พญาไท นวมินทร์ มั่นใจศักยภาพ ชู Medical Technology รักษาโรคทางสมอง พร้อมอยู่เคียงข้างดูแลประชาชนในทุกสถานการณ์
ในปี 2563 นับว่าเป็นปีที่สำคัญประการหนึ่ง ที่โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ ต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบในวงกว้างสร้างความยากลำบากและท้าทายต่อการดำเนินกิจการเป็นอย่างมาก และถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการผ่อนปรนให้กลุ่มคนต่างชาติที่มีวัตถุประสงค์เดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในประเทศ สามารถขออนุญาตเพื่อเดินทางได้ แต่สถานการณ์โดยภาพรวมของโควิด-19 ยังไม่ดีขึ้นโดยเฉพาะในหลายประเทศทั้ง CLMV กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง โรงพยาบาลฯ จึงหันมามุ่งเน้นตลาดผู้ป่วยในประเทศทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทย ในขณะเดียวกันก็ต้องเตรียมความพร้อมและยกระดับศักยภาพในเชิงการแพทย์อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการรักษาโรคยากหรือโรคที่มีความซับซ้อน เพื่อไม่เพียงแค่ดูแลผู้ป่วยในประเทศเท่านั้น แต่เพื่อพร้อมรับกลุ่มลูกค้าต่างชาติเมื่อประเทศเปิด ซึ่งคาดว่า "Medical Tourism จะกลับมาแน่นอน"
โรงพยาบาลฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์มาโดยตลอดเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์แต่ละช่วงที่เปลี่ยนไป แต่สิ่งสำคัญที่โรงพยาบาลฯ ยึดถือเป็นหัวใจ ก็คือ คุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยสูงสุด จึงได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามารองรับการให้บริการผู้ป่วยในกลุ่มโรคต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย และมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีการแพทย์ที่ดีขึ้น มีการบริหารจัดสรรพื้นที่บริการผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ มีการเพิ่มบริการและโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้ป่วยและรักษากลุ่มผู้ป่วยให้อยู่กับโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด มีการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาช่วยในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างเหมาะสมและเกิดผลการรักษาที่ดีที่สุด โดยเฉพาะในย่านนวมินทร์
นพ. ยงยุทธ มัยลาภ ผู้อำนวยการ รพ.พญาไท นวมินทร์ เปิดเผยว่า "โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ มุ่งเน้นกลยุทธ์เครือข่ายโรงพยาบาลพญาไท ซึ่งนับว่าเป็นจุดแข็งของโรงพยาบาลฯ และด้วยเพราะทุกเสี้ยววินาทีคือความอยู่รอดหรือการสูญเสีย จึงได้นำรถพยาบาลนวัตกรรม 'Mobile Stroke Unit' ซึ่งเป็นคันแรกของเอเชีย โดยออกให้บริการผู้ป่วยในย่านนวมินทร์ รถนี้จะใช้รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลกและเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของประเทศไทย"
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบมีความก้าวหน้าอย่างมากในปัจจุบัน พบว่าเวลาเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการรักษาเมื่อเกิดการอุดตันของหลอดเลือดเนื้อสมองในบริเวณที่เป็นศูนย์กลางการขาดเลือดจะเกิดการตายอย่างเฉียบพลันซึ่งบริเวณดังกล่าวจะขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไปส่วนเนื้อสมองบริเวณโดยรอบที่ขาดเลือดไปเลี้ยงจะหยุดทำงานและตายไปในที่สุดถ้าไม่ได้รับการเปิดหลอดเลือดอย่างทันท่วงที ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญ จึงได้นำรถ 'Mobile Stroke Unit' มา ช่วยเหลือผู้ป่วยให้รอดชีวิตและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งมุ่งหวังที่จะให้บริการครอบคลุมในพื้นที่โซนนวมินทร์ ผู้ป่วยไม่จำเป็นจะต้องฝ่ารถติดเข้าไปใจกลางเมืองเพื่อรับการรักษา เพราะเมื่อรถไปถึงผู้ป่วยได้ยิ่งเร็วก็จะยิ่งดีที่สุดตามมาตรฐานผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบจะต้องฉีดยาสลายลิ่มเลือดภายในเวลา 4.30 ชั่วโมง แต่สำหรับตัวรถนวัตกรรม 'Mobile Stroke Unit' นี้ สามารถทำเวลาได้ภายในไม่เกิน 3 ชั่วโมง เท่ากับว่าผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วขึ้น ทำให้ผลการรักษาดีขึ้นตามไปด้วย
