ธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพต้องเผชิญกับความท้าทายมากกว่าที่เคยเป็น ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามส่งมอบบริการที่ดีเยี่ยมที่สุดแก่ลูกค้าทุกราย พร้อม ๆ ไปกับการทำให้แน่ใจว่าการดำเนินงานของพวกเขาจะสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจ ผู้ให้บริการต่างต้องการวิธีที่จะสามารถนำมาใช้สื่อสารกับผู้บริโภคเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางการแพทย์และการบริการที่ดีขึ้น ผนวกกับการจัดการกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ของผู้ป่วย ด้วยเหตุผลเหล่านี้ เราจึงต้องมาดูกันว่า เราจะทำอย่างไรเพื่อที่จะสื่อสารเกี่ยวกับอุตสาหกรรมทางการแพทย์ ที่กำลังมุ่งเน้นในการให้บริการทางการแพทย์แบบทางไกลผ่านแอปพลิเคชันที่เป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมายและนโยบาย การพัฒนาที่ได้รับการสนับสนุนด้วยมาตรการของภาครัฐ และการบริการด้านประกันภัยผ่านช่องทางออนไลน์ ยิ่งไปกว่านั้น เราจะสื่อสารสิ่งเหล่านี้ออกไปได้อย่างไรเพื่อที่จะทำให้มั่นใจได้ว่า ลูกค้าจะสามารถทำความคุ้นเคยกับนวัตกรรมใหม่ ๆ และเข้าใจว่าการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเหล่านี้จะเป็นเรื่องที่ดีต่อชีวิตของพวกเขามากขนาดไหน
การให้บริการที่ครอบคลุมเพิ่มขึ้น ตอบสนองต่อความต้องการที่สูงขึ้น เพื่อการดูแลและการให้คำปรึกษาอย่างทั่วถึง
จากแบบสำรวจด้านการดูแลสุขภาพแนวหน้าประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในปี 2562 ของ Bain ผู้ป่วยเกือบ 50% กล่าวว่า พวกเขาคาดว่าจะได้ใช้เครื่องมือดิจิทัลด้านสุขภาพในอีกห้าปีข้างหน้า ในขณะเดียวกัน 91% ของผู้บริโภคกล่าวว่า พวกเขาจะเลือกใช้บริการด้านสุขภาพแบบดิจิทัลในกรณีที่นายจ้างหรือบริษัทประกันภัยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนั้นเท่านั้น โดยการสำรวจนี้จัดทำขึ้นก่อนที่การให้บริการทางการแพทย์จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมต้องปรับเปลี่ยนมาใช้การให้บริการแบบระยะไกลโดยไม่มีทางเลือก
คาดว่าตลาดการแพทย์ทางไกลทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 19.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2568 แพลตฟอร์มดิจิทัลด้านสุขภาพในประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และออสเตรเลียได้รายงานถึงการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน MyDoc ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการแพทย์ทางไกลที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ชี้ว่า มีจำนวนผู้ใช้งานรายวันเพิ่มขึ้น 60% ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวอีกครั้งในช่วงเดือนมีนาคม และบริษัทประกันภัย แอกซ่า เอเชีย ประกาศว่าทางบริษัทกำลังให้คำปรึกษาผ่านทางโทรศัพท์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแก่ผู้คนประมาณ 6.5 ล้านคนทั่วเอเชีย ภูมิภาคเอเชียนี้มีบทบาทสำคัญ เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ชั้นนำของโลกตั้งอยู่ เช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในประเทศไทย ซึ่งมีการให้บริการการให้คำปรึกษาระหว่างประเทศแก่ผู้ป่วย อันเป็นการตอบสนองต่อข้อจำกัดที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่มีอยู่ในขณะนี้
