรางจากเทคนิค "การฟอกเขียว" ของบางธุรกิจ นักลงทุนควรใช้เวลาในการศึกษานโยบาย ESG ขององค์กร อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังสามารถพิจารณาจากกองทุนที่มีการบริการจัดการอย่างมืออาชีพ เช่น United Sustainable Equity Solution Fund กองทุนหุ้นยั่งยืนทั่วโลกเหมาะสำหรับนักลงทุนระยะยาวที่สามารถรับความผันผวนของราคาในระยะสั้น และ United Sustainable Credit Income Fund ตราสารหนี้ทั่วโลก กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และเหมาะสำหรับนักลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากแต่มีความผันผวนต่ำกว่าหุ้น
ธนาคารยูโอบี เป็นธนาคารที่มุ่งเน้นให้นักลงทุนเข้าใจความเสี่ยงในการลงทุน เราแนะนำให้นักลงทุนสร้างสมดุลของพอร์ตการลงทุน และกระจายการลงทุนไปยังกองทุนที่หลากหลายตามความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ นักลงทุนควรพิจารณาปัจจัยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และเข้าใจในสิ่งที่กำลังจะลงทุน
เกี่ยวกับธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย)
ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ จากัด ประเทศไทย (กลุ่มธนาคารยูโอบี) เป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีเครือข่ายทั่วประเทศ 152 สาขาและเครื่องเบิกเงินสดอัตโนมัติ 410 เครื่อง (ข้อมูลถึงวันที่ 31 มกราคม 2564) ยูโอบีเป็นธนาคารชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย มีเครือข่ายระดับโลกที่ประกอบด้วยสำนักงานมากกว่า 500 แห่ง ใน 19 ประเทศและเขตการปกครอง ทั้งในเอเชียแปซิฟิก ยุโรปตะวันตก และอเมริกาเหนือ กลุ่มธนาคารยูโอบี มีสินค้าและบริการด้านการเงิน โดยยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหัวใจในการให้บริการ ธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย) ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในลำดับ AAA โดยฟิทช์ เรทติ้งส์
ธนาคารยูโอบี (ประเทศไทย) ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในลำดับ AAA โดยฟิทช์ เรทติ้งส์
กลุ่มธนาคารยูโอบี ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเพื่อสังคมโดยเน้นที่ศิลปะ เยาวชนและการศึกษา กลุ่มธนาคารยูโอบีได้จัดเวทีประกวดศิลปะที่ต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประเทศสิงคโปร์ ได้แก่ การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ซึ่งได้ขยายมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นการยืนยันถึงบทบาทของกลุ่มธนาคารยูโอบีในการสนับสนุนวงการศิลปะ สมาคมศิลปะประจำชาติแห่งประเทศสิงคโปร์ได้ยกย่องกลุ่มธนาคารยูโอบีให้เป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะทรงเกียรติ 10 ปีติดต่อกัน ในปี 2557 กลุ่มธนาคารยูโอบียังได้สนับสนุนให้พนักงานทั่วภูมิภาคร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมถึงกิจกรรม UOB Heartbeat Run ซึ่งจัดในประเทศจีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย