โคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10) หรือ โคคิวเท็น (CoQ10) คือ สารที่มีคุณสมบัติคล้ายกับวิตามินซึ่งร่างกายสามารถผลิตได้เองในปริมาณหนึ่ง แต่เมื่ออายุมากขึ้นระดับของ โคเอนไซม์คิวเทนจะลดลง โดย โคเอนไซม์ คิวเทน ทำหน้าที่กระตุ้นการผลิตพลังงานของเซลล์ โดยเข้าไปกระตุ้นให้ ไมโทคอนเดรีย (Mitochondrial) ซึ่งเปรียบเสมือนโรงงานไฟฟ้าที่คอยผลิตพลังงานให้กับเซลล์ต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น ช่วยสร้างพลังงานให้กับเซลล์ในร่างกาย โดยพบโคเอนไซม์ คิวเทน ได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต และถูกพบมากในอวัยวะที่ทำงานหนักตลอดเวลา หรือ เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ ที่ต้องการพลังงานสูง ซึ่งจะมีจำนวนไมโทคอนเดรียมาก เช่น หัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ สมอง และเซลล์สืบพันธุ์ และนอกจากนี้ โคเอนไซม์ คิวเทน ยังทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีมากอีกตัวนึง ส่งผลช่วยในการชะลอวัย
ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ที่ปรึกษาเตรียมตั้งครรภ์ตามหลักวิทยาศาสตร์ และผู้ก่อตั้งเพจ Babyandmom.co.th ยืนหนึ่งในใจผู้มีบุตรยาก เผยว่า จากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับผู้มีบุตรยาก มีงานวิจัยหลายฉบับศึกษาพบว่า ระดับของ โคเอนไซม์ คิวเทน จะลดลงตามอายุ ยิ่งมีความเสื่อมของเซลล์มากขึ้นจะสัมพันธ์กับระดับ โคเอนไซม์ คิวเทน ที่ลดลง ดังนั้นจึงมีการนำ โคเอนไซม์ คิวเทน เข้ามาทดลองรักษาโรคความเสื่อมต่างๆ มาตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า สามารถช่วยชะลอและฟื้นฟูความเสื่อมของเซลล์รวมไปถึงเซลล์สืบพันธุ์ด้วย
โดย ครูก้อย นัชชา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผู้หญิงที่อายุเกิน 35 ปี ระดับของโคเอนไซม์คิวเทนเริ่มลดลง ซึ่งส่วนนี้เป็นสิ่งที่ผู้หญิงกังวล เพราะ โคเอนไซม์ คิวเทน มีส่วนช่วยในเรื่องของเพิ่มพลังงานให้กับเซลล์ โดยเฉพาะในเซลล์สืบพันธุ์ อย่างเช่น เซลล์ไข่ หากเซลล์ไข่ไม่มีพลังงานจะไม่สามารถปฏิสนธิได้ หรือกระบวนการแบ่งตัวอ่อนอาจจะหยุดชะงัก เพราะว่าเซลล์ไข่ขาดพลังงาน ดั้งนั้นในผู้หญิงขาดสารโคเอนไซม์คิวเทน หรือผู้หญิงที่มีอายุเกิน 35 ปี เซลล์ไข่จะเริ่มเสื่อมและด้อยคุณภาพลง หรือ เรียกได้ว่า "ไข่แก่" นั่นเอง ทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ไม่ดี อาจส่งผลให้ตัวอ่อนไม่เจริญเติบโต แท้งง่าย หรือไม่เกิดการปฏิสนธิ ทำให้ท้องยาก
ครูก้อย นัชชา ระบุว่า "เซลล์ไข่แก่จากอายุที่มากขึ้นจะมีไมโทคอนเดรียที่เสื่อมสภาพอยู่ ดังนั้น การได้รับ โคเอนไซม์ คิวเทน เข้าไปเพื่อกระตุ้นการทำงานของไมโทคอนเดรียจะทำให้เซลล์ไข่กลับคืนสภาพมาเต่งตึง และพร้อมเกิดการปฏิสนธิแลกเปลี่ยนโครโมโซม มีโอกาสเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนที่สมบูรณ์ได้"
โดย ครูก้อย นัชชา ได้อ้างอิงการศึกษางานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2009 พบว่า Coenzyme Q10 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ ทำให้ไข่มีคุณภาพมากขึ้น โดยงานวิจัยได้ทำการทดลองในหนูที่มีอายุมากที่ได้รับโคเอนไซม์ คิวเทน ผลลัพธ์ที่ได้คือ เซลล์ไข่ของหนูในห้องทดลองมีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งการทาน โคเอนไซม์ คิวเทน อาจช่วยเพิ่มคุณภาพของเซลล์ไข่ของผู้หญิงที่มีอายุมากได้อย่างมีนัยสำคัญ
หลังจากนั้นในปี 2015 มีงานวิจัยอีกฉบับหนึ่งได้ทำการศึกษากับมนุษย์ เกี่ยวกับ Restore oocyte mitochondrial function เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการช่วยฟื้นฟูการทำงานไมโทคอนเดรียของเซลล์ไข่ ซึ่งงานวิจัยฉบับนี้ชื่อว่า Coenzyme Q10 restores oocyte mitochondrial function and fertility during reproductive aging ทำการศึกษาในกลุ่มผู้หญิงที่อยู่ในภาวะเจริญพันธุ์ ตีพิมพ์ในวารสาร Aging Cell เมื่อปี 2015 เป็นการศึกษาของอเมริกาและแคนนาดา พบว่า การที่อายุมากขึ้นส่งผลให้ไมโทคอนเดรียทำงานได้น้อยลง อันเนื่องมาจากขาด โคเอนไซม์ คิวเทน ที่ไม่เพียงพอ ส่งผลต่อคุณภาพของเซลล์ไข่ ไข่เสื่อมลง และส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก
