แหล่งรวมประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยเสน่ห์แห่งวัฒนธรรมท้องถิ่นใจกลางแม่ริม
เชียงใหม่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนานในด้านมรดกทางวัฒนธรรมที่หยั่งรากลึก และได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของประเทศไทย ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานทั้งทางด้านศิลปะ งานฝีมือ และประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน จึงทำให้โฟร์ซีซั่นส์ รีสอร์ท เชียงใหม่ ที่ที่ซึ่งโอบล้อมไปด้วยธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และนาข้าวที่ใช้งานจริงนี้เป็นดั่งภาพสะท้อนของมรดกทางวัฒนธรรมให้แขกทุกท่านได้สัมผัสและดื่มด่ำไปกับประสบการณ์ที่มีคุณค่า
"รีสอร์ทของเราตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอแม่ริมมายาวนานกว่า 25 ปี สร้างความผูกพันธ์ที่แน่นแฟ้นและมีความหมายกับผู้คนในท้องถิ่น และซึมซับคุณค่าซึ่งเป็นแก่นแท้ของวิถีชีวิตของชาวเหนือ" คุณแอนโธนี่ กิลล์ ผู้จัดการทั่วไป โฟร์ซีซั่นส์ รีสอร์ท เชียงใหม่ และเต็นท์แคมป์สามเหลี่ยมทองคำ กล่าว
สัมผัสประสบการณ์ไทยแท้
การเปิดตัว "ชานบ้าน" ในครั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้แขกทุกท่านได้สัมผัสประสบการณ์ที่แท้จริงแบบใกล้ชิดและเป็นส่วนตัวท่ามกลางมนต์เสน่ห์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น "สัมผัสกับเครื่องมือโบราณและเทคนิคต่างๆที่ใช้ในการปลูกข้าวแบบดั้งเดิมได้ที่นี่" กล่าวโดย คุณอโชค แนร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายห้องพัก ผู้ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่ในการดูแลและจัดการประสบการณ์ต่างๆ "เรียนรู้การดำนาโดยตรงจากเกษตรกรผู้มีประสบการณ์ของเรา สนุกไปกับการหมุนจานหมุนปั้นหม้อดินเผา หรือสร้างงานศิลปะที่สวยงามบนผืนผ้าด้วยสีย้อมธรรมชาติ เดินชมสวนผักและสมุนไพรที่ได้รับการดูแลอย่างเอาใจใส่ และเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมอาบน้ำควายแสนใจดีและเป็นมิตรได้ในทุกๆวัน"
ซึมซับวิถีชีวิตท้องถิ่น
ความหมายของคำว่า "ชานบ้าน" คือบริเวณลานภายนอกตัวอาหารบ้านแบบไทยหรือพื้นที่ใช้สอยกลางแจ้ง ซึ่งมักเป็นลานที่เชื่อมต่อส่วนต่างๆ ของบ้านเข้าไว้ด้วยกัน "ในอดีตชานบ้านนิยมเป็นสถานที่ที่ครอบครัวมารวมตัวกันเพื่อรับประทานอาหาร เฉลิมฉลอง และพบปะสังสรรค์ร่วมกัน" คุณอโชคกล่าว "เราต้องการสร้างพื้นที่ที่คล้ายกัน เพื่อให้แขกได้สามารถร่วมใช้เวลาไปด้วยกันเพื่อเพลิดเพลินกับวัฒนธรรมท้องถิ่น"และที่ชานบ้านเรายังให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยความสนุก "เป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบสำหรับการใช้เวลาอย่างมีคุณภาพไปกับลูกๆของพวกเขา พร้อมทั้งยังได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตที่งดงามอย่างไทย" เขากล่าวเสริม
ทำงานร่วมกันกับชุมชน
