ปัญหาน้ำเน่าเสียเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศไทย ที่เกิดขึ้นจากการขาดความรู้และความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้แหล่งน้ำเกิดการเน่าเสีย เกิดจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของชุมชนและพื้นที่สำหรับการทำอุตสาหกรรมจนทำให้เกิดปัญหาน้ำเสียที่มากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเรามักจะพบว่าน้ำเสียส่วนใหญ่นั้นมักจะผ่านการบำบัดในขั้นต้นมาแล้ว แต่อย่างไรก็การบำบัดในขั้นต้นนั้นนับว่ายังไม่เพียงพอที่จะให้ความสกปรกของน้ำเสียในรูปของสารอินทรีย์ลดลงจนอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
ส่งผลให้การปรับคุณภาพน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงงาน และโรงพยาบาล จำเป็นที่ต้องอาศัยการบำบัดน้ำเสียในขั้นสูง (Advance Treatment หรือ Tertiary Treatment) ซึ่งเป็นกระบวนการกำจัดสารอาหารประเภทไนโตรเจนและฟอสฟอรัส รวมถึงสี สารแขวนลอยที่ตกตะกอนยาก และสารหรือวัตถุอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ถูกกำจัดโดยกระบวนการบำบัดขั้นต้นและกระบวนการบำบัดขั้นที่สอง เพื่อเป็นการช่วยในการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีเพียงพอก่อนการนำไปทิ้งลงในแหล่งรับน้ำสาธารณะ หรือเพื่อที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) อีกทั้งยังเป็นการช่วยป้องกันการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของสาหร่าย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้ โดยกระบวนการสำหรับการปรับคุณภาพน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงงาน และโรงพยาบาล สามารถทำได้ดังนี้
- การทำให้เป็นกลาง (Neutralization)
- การทำลายเชื้อโรค (Disinfection)
- การตกตะกอนด้วยการใช้สารเคมี (Chemical Coagulation หรือ Precipitation)
- การบำบัดด้วยบ่อแอโรบิค (Aerobic Pond)
สำหรับท่านไหนที่สนใจบริการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย สามารถติดต่อ ได้ที่ บมจ.พรีเมียร์ โพรดักส์ ในฐานะผู้ผลิตและให้บริการด้านระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับโรงพยาบาล โรงงาน และหน่วยงานต่าง ๆ มากกว่า 45 ปี ยินดีให้คำแนะนำและพร้อมดูแลคุณ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.premier-products.co.th/news_event/effluent-quality-adjustment/