โรงพยาบาลทั่วไทยพร้อมดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ด้วย แอนติบอดี ค็อกเทล สร้างความเชื่อมั่นรองรับการเปิดประเทศ

ข่าวทั่วไป Monday November 15, 2021 09:00 —ThaiPR.net

โรงพยาบาลทั่วไทยพร้อมดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ด้วย แอนติบอดี ค็อกเทล สร้างความเชื่อมั่นรองรับการเปิดประเทศ

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทนำเข้า จัดสรร และกระจายยา แอนติบอดี ค็อกเทล เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื่อโควิด-19 ซึ่งหลายฝ่ายหวั่นเกรงว่าอาจเกิดขึ้นอีกระลอก หลังประกาศเปิดประเทศและคลายมาตรการป้องกันต่างๆ

แอนติบอดี ค็อกเทล ได้เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้วและได้กระจายไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์การแพร่ระบาด โดย 'แอนติบอดี ค็อกเทล' เป็นยาในกลุ่มภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ ซึ่งจากผลการวิจัยทางคลินิกในต่างประเทศ[1] และประสบการณ์ตรงจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อที่รักษาผู้ป่วยในประเทศไทย[2] พบว่า แอนติบอดี ค็อกเทล เป็นตัวเลือกการรักษาที่เหมาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยโควิด-19 อาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีความเสี่ยงที่โรคอาจลุกลามไปสู่ระดับรุนแรง เช่น อายุเกินกว่า 60 ปีขึ้นไป มีภาวะโรคอ้วน มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือภูมิคุ้มกันถูกด เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ มีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอดเรื้อรัง โรคตับเรื้อรัง และโรคไตเรื้องรัง แอนติบอดีค็อกเทล สามารถช่วยลดจำนวนไวรัสในร่างกาย จึงช่วยให้ผู้ป่วยลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลได้ถึง 70% ลดระยะเวลาการแสดงอาการให้สั้นลง รวมถึงลดอัตราการเสียชีวิตได้

ขณะนี้ โรงพยาบาล 68 แห่ง[3] ทุกภูมิภาค ทั่วประเทศไทย พร้อมดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ด้วย แอนติบอดี ค็อกเทล ความพร้อมด้านการรักษานี้มีส่วนช่วยให้การเปิดประเทศและการคลายมาตรการการป้องกันต่างๆ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดผลดีในวงกว้าง ทั้งต่อชีวิตประจำวัน เศรษฐกิจ และสังคม อีกทั้งยังช่วยคลายความกังวลใจของประชาชนไทย ผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยวอีกด้วย สำหรับในบางประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร[4] สหรัฐอเมริกา[5] ยังมีตัวอย่างการอนุมัติเพิ่มเติมข้อบ่งชี้ให้ใช้ยาแอนติบอดี ค็อกเทล เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 อีกด้วย (post exposure prophylaxis)

นายแพทย์ทวีกฤตย์ สิริพงศ์บุญสิทธิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าวถึงการรับยาแอนติบอดี ค็อกเทลว่า "เพื่อให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุดจากการรักษาด้วยยาแอนติบอดี ค็อกเทล ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์และได้รับยาให้เร็วที่สุด หลังตรวจพบเชื้อหรือเริ่มมีอาการ ไม่เกิน 7-10 วัน ยิ่งได้รับยาเร็ว ผลลัพธ์การรักษาก็ยิ่งได้ผลดี แพทย์จะให้ยาทางหลอดเลือดดำ ประมาณ 30-60 นาที ซึ่งถือว่าใช้เวลาสั้นและสะดวก จากนั้นผู้ป่วยต้องสังเกตอาการอีกราว 30 นาที ซึ่งส่วนมากมักไม่แสดงอาการข้างเคียงใด ๆ แพทย์จึงอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล โดยจะติดตามอาการหลังได้รับยาต่ออีกประมาณ 28 วัน"

"ในบรรดาผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางหรือภูมิคุ้มกันต่ำ (immunocompromised) นอกจากผู้ป่วยเบาหวานและผู้สูงอายุแล้ว ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ก็ถือว่าเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงมากที่โรคโควิด-19 จะลุกลามไปสู่ระดับรุนแรงหากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แม้จะได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้วก็ตาม เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอาจประสบปัญหาภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตอื่นๆ นอกเหนือจากภาวะแทรกซ้อนของโรคโควิด-19 เอง เช่น ภาวะน้ำเกิน ภาวะเลือดเป็นกรด หรือเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ เป็นต้น แต่ในทางกลับกันการวินิจฉัยและการดูแลกลับทำได้ยาก จากประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ระหว่างการระบาดในระลอกที่ผ่านๆ มา จึงพบว่ามีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ติดเชื้อโควิด-19 และประสบความลำบากจากการไม่สามารถเข้าถึงบริการฟอกไตทางหลอดเลือด ถูกส่งตัวมาเข้ารับการรักษาที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งหลายรายมีอาการหนัก โดยหากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังไม่ได้รับการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ที่มีประสิทธิภาพอย่างทันท่วงที อาจเสี่ยงที่จะต้องเข้ารักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก (ICU) หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต" นายแพทย์ทวีกฤตย์กล่าวเสริม

ทั้งนี้ การคลายล็อกดาวน์และการเปิดประเทศ ซึ่งเริ่มต้นวันที่ 1 พ.ย. 2564 ภายใต้การประกาศของรัฐบาลและศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของไทยนั้น ได้รับการตอบรับอย่างดีจากประชาชน โดยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเดินหน้าทำงานร่วมกันเพื่อให้การเปิดประเทศครั้งนี้ เป็นไปด้วยความระมัดระวังและคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับสูงสุด อย่างไรก็ตาม ประชาชนไม่ควรการ์ดตก สวมใส่หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง และหมั่นล้างมือ ตามข้อกำหนดการปฏิบัติตนเบื้องต้น เพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

"เนื่องจากประเทศไทยยังสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ไม่ทัน ตอนนี้พวกเราทุกคนจึงต้องช่วยกันลดภาระของระบบสาธารณสุข หากพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 การประเมินระดับความรุนแรงของอาการเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผ่านมามีหลายรายแจ้งกับบุคลากรทางการแพทย์ว่าไม่รู้สึกเหนื่อยหรือรู้สึกว่าตนไม่มีอาการ แต่เพียงไม่นานนัก อาการกลับทรุดลงอย่างรวดเร็วและมาถึงมือแพทย์ล่าช้า จนเชื้อแพร่กระจายลงปอด ปอดติดเชื้อรุนแรง จนผู้ป่วยหลายรายปอดกลายเป็นฟังผืดเรื้อรัง ในฐานะแพทย์ด่านหน้าที่รับมือกับสถานการณ์มาตั้งแต่ระลอกแรก จึงอยากให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความสำคัญของการรีบตรวจและรีบเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ร่วมกับการไม่รีรอรีบฉีดวัคซีน" นายแพทย์ทวีกฤตย์กล่าวปิดท้าย


แท็ก โควิด-19   จุฬา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