พญ. ลลิตพรรณ สุดประเสริฐ อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทและสมอง กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคในกลุ่มประสาทวิทยาที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่ง เกิดจากความเสื่อมสภาพสะสมของเซลล์ในร่างกายที่กำหนดโดยยีน ซึ่งเริ่มตั้งแต่ช่วงวัย 20 ปี และจะแสดงอาการชัดเจนในช่วงวัย 50 ปี โดยการดำเนินของโรคนั้นขึ้นกับปัจจัยภายนอกที่จะเข้าไปเร่งให้การเสื่อมสภาพเร็วขึ้น อาทิ ลักษณะนิสัยการกิน สภาพแวดล้อม ความดันโลหิต การดื่มสุรา หรือการสูบบุหรี่
"จากข้อมูลกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2563 ประเทศไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 800,749 รายและเสียชีวิตด้วยโรคนี้ จำนวนถึง 41,840 ราย ซึ่งสาเหตุใหญ่ของความพิการและเสียชีวิตของผู้ป่วยก็เนื่องจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับมือกับอาการที่เกิดอย่างปัจจุบันทันด่วน ทั้งนี้รวมไปถึงการตัดสินใจกำหนดวิธีรักษาของแพทย์ด้วย เพราะภาวะของโรคหลอดเลือดสมองนี้ แม้ว่าผู้ป่วยจะมาถึงทันเวลาและอยู่ในมือแพทย์ที่ดีที่สุด แต่ความเสี่ยงจากการเสียชีวิตก็ยังมีอยู่ถึง 6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งขึ้นอยู่ที่การวินิจฉัยของแพทย์เป็นสำคัญ"
นพ.ประณต นิพัทธสัจก์ แพทย์เฉพาะทางด้านประสาทศัลยศาสตร์ กล่าวเพิ่มเติม "โดยทั่วไปเมื่อผู้ป่วยมาด้วยภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ถ้าอาการเกิดยังไม่ถึง 4.5 ชั่วโมง แพทย์อาจจะพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อสลายก้อนเลือดที่อุดตัน แต่ด้วยความเสี่ยงต่อผลร้ายที่อาจตามมาจากการใช้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยบางกลุ่ม ทำให้บางกรณีแพทย์ก็จำเป็นต้องตัดสินใจงดยานี้ทั้งที่ยังอยู่ในช่วงเวลาที่สามารถให้ได้"
ข้อห้ามที่จะให้ยาละลายลิ่มเลือดประการหนึ่งคือเรื่องขนาดของ Stroke เพราะยิ่งเราเห็นว่า Stroke ใหญ่เท่าไหร่ ก็ยิ่งอันตรายสำหรับการให้ยาละลายลิ่มเลือดมากขึ้นเท่านั้น
นพ.ประณต อธิบายว่า "สิ่งที่นำมาซึ่งการตัดสินใจกำหนดวิธีการรักษาในแต่ละกรณีผู้ป่วย ล้วนเกิดจากประสบการณ์และความละเอียดในการพิจารณาข้อบ่งชี้ทั้งหมดที่มีของแพทย์ ต้องมีการเรียนรู้ และศึกษาจากผลปฏิบัติการทุกครั้ง เพราะเรื่องของประสบการณ์ไม่สามารถจะสอนกันได้ในเวลาสั้น ๆ"
"นอกจากนี้ การได้ทำงานกับผู้ชำนาญการในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันก็เป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญ และเป็นหลักเกณฑ์หนึ่งที่ศูนย์ระบบประสาทและสมองโรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์ ได้นำมาใช้ คือรวมไว้ด้วยบุคลากรที่มีประสบการณ์ ความชำนาญการทั้งในด้านการรักษาและการจัดการเกี่ยวกับโรคทางระบบประสาท เพื่อประสิทธิภาพในการวินิจฉัย การรักษา การบำบัดอาการ หรือการฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยที่ครบวงจรและเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น"
อย่างไรก็ตาม 'หลอดเลือดสมอง' เป็นโรคเกี่ยวกับความเสื่อมที่มีปัจจัยภายนอกเป็นตัวเร่ง โดยผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสามารถควบคุมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่นลดการดื่มสุรา สูบบุหรี่ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะผู้มีโรคประจำตัวในกลุ่มของความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในหลอดเลือด ซึ่งต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษและควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ตามวาระ เพราะทั้งหมดนี้มีผลโดยตรงกับการชะลอความเสื่อมของร่างกาย และช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลันได้ดีที่