ทุกวันพฤหัสบดีในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนตุลาคม ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม เป็นวันที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กำหนดให้เป็นวันสายตาโลก (World Sight Day) เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงสุขภาพดวงตาและความสำคัญของผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นในสังคม ซัมซุง ผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลก ทุ่มเทพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าให้คนทุกกลุ่มสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทีวีที่ปัจจุบันเปรียบเสมือนหน้าต่างสู่โลกกว้าง
ทั่วโลกมีผู้บกพร่องทางการมองเห็นกว่า 2 พันล้านคน[1] โดยในประเทศไทยมีผู้มีความสามารถในการมองเห็นต่ำประมาณ 1 ล้านคน และผู้มีอาการตาบอดอีกเกือบ 4 แสนคน[2] โดยความเชื่อของคนทั่วไปมักจะมองว่าผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นไม่สามารถรับคอนเทนต์จากสื่อทีวีได้ แต่ความจริงแล้วกว่า 93 เปอร์เซ็นต์[3] ของผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นมีประสาทที่ดีเพียงพอสำหรับการรับภาพในระดับหนึ่ง อีกทั้งมีประสาทการได้ยินที่ดีกว่าคนทั่วไปอีกด้วย
นวัตกรรมและเทคโนโลยีในผลิตภัณฑ์ทีวีจากซัมซุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ผู้บกพร่องทางการมองเห็นสามารถเพลิดเพลินกับคอนเทนต์บนทีวีและสามารถควบคุมอุปกรณ์ได้ด้วยตัวเองอย่างอิสระ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ "Screens Everywhere, Screens for All" ที่ต้องการมอบประสบการณ์การรับชมที่ครอบคลุมคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม
เปิดประสบการณ์คอนเทนต์สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น
การรับชมคอนเทนต์เริ่มต้นที่การเปิดทีวีและเลือกช่องที่ต้องการรับชม ต่อด้วยกันซึมซับเรื่องราวผ่านการทำความเข้าใจการกระทำของสิ่งที่เกิดขึ้น นี่อาจจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้ที่มีประสาทการมองเห็นสมบูรณ์ แต่สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็นการใช้เพียงการสัมผัสและจดจำเพื่อเปิดรายการที่ต้องการ และฟังแค่บทสนทนาเพื่อพยายามเข้าใจเรื่องราวของคอนเทนต์ ไม่อาจมอบประสบการณ์ที่ครบถ้วนได้
ซัมซุงพัฒนาฟีเจอร์ Voice Guide เพื่อช่วยในการเลือกรายการที่ต้องการเมื่อเปิดทีวี โดยฟีเจอร์สามารถบอกรายละเอียดรายการ หมายเลขช่อง และระดับความดังของเสียงให้กับผู้ใช้ ทำให้ลดภาระการจดจำปุ่มมากมายบนรีโมท นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ Audio (Video) Description ที่บรรยายสถานการณ์และฉากบนจอภาพ ซึ่งรวมถึงเสื้อผ้าที่ตัวละครสวมใส่และท่าทางต่างๆ เพื่อรายละเอียดที่สมบูรณ์มากขึ้น
เปลี่ยนภาพเบลอให้คมชัดพร้อมแต่งแต้มสีสันที่สดใส
ข้อความสีดำบนพื้นหลังสีขาวบนหน้าเมนูที่ดูธรรมดา กลับเป็นปัญหาสำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็นบางกลุ่มที่มีตาไวต่อแสง ทำให้ไม่สามารถรับชมคอนเทนต์ได้นานเนื่องจากแสงที่ระคายดวงตาทำให้ตาล้าได้ง่าย คล้ายกับผู้ที่มีอาการตาบอดสีที่ก็ไม่สามารถรับชมคอนเทนต์ได้อย่างเต็มที่ เพราะไม่สามารถเห็นภาพได้อย่างชัดเจนในสีสันที่ควรเป็น
ซัมซุงเข้าใจระดับและความต้องการที่แตกต่างกันของผู้บกพร่องทางการมองเห็น ส่งผลให้ซัมซุงได้พัฒนาฟีเจอร์ Color Inversion ที่สามารถเปลี่ยนสีเมนูเป็นให้เป็นพื้นหลังสีดำและเปลี่ยนภาพสีให้เป็นสีขาวดำได้ เพื่อความสบายตาสำหรับผู้ที่มีดวงตาไวต่อแสง อีกทั้งยังใส่ใจผู้ที่มีอาการตาบอดสีด้วย SeeColors App ให้ผู้ใช้ระบุชนิดของภาวะตาบอดสีและระดับความรุนแรงได้ เพื่อปรับการแสดงผลบนหน้าจอให้ผู้ใช้สามารถเห็นภาพได้ใกล้เคียงความสมจริงที่สุด
ใส่ใจทุกขั้นตอน เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน
รีโมทเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมทีวีมากที่สุด เพราะผู้ใช้สามารถเลือกรายการ ปรับระดับเสียง และตั้งค่าทีวีได้ ช่วยทำให้อรรถรสในการรับชมคอนเทนต์ดียิ่งขึ้น แต่สิ่งที่เป็นเรื่องท่าทายสำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็นคือการจดจำปุ่มต่างๆ บนรีโมท ส่งผลให้ผู้บกพร่องทางการมองเห็นใช้เวลานานกว่าในการทำความคุ้นชินกับรีโมท
ฟีเจอร์ Learn TV Remote ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ใช้คุ้นเคยกับตำแหน่งของปุ่มต่างๆ และช่วยสอนฟังก์ชันในการใช้งาน โดยขณะเปิดฟีเจอร์อยู่ ระบบจะอธิบายรายละเอียดของปุ่มต่างๆ เป็นข้อความเสียงทุกครั้งที่พูดใช้กดรีโมท นอกจากนี้ซัมซุงทีวี Neo QLED และ The Frame ตั้งแต่รุ่น 2021 เป็นต้นไป ยังมาพร้อมกับรีโมทควบคุมโซลาเซลล์ (Solar Cell Remote Control) ที่สามารถชาร์จพลังงานได้จากแสงภายในและภายนอกอาคาร ช่วยให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่านรีโมทอยู่บ่อยๆ
ซัมซุงเชื่อว่าความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับผู้บกพร่องทางการมองเห็นคือหัวใจสำคัญสำหรับการพัฒนาฟีเจอร์เพื่อมอบประสบการณ์การรับชมที่ครอบคลุมและเท่าเทียม ทำให้ซัมซุงไม่เคยหยุดร่วมรวมข้อมูลความพอใจในการใช้งานทีวีซัมซุง และพร้อมจะพัฒนาต่อไปเพื่อสร้างทีวีที่ผู้บกพร่องทางการมองเห็นจะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพพร้อมรับประสบการณ์คอนเทนต์ที่เหนือกว่า ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดฟีเจอร์สำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็นในซัมซุงทีวีได้ที่ https://www.samsung.com/th/accessibility/tv/