ผศ.ดร.ศิฬาณี นุชิตประสิทธิ์ชัย ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัล I-BIT(ไอบิท)เป็นหลักสูตรนานาชาติของภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เปิดเผยว่า หลักสูตรI-BIT (ไอบิท) นี้ถูกออกแบบเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล โดยมุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับกระบวนงาน (Process) ของภาคธุรกิจ การวางแผนกลยุทธ์ดิจิทัล การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การบูรณาการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพยากรณ์ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อผสานการทำงานเชิงธุรกิจของแต่ละส่วนขององค์กรการเรียนด้านวิทยาการสารสนเทศเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นการตอบทุกโจทย์สำหรับการทำงานยุคนี้และอนาคต เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเรียนเรียนเกี่ยวกับการเขียนโค้ด (Coding) การพัฒนาโปรแกรมด้านคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบ ผู้ดูแลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืองานด้านซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ล้วนเกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) แทบทั้งสิ้น ซึ่งหลักสูตร I-BIT เน้นการเรียนเจาะลึกเกี่ยวกับกระบวนการองค์กรหรือธุรกิจดิจิทัลโดยผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับองค์กรแต่ละแห่ง และเป็นนวัตกร ผู้ซึ่งสามารถคิดและวิเคราะห์ข้อมูลดิบให้กลายเป็นสารสนเทศ เพื่อประยุกต์ในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ โดยจัดการเรียนการสอนที่ได้มีการลงมือปฏิบัติจริงร่วมกับบริษัทชั้นนำ และยังได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทชั้นนำ ตลอด 4 ปีการศึกษา
ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเลือกที่จะฝึกงานกับภาคอุตสาหกรรม 3 เดือนในขณะศึกษาชั้นปีที่ 3 และนำโจทย์จากภาคธุรกิจมาให้นักศึกษาฝึกฝนในการแก้ปัญหาโดยเป็นส่วนหนึ่งของปริญญานิพนธ์ (2 ภาคการศึกษา ในชั้นปีที่ 4) หรือ สหกิจศึกษากับภาคธุรกิจ 4 เดือนในขณะศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยขณะนี้ ทาง มจพ. กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2564และสมัครออนไลน์ที่ www.admission.kmutnb.ac.th
ความโดดเด่นของหลักสูตร I-BIT มุ่งพัฒนานักศึกษาให้สามารถสนับสนุนการปรับเปลี่ยนกระบวนการธุรกิจเป็นรูปแบบดิจิทัล (digital transformation) โดยจัดการเรียนการสอนที่ครอบคลุมความรู้และทักษะรอบด้าน ทั้งด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม ความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ และการเป็นผู้ประกอบการ หลักสูตรนี้ออกแบบผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักศึกษาในแต่ละชั้นปี ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ศึกษาการเขียนโปรแกรมและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ศึกษากรอบและกระบวนการที่จำเป็นต่อ การพัฒนาแอปพลิเคชัน นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ศึกษาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ศึกษาเกี่ยวกับทักษะของผู้ประกอบการและการบริหารจัดการธุรกิจ นักศึกษาของหลักสูตรนี้จะมีคุณลักษณะพิเศษ 4 ประการ คือ
1) สามารถสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เป็นองค์กรดิจิทัล โดยการทำโครงงานหรืองานวิจัยที่ได้รับโจทย์ปัญหาจากหน่วยงานของภาครัฐ ภาคธุรกิจ หรือภาคอุตสาหกรรม ที่มีความร่วมมือกับภาควิชา อีกทั้งนักศึกษาสามารถเลือกฝึกงานหรือทำสหกิจศึกษากับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้กระบวนการทำงานจริง
2) เข้าใจในกระบวนการธุรกิจ และสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการขององค์กรอย่างแท้จริง
3) มีลักษณะเป็นผู้ประกอบการ ที่มีกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ สามารถพิจารณาปัญหาและผลกระทบอย่างรอบด้าน มีความเป็นผู้นำ มีทัศนคติเชิงบวกที่พร้อมจะรับมือและแก้ไขปัญหา
4) มีความสามารถในการนาเสนอข้อมูลหรือผลงาน ให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้อย่างง่าย โดยสามารถพัฒนาสื่อการนำเสนอในรูปแบบดิจิทัล
ส่วนการเปิดรับสมัครหลักสูตร I-BIT จะเป็นกลุ่มนักศึกษาที่เปิดรับสมัคร ผู้มีวุฒิ ม.6 (สายสามัญ) ที่ผ่านการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และ/หรือคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต หรือเทียบเท่า) และสำหรับผู้มีวุฒิ ปวช. แผนกไฟฟ้า แผนกอิเล็กทรอนิกส์ แผนกแมคคาทรอนิกส์ แผนกคอมพิวเตอร์ แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทียบเท่า โดยจะเปิดรับสมัครรอบที่ 1 (TCAS#1) ถึงรอบที่ 4 (TCAS#4) ของทุกปี
ผศ.ดร.ศิฬาณี กล่าวเพิ่มเติมว่า นักศึกษาหลักสูตร I-BIT ในระดับปริญาตรี ชั้นปีที่ 1-3 ได้สร้างชื่อเสียง และคว้ารางวัลเกียรติคุณจากหลายสถาบันทั้งในและต่างประเทศ จากการเข้าประกวดของกลุ่มมีนักศึกษา สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัล อย่างต่อเนื่อง อาทิ
1) รางวัลชนะเลิศการประกวด The AANZFTA Competition Law Essay Contest กลุ่มประเทศอาเซียนการประกวด The AANZFTA Competition Law Essay Contest กลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ภายใต้หัวข้อ Safeguarding Competition - a post pandemic response of ASEAN Competition Authorities
2) รับรางวัลเกียรติคุณจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ภายใต้โครงการประกวดสร้างนวัตกรรมแอปพลิเคชันเพื่อบริการประชาชน สำหรับกลุ่มบริการอุตสาหกรรม
3) การฝึกงานภาคฤดูร้อนประจำปี 2564 เปิดประสบการณ์ในการทำงาน และประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากในห้องเรียนสู่โลกการทำงานจริง เช่นการได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท ไอบอทน้อยและการเรียนรู้การทำ unit test หรือ system testการสรุปจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ออกมาเป็่นบทความ การพัฒนาเว็บไซต์พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงของนัก Data Scientist ในเรื่องต่าง ๆ จากคอร์สเรียน BOTNOI Data Science Essential#3 เช่น Data Analytics, Data Scientist, customer segmentation, Context & Personalize Marketing หรือ Fraud investigation
4) ฝึกงานกับองค์กรชั้นนำทางด้านการตลาดดิจิทัล เช่น Digital Tips Academy ที่ได้ร่วมสร้างสรรค์Contentต่างๆ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนต์ (จำกัด) มหาชนและนักเขียนหนังสือ Best Seller เป็นต้น
5) อบรมโครงการการเรียนรู้การเขียนชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์สำหรับการสร้างนวัตกรรมสามมิติจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติสำหรับสะเต็มศึกษา 2564 โดยศูนย์สะเต็มศึกษา
6) ร่วมการแข่งขันกีฬา e-sport ในเกม VALORANT ในงานสานสัมพันธ์พระจอมเกล้าพระนครเหนือFreshy game E-sports
อย่างไรก็ตามเมื่อจบการศึกษาในหลักสูตร I-BIT สามารถเข้าทำงานทางด้านระบบสารสนเทศได้หลากหลาย เช่น นักพัฒนาองค์กรดิจิทัลนักวิเคราะห์ข้อมูลนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลนักวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศนักพัฒนาระบบสารสนเทศผู้ประกอบการด้านคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำหรับการเปิดรับสมัครนักศึกษาจะมีรอบที่ 1 (TCAS#1) ถึงรอบที่ 4 (TCAS#4)โดยติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่เว็บไซต์ มจพ. และสมัครออนไลน์ที่ www.admission.kmutnb.ac.th
สอบถามรายละเอียดได้ที่ งานรับสมัคร กองบริการการศึกษา โทร. 02-555-2000 ต่อ 1626-1628 หรือ Facebook :กลุ่มงานรับเข้าศึกษา มจพ.สอบถามรายละเอียดได้ที่ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หรือที่เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/itkmutnb.bangkok/
ขวัญฤทัย ข่าว