นอกจากนี้ยังมีวิจัยอีกฉบับหนึ่งที่ทำการวิจัยในมนุษย์ก่อนเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว โดยได้ทำการทดลองกับกลุ่มผู้หญิงที่มีประสิทธิภาพการตอบสนองรังไข่ไม่ค่อยดี เป็นงานวิจัยจากประเทศจีน ตีพิมพ์ในวารสาร Reproductive Biology and Endocrinology เมื่อปี 2018 ได้ทำการวิจัยในกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี ที่มีภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย โดยให้ทาน โคเอนไซม์ คิวเทน 60 วัน ล่วงหน้าก่อนที่จะไปเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์ พบว่า ผู้หญิงที่ได้รับ โคเอนไซม์ คิวเทน มีการใช้ฮอร์โมนในการกระตุ้นที่น้อยลง ช่วยให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มสูงขึ้น ช่วยทำให้ไข่สุก และยังได้จำนวนการเก็บไข่เพิ่มมากขึ้น มีอัตราการปฏิสนธิสูงขึ้น อีกทั้งยังมีสถิติการตั้งครรภ์สูงขึ้นจากการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกอีกด้วย
และล่าสุดมีงานวิจัยอีกเรื่องหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2020 ได้ทำการวิจัยในผู้หญิงอายุมาก (อายุ 38-46 ปี) พบว่า การรับประทาน Q10 ช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ รวมถึงช่วยลดอัตราการแบ่งเซลล์และโครโมโซมผิดปกติของเซลล์ไข่อีกด้วย โดยจากการศึกษาพบกว่า ผู้หญิงอายุ 38-46 ปี ที่ได้รับโคเอนไซม์ คิวเทน จะพบอัตราไข่สุก 83 % มากกว่าผู้หญิงอายุ 38-46 ปี ที่ไม่ได้รับ โคเอนไซม์ คิวเทน ที่พบอัตราไข่สุกเพียง 63 % แต่สำหรับผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 30 ปี เปรียบเทียบกลุ่มที่ได้รับโคเอนไซม์ คิวเทน และไม่ได้รับโคเอนไซม์ คิวเทน ไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน
จากการรวบรวมการศึกษางานวิจัย ครูก้อย นัชชา ได้ให้ข้อสรุปว่า โคเอนไซม์ คิวเทน ช่วยทำให้คุณภาพของเซลล์ไข่ดีขึ้นได้ และพบว่า อัตราการตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับ โคเอนไซม์ คิวเทน เสริมเข้าไป ไม่ต่ำกว่า 30 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อบำรุงร่างกายหรือฟื้นฟูสภาพเซลล์โดยไม่ควรรับประทานเกิน 100 มก.ต่อวัน
ดังนั้น โคเอนไซม์ คิวเทน จึงเป็นหนึ่งในวิตามินที่ผู้หญิงวางแผนตั้งครรภ์ควรรับประทานให้เพียงพอ ควบคู่กับการทานโฟลิกที่ผู้หญิงเตรียมตั้งครรภ์ทุกคนต้องทานล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาของตัวอ่อนอย่างสมบูรณ์ ลดอัตราทารกพิการแต่กำเนิด และเสริมด้วยโคเอนไซม์ คิวเทน เพราะจะช่วยเพิ่มพลังงานให้กับเซลล์ไข่ปฏิสนธิได้สมบูรณ์ ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ไข่ ช่วยให้เซลล์ไข่สามารถแบ่งเซลล์ได้เป็นปกติ กลายเป็นตัวอ่อนที่สมบูรณ์ ฝังตัวเป็นครรภ์ที่แข็งแรงต่อไป ควบคู่กับกับวิตามินและแร่ธาตุอื่นๆให้ครบถ้วน และต้องทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ โดยเน้นอาหาร 70% วิตามิน 30% โดยสามารถศึกษารายละเอียด "คัมภีร์อาหารที่คนอยากท้องต้องกิน" ได้ที่ https://www.babyandmom.co.th/คัมภีร์อาหาร-ที่คนอยากท/ หรือสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิตามินเตรียมตั้งครรภ์ได้ที่ https://www.babyandmom.co.th/ovaall/
หรือสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ งานวิจัยเผย วางแผนท้องต้องทาน Co Q10 ช่วยเพิ่มพลังงานให้เซลล์ไข่!ได้ใน รายการ Research Talk โดย ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ผู้ก่อตั้งเพจ Babyandmom.co.th ยืนหนึ่งในใจผู้มีบุตรยาก ได้ที่ https://youtu.be/0uv67Ma6qIQ