โรคติดมือถือ หรือ โนโมโฟเบีย (Nomophobia) คืออาการของคนที่หวาดกลัวเมื่อต้องใช้ชีวิตโดยไม่มีมือถือ ส่งผลให้มีการแสดงออกซึ่งความกระวนกระวายใจ หงุดหงิด เครียด ร้อนรน กระทั่งมีอาการเวียนหัวคลื่นไส้ อาเจียน
อันตรายของโรคติดมือถือ ไม่ได้มีเพียงอาการที่กล่าวมานี้เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง และสุขภาพทั้งกายและจิตใจของผู้ที่เป็นโนโมโฟเบียเองอีกด้วย
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเริ่มมีอาการติดมือถือ แล้วหรือยัง? วันนี้ผมจะพาทุกคนมาเช็คสุขภาพด้วยการสังเกตตัวเองง่ายๆ 4 ข้อ เพื่อสำรวจว่าเราเริ่มมีอาการติดมือถือแล้วหรือยัง ดังนี้ครับ
1. เช็คหน้าจอทุก 5-10 นาที
อาการเริ่มแรกของคนติดมือถือ คือการก้มเช็คหน้าจอตลอดทุก 5 นาที อาจเกิดจากการที่คุณต้องติดตามงานของคุณ ติดต่อเพื่อนฝูง หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่อาการเหล่านี้จะเป็นการแสดงออกถึงความกระวนกระวาย ไม่สบายใจ ซึ่งอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบๆตัว เพราะคุณกำลังให้ความสำคัญกับคนหรือสิ่งที่อยู่โลกดิจิตอลมากกว่าสิ่งที่อยู่รอบตัวคุณ
2. พกมือถือไปด้วยทุกที
ถ้าคุณเป็นอีกคนที่ต้องพกมือถือไปทุกที่แม้กระทั่งเข้าห้องน้ำ ขอแสดงความยินดีด้วย คุณเป็นคนที่เริ่มจะติดมือถือแบบขาดไม่ได้ซะแล้วล่ะครับ เพราะแม้กระทั่งกิจกรรมที่คุณไม่จำเป็นต้องใช้มือถือ คุณก็ต้องติดไปด้วยอย่างไม่มีสาเหต
3. เริ่มมีอาการปวดคอ นิ้ว ข้อมือ ปวดหัว
สุดท้าย อาการที่น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะสิ่งเป็นผลต่อสุขภาพที่เกิดจากการติดมือถือ คืออาการปวดคอจากการก้มดูจอโทรศัพท์นานๆ ปวดตามนิ้ว และข้อมือ สุดท้ายคือปวดหัว ซึ่งอาจนำไปสู่โลกจอประสาทตาเสื่อมได้ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งกับสายตาของคุณ ถ้าคุณเริ่มมีอาการเหล่านี้ นี่คือสัญญาณเตือนว่าคุณเข้าข่ายการติดมือถืออย่างรุนแรงแล้วนะครับ ควรรีบหาวิธีแก้อย่างด่วนเลยครับ
3 สัญญาณอันตรายที่บอกว่าคุณเป็นคนติดมือถือมากเกินไปแล้ว
มาถึงตรงนี้ ถ้าคุณเป็นคนที่มีอาการใดอาการหนึ่งในทั้ง 3 ข้อนี้ เป็นสัญญาณที่เริ่มบ่งบอกแล้วครับว่าคุณคือคนที่ติดมือถือ ก่อนที่อาการของคุณจะรุดหนักเกินไป วันนี้ Pronethub มีคำแนะนำง่ายๆ เพื่อแก้อาการติดมือถือของคุณครับ
ปิดการแจ้งเตือน (Notification) บางอย่างที่ไม่จำเป็น
การเปิด Notification เป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้คุณได้รับการแจ้งเตือนอย่างทันทีเมื่อมีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การเปิด Notification เป็นจำนวนมากเกินไปเป็นการรบกวนใจ และทำให้ไขว้เขวจากสิ่งที่กำลังทำอยู่ ซึ่งจะทำให้คุณเสียสมาธิได้ง่าย อีกทั้งจะทำให้กระวนกระวายตลอดว่าเมื่อไหร่จะมีอะไรเด้งขึ้นมา ดังนั้น จึงควรเปิดเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ และถ้าให้ดี ควรเลือกเปิดเป็นช่วงเวลาด้วยครับ เช่น เฉพาะเวลางาน เป็นต้น
จำกัดการใช้มือถือแต่ละวัน
การจำกัดการใช้มือถือในแต่ละวัน ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดปริมาณการใช้มือถือของคุณได้ครับ ผมแนะนำว่าไม่ต้องจำกัดเป็นจำนวนชั่วโมง แต่จำกัดการใช้ในบางกิจกรรมแทน เช่น ถ้าเวลาทานอาหาร, เวลาอยู่กับครอบครัว, เวลาทำงานอดิเรก จะไม่หยิบมือถือขึ้นมาใช้ เป็นต้น ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะครับว่าคุณมีกิจกรรมอะไรบ้างที่ไม่ต้องใช้มือถือ แล้วก็ตั้งกฎเหล็กกับตัวเองไว้เลยว่าจะไม่นำมือถือขึ้นมาใช้ในกิจกรรมนั้นเด็ดขาด แล้วคุณจะพบกับผลลัพธ์ที่น่าประหลาดใจเลยล่ะครับว่าจริงๆแล้วไม่มีมือถือ เราก็อยู่ได้
3 สัญญาณอันตรายที่บอกว่าคุณเป็นคนติดมือถือมากเกินไปแล้ว
วางโทรศัพท์ไว้ไกลๆตัวเอง
วิธีนี้อาจจะฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่เอาเข้าจริงแล้วสามารถช่วยลดความอยากในการเล่นมือถือของคุณได้พอสมควรเลยครับ เพราะคุณต้องใช้ความพยายามในการเดิน เพื่อไปหยิบมือถือมาเล่นในแต่ละครั้ง ดังนั้น การวางมือถือไว้ไกลๆตัว รวมถึงปิดเสียง หรือปิด notification จึงเป็นวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณเล่นมือถือได้น้อยลงอย่างแน่นอนครับ
สังเกตการเปลี่ยนแปลง และให้รางวัลตัวเอง!
เริ่มสังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคุณเอง และคอยให้รางวัลตัวเองบ้างหากสามารถทำได้ตามเป้าที่วางไว้ เพื่อเป็นการเสริมแรงบวกให้กับตัวเอง (Positive Reinforcement) อาจจะเป็นการไปทานของโปรด หรือซื้อของสะสมชิ้นโปรดของคุณก็ได้ เพื่อเป็นกำลังใจให้คุณเปลี่ยนแปลงตัวเองต่อไป
ลองนำทริคเล็กๆน้อยๆนี้ไปใช้กันนะครับ แอดหวังว่าจะช่วยให้ใครก็ตามที่กำลังติดมือถือ สามารถเอาชนะอาการเหล่านี้ได้ และกลับมาใช้โทรศัพท์กันได้อย่างเหมาะสมและพอดี แล้วพบกันใหม่บทความหน้าครับ ?
ขอบคุณข้อมูลจาก Pronethub ศูนย์รวม เน็ตทรูไม่ลดสปีด สมัครเน็ตทรู โปรเน็ตทรู สมัครเน็ต ais โปรเน็ต ais โปร ดีแทค สำหรับมือถือระบบเติมเงิน สมัครได้เองง่ายๆเพียงกดรหัสและโทรออก