อีกหนึ่งสิ่งที่ชานบ้านให้ความสำคัญคือ การร่วมมือทำงานกับชุมชนและคนในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องพื่อช่วยรักษาและอนุรักษ์งานฝีมือ รีสอร์ทของเราเปิดโอกาสให้แขกได้เรียนรู้ถึงวิธีการมัดย้อมแบบดั้งเดิมจากศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าในจังหวัดเชียงใหม่ อาจารย์แพทริเซีย ชีสแมน และคุณลาโมร์นา ชีสแมน จากสตูดิโอแน่นหนา "การย้อมครามคือการเข้าถึงธรรมชาติได้อย่างยอดเยี่ยม" กล่าวโดยอาจารย์แพทริเซีย ผู้ซึ่งแบ่งปันสีย้อมธรรมชาติจากครามอันล้ำค่าซึ่งเก็บรักษาให้ยังคงมีชีวิตอยู่ไว้มาอย่างยาวนานกว่า 25 ปี "เราตั้งตารอที่จะเติบโตและแก่เฒ่าไปด้วยกัน" เธอกล่าวยิ้ม
อีกหนึ่งความร่วมมือที่ที่น่าภาคภูมิใจคือการทำงานร่วมกับ อินเคล สตูดิโอ ผู้ผลิตจานชามเครื่องเคลือบต่างๆสำหรับบริการแขกที่ห้องอาหารนอร์ท บาย โฟร์ซีซั่นส์ ทุกชิ้นงานนั้นทำขึ้นด้วยมือโดยคุณจิรวงษ์ วงษ์ตระหง่าน ศิลปินงานปั้นผู้เป็นเจ้าของกิจการ ผู้สร้างสรรค์ลวดลายของดินเหนียวและธีมต่างๆจากแรงบันดาลที่ได้รับจากทัศนียภาพรอบกาย
"ไม่ว่าจะเป็นการลงเรียนปั้นดินเผาหลักสูตรระยะยาว การเรียนปั้นที่ออกแบบโดยเฉพาะให้เหมาะสมแต่ละบุคคล หรือเพียงแค่ต้องการที่จะลงมือทำและสนุกไปกับการใช้วงล้อจานหมุน เราก็ยินดีต้อนรับผู้เชี่ยวชาญด้านเซรามิกทุกๆท่าน" ด้วยเตาเผาที่เรามีที่ชานบ้านแห่งนี้ แขกสามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของตนเองและนำไปเอาไปอบกลายเป็นของที่ระลึกได้
ประเพณีที่ถูกสืบต่อกันมา
นอกจากเครื่องปั้นดินเผา ผ้ามัดย้อม แขกยังสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประเพณีการปลูกข้าว ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถฝึกปลูกข้าวดำนาและค้นพบประเพณีที่เก่าแก่อย่างการประดิษฐ์ไม้ไผ่สานตาแหลว
"ตาแหลว แปลว่า 'ตาเหยี่ยว' ในภาษาไทยและถือเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดอย่างหนึ่งในวัฒนธรรมล้านนา เชื่อกันว่าจะนำพาโชคลาภ สุขภาพ ความเจริญรุ่งเรือง ทั้งยังขับไล่วิญญาณชั่วร้าย" คุณอโชคอธิบาย เรามักจะพบเห็นสัญลักษ์ตาแหลวนี้อยู่รอบๆ บริเวณนาข้าว เนื่องจากชาวนาเชื่อว่าตาแหลวนั้นสามารถปกป้องและคุ้มครองทุ่งนาให้มีผลผลิตงอกงาม "ชาวลั๊วะ (กลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือของประเทศไทย) มักจะติดหรือแขวนตาแหลวนี้ที่ประตูหรือหน้าบ้านของพวกเขา ในขณะที่ชาวอาข่า (กลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่เดียวกัน) มักจะแขวนตาแหลวไว้ที่ทางเข้าหมู่บ้านเพื่อคุ้มภัยและแยกโลกมนุษย์กับโลกวิญญาณออกจากกัน" เขากล่าวเสริม
ประสบการณ์ต่างๆ ที่นี่ยังครอบคลุมไปถึงกรรมวิธีการทำอาหารแบบดั้งเดิมและยังสามารถเพลิดเพลินไปกับเมนูของทานเล่นพื้นบ้าน เช่น ขนมครกหรือข้าวเหนียวปิ้ง ในบริเวณถัดออกไปนั้นเชฟเลียม นีลอน และทีมชาวสวนได้ร่วมกันดูแลพืชผักและสมุนไพรเพื่อใช้ในห้องอาหารต่างๆรวมทั้งคลาสเรียนทำอาหารอีกด้วย
"ชานบ้าน คือแหล่งรวบรวมประสบการณ์เชิงวัฒนธรรมที่มีชีวิต เต็มไปด้วยการแบ่งปันแลกเปลี่ยนผ่านบทสนทนาและปลุกความทรงจำที่มีคุณค่าและงดงามในอดีต โดยคนท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมในการสร้างสถานที่แห่งนี้" คุณแอนโทนี่ ยิ้ม