ในไต้หวัน รัฐบาลได้อนุญาตให้ใช้การแพทย์ทางไกลสำหรับพื้นที่ที่ห่างไกลในปี 2564 เป้าหมายของกองประกันสุขภาพแห่งชาติคือการค่อย ๆ ปรับปรุงรูปแบบการดำเนินงาน จากนั้นจึงขยายขอบเขต เปิดโอกาสให้หน่วยงานในระดับท้องถิ่นสามารถร่วมมือกับศูนย์การแพทย์ระยะไกลและกำหนดการรักษา รวมถึงทำการสั่งยาในรูปแบบที่มีความเหมาะสม นอกจากนี้ การแพทย์ทางไกลยังเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศอินโดนีเซียในช่วงการระบาดใหญ่ หลายบริษัทให้บริการการแพทย์ทางไกลแบบองค์รวมผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน ซึ่งให้บริการด้านสุขภาพที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้นสำหรับครอบครัวชาวอินโดนีเซีย อีกทั้งแพลตฟอร์ม e-medicine ต่าง ๆ ในประเทศอินโดนีเซียอย่าง HaloDoc และ Gojek (แพลตฟอร์มที่ให้การบริการแบบหลากหลายตามความต้องการและเทคโนโลยีการชำระเงินแบบดิจิทัล) และ Good Doctor with Grab ยังมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้นกว่าเดิม
ในทำนองเดียวกันนั้น กระแสการแพทย์ทางไกล/การแพทย์ทางไกลในประเทศของประเทศมาเลเซียก็ได้เติบโตขึ้นเช่นเดียวกัน หลังจากที่มีมาตรการล็อกดาวน์อยู่หลายครั้งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ยอดผู้ป่วยลดลง ขณะนี้แพทย์สามารถเชื่อมต่อกับผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการดูแลแบบเสมือนจริงและในกรอบเวลาที่สั้นลงมาก ทำให้จำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลลดลง ผู้คนเชื่อว่าอุตสาหกรรมการแพทย์ทางไกลจะยังคงสามารถขยายตัวและยกระดับเพิ่มขึ้นได้ รวมถึงเพิ่มการบริการในส่วนช่องทางที่เป็นเฉพาะทาง เช่น การจ่ายยาทางไกล (Telepharmacy) และการแยกการจ่ายยา
ความท้าทายในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ การคุ้มครองข้อมูล และการปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนอกเหนือจากความสามารถในการที่จะต้องปรับแบนด์วิธของแพลตฟอร์มต่าง ๆ ให้สอดรับกับความต้องการของผู้ป่วยแล้ว อุตสาหกรรมการแพทย์ทางไกลยังกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านกฎระเบียบ เนื่องจากกฎระเบียบในปัจจุบันยังไม่ได้รับการปรับทิศทางใหม่เพียงพอที่จะครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องมีการปรับตัวกันแบบข้ามคืน จึงมีการเน้นย้ำถึงความสำคัญในด้านของการสื่อสารมากขึ้น
ในความเป็นจริง นี่หมายความว่า ผู้เล่นระดับโลก ผู้ที่เพิ่งเข้ามาใหม่ และแม้แต่ผู้เล่นปัจจุบันในอุตสาหกรรมจะต้องได้รับการสนับสนุนแบบมีกลยุทธ์จากพันธมิตรที่มีประสบการณ์และเข้าใจถึงแก่นของความซับซ้อนของปัญหาเหล่านี้ผ่านข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ นอกเหนือจากการตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในแง่ของการบริการแล้ว อุตสาหกรรมนี้ยังมีการแข่งขันที่สูง ผู้ให้บริการจึงจำเป็นต้องสามารถดำเนินกิจกรรมส่งเสริมเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้าร่วม และวางรากฐานการสื่อสารถึงประโยชน์ได้อย่างแข็งแกร่ง
ความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวก็เป็นประเด็นที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ในภูมิภาคยุโรป การกระจายข้อมูลผู้ป่วยบนแพลตฟอร์มดิจิทัลซึ่งต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างกันและการเข้าถึงที่มากขึ้นได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหา ข้อพิพาทที่อาจเพิ่มขึ้นโดยเป็นผลมาจากการที่ผู้คนหันมาใช้การบริการด้านสุขภาพแบบระยะไกลมากขึ้นแสดงถึงช่องว่างความเสี่ยง สำหรับในขั้นนี้ ความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีของโรงพยาบาลต่าง ๆ เช่น เพื่อการบูรณาการระบบ/การโอนย้ายข้อมูล และความปลอดภัยของข้อมูลมีความแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก ความต้องการที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ความต้องการในการรักษาสุขภาพจิต และอื่น ๆ บ่งชี้ถึงความมีศักยภาพเป็นอย่างมากของการแพทย์ทางไกล แต่ผู้ปฏิบัติงานก็จะต้องสามารถให้การบริการได้ไปพร้อม ๆ กับการสอดรับกับกรอบการทำงานในการกำกับดูแลที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ซับซ้อนขึ้นเป็นสองเท่าสำหรับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพระหว่างประเทศ เพราะจะต้องมีความสอดคล้องกับข้อจำกัดในท้องถิ่น และปรับตัวให้เข้ากับศักยภาพของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่บูรณาการเข้ามาใหม่เหล่านี้ด้วยการจับมือกับผู้สื่อสารด้านการดูแลสุขภาพของ PROI Worldwide บริษัทประชาสัมพันธ์ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เล่นรายใหญ่ในภาคส่วนนี้ได้เรียนรู้เคียงข้างไปกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และช่วยวางแนวทางและทำการสื่อสารประเด็นด้านสุขภาพและโซลูชันทางเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์ "ลูกค้าของคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพอยู่แล้ว ดังนั้นการใช้การสื่อสารแบบบูรณาการในช่องทางที่ลูกค้าชื่นชอบและเข้าใจจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง" คาริน โลหิตนาวี ผู้ก่อตั้งและ Master Connector ของมิดัส พีอาร์ (ประเทศไทย) อธิบาย "ประการแรก เราจะระบุถึงข้อจำกัดของลูกค้าที่อาจทำให้ผู้ป่วยไม่เข้าใจถึงการให้บริการ ต่อมาคือการเชื่อมต่อกับเป้าหมายเหล่านั้นและแสดงให้เห็นว่าธุรกิจของลูกค้าจะสามารถช่วยเหลือพวกเขาในชีวิตประจำวัน รวมถึงปกป้องสุขภาพและให้ความอุ่นใจแก่พวกเขาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ใช่เป็นเพียงแค่เบอร์โทรศัพท์ไว้ใช้ติดต่อยามเจ็บป่วยได้อย่างไร"
บริษัทประชาสัมพันธ์ช่วยทำให้การให้การแพทย์ทางไกลเป็นเรื่องที่ง่ายยิ่งขึ้นกว่าเดิม ด้วยการทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และสื่อสารเรื่องราวออกไปในเชิงบวก ซึ่งเป็นการสร้างและรักษาชื่อเสียงที่ดีของผู้ให้บริการ จัดทำแคมเปญและตอบสนองต่อเหตุการณ์ย่อย ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการดึงความสนใจของผู้คน และทำให้พวกเขามีความต้องการในความเปลี่ยนแปลง โซเชียลมีเดีย การสัมมนาออนไลน์ (Webinar) การมีส่วนร่วมของสื่อ ผู้มีอิทธิพลและการทำการตลาดผ่านการถ่ายทอดเรื่องราว รวมถึงการใช้ยุทธวิธีแบบดั้งเดิม ล้วนเป็นการสนับสนุนให้เกิดการรับรู้เชิงกลยุทธ์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมวาระทางสังคมในเชิงบวกของภาคส่วนที่กำลังเติบโต ในส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านสุขภาพแบบทางไกล คารินสรุปว่า "นอกเหนือจากการสนับสนุนด้านการสื่อสารเฉพาะภาคส่วนแล้ว พันธมิตรด้านการประชาสัมพันธ์ของเรายังมีส่วนช่วยในการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกในหมู่ประชาชน และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นการช่วยส่งเสริมความตระหนักรู้ด้านสุขภาพเป็นการทั่วไป" ดังนั้น นอกเหนือจากการประชาสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้นแล้ว เอเจนซี่จะมีส่วนในการส่งเสริมให้องค์กรต่าง ๆ เข้ามามีส่วนช่วยในการเชื่อมต่อกับชุมชนของพวกเขา และเปิดโอกาสให้พวกเขาเป็นผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่ทรงพลัง
การเฉิดฉายอยู่ในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพที่มีอัตราการแข่งขันสูง และการสร้างชื่อเสียงของแบรนด์ให้มีความหน้าเชื่อถือนั้นจำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์ที่มีความสม่ำเสมอ มีกลยุทธ์ และมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการสื่อสารที่มีความรอบคอบเกี่ยวกับประโยชน์ที่ผู้ป่วยที่จะได้รับจากการแพทย์ทางไกล และด้วยเหตุนี้เอง อนาคตของเราจะมีการเชื่อมต่อระหว่างกันมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเปิดประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่า และให้การดูแลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม