วันนี้ Cytiva ผู้นำด้านชีววิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพชีวิต ได้ประกาศข้อสรุปของการงานสัมมนาอุตสาหกรรมยาชีวเภสัชภัณฑ์ในประเทศไทย โดยมีข้อสรุปในเรื่องฉันทามติของอุตสาหกรรมในการสนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และการพัฒนาการลงทุนในระบบนิเวศน์การวิจัยและพัฒนา เพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 และโมเดลเศรษฐกิจ BCG หรือการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model) งานเสวนาในครั้งนี้ "Ecosystem Partnership to Accelerate the Adoption of Innovations in Life Sciences" ("การสร้างระบบนิเวศผ่านความร่วมมือเพื่อเร่งการสร้างนวัตกรรม และการประยุกต์ใช้ชีววิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต") ประกอบด้วยผู้นำในอุตสาหกรรม เช่น ศ. นายแพทย์ ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา ดร. ศิรศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ดร. นเรศ ดำรงชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เจเนพูติก ไบโอ (Genepeutic Bio) และ อ. นายแพทย์ กรมิษฐ์ ศุภพิพัฒน์ หัวหน้ากลุ่มวิจัยเซลล์บำบัดมะเร็ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้หารือเกี่ยวกับเส้นทางการเติบโตในอนาคตของประเทศไทย และตามด้วยการอภิปรายเกี่ยวกับข้อค้นพบใน Biopharma Resilience Index ที่จัดทำโดย Cytiva
อุตสาหกรรมยาชีวเภสัชภัณฑ์ของประเทศไทยคือเสาหลักของยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ที่มุ่งเปลี่ยนเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม อุตสาหกรรมดังกล่าวมีมูลค่าที่คาดการณ์อยู่ที่ 1.6 ล้านล้านบาท และได้เติบโตเกือบ 5% ในปี 2563 และคาดว่าจะคิดเป็น 24% ของ GDP ทั้งหมดในอีกห้าปีข้างหน้า (2564 - 2569)
การเติบโตนี้อาจส่งเสริมให้เกิดนโยบายที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ ของรัฐบาล และระเบียบที่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นจุดที่ประเทศไทยทำได้ดีในดัชนีนี้
อย่างไรก็ตามการเพิ่มและต่อยอดในการเร่งการเติบโตของอุตสาหกรรม ดัชนีก็ยังพบว่ามีโอกาสในการลงทุนมากขึ้นในการพัฒนาบุคคลที่มีความสามารถ ในการพัฒนาระบบนิเวศน์การวิจัยและการพัฒนาที่สมบูรณ์มากขึ้นและพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น
ศ.นพ. ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สายงานบริหารการวิจัยและพัฒนา ได้เน้นย้ำถึงความท้าทายในปัจจุบัน โดยกล่าวว่า "ประเทศไทยต้องพึ่งพานวัตกรรมนำเข้าอย่างมาก และเราได้เรียนรู้จากการระบาดของ COVID-19 แล้วว่า การลงทุนในการวิจัยและการพัฒนาในประเทศและความสามารถทางนวัตกรรมนั้น จะรับประกันว่าเราจะสามารถจัดหายาราคาไม่แพงให้แก่ประชาชนภายในประเทศได้อย่างต่อเนื่อง"
ดัชนียังเผยให้เห็นอีกว่า ระบบนิเวศน์ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันนั้นจะปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของอุตสาหกรรมโดยการใช้ประโยชน์จากการประสานกำลังจากทุกฝ่าย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการวิจัยและการพัฒนา และเร่งการพัฒนาบุคคลที่มีความสามารถ
อ.นพ. กรมิษฐ์ ศุภพิพัฒน์ หัวหน้ากลุ่มวิจัยเซลล์บำบัดมะเร็ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กล่าวว่า "เป้าหมายของการทำวิจัยภายในมหาวิทยาลัยนั้นนอกจากจะเป็นการพัฒนานวัตกรรมการรักษาแล้วยังมีบทบาทสำคัญสำหรับการเข้าถึงการรักษาขั้นสูงแก่ผู้ป่วยผ่านการวิจัยทางคลินิกและการให้บริการภายในสถาบัน ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะเป็นการพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ในทุกระดับเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูง และ จะนำไปสู่การสร้างร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อผลักดันนวัตกรรมที่มีศักยภาพทางธุรกิจให้เข้าสู่ตลาดได้อย่างยั่งยืน"
ขณะที่ประเทศไทยกำลังมุ่งหน้าเติบโตอย่างยั่งยืน ระบบการทำงานระหว่างภาคเอกชนก็จะต้องแข็งแกร่งด้วย ดร. นเรศ ดำรงชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เจเนพูติก ไบโอ (Genepeutic Bio) บริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แบ่งปันความคิดเห็นว่า วิธีการหนึ่งที่จะทำเช่นนั้นได้ คือการมุ่งพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดย "กุญแจสำคัญในการเติบโตและประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องคือ การพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถทำได้โดยการมุ่งเน้นและลงทุนในการวิจัยและการพัฒนา โดยนอกจากงานวิจัยของบริษัทเอกชนแล้ว ระบบวิจัยที่ดีต้องมีเอกชนเข้ามาสนับสนุนงานวิจัยในระดับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของรัฐ เพื่อร่วมมือกันสร้างนวัตกรรมและบุคคลที่ความสามารถของอุตสาหกรรมในอนาคต"
ดร. ศิรศักดิ์ เทพาคำ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ได้แสดงความคิดเห็นในเชิงเดียวกันว่า "สิ่งสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนางานวิจัยของประเทศไทย คือการ บูรณาการความร่วมมือทั้งทางด้านการสนับสนุนทุนวิจัย การบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ และการเชื่อมโยงงานวิจัยมุ่งเป้าสู่การใช้ประโยชน์ โดยที่เราได้ทดลองบูรณาการความร่วมมือนี้โดยการพัฒนาย่านนวัตกรรมแพทย์โยธี ซึ่งเป็นศูนย์กลางนวัตกรรม รวมถึงงานวิชาการ ซึ่งใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานร่วมกันของฝ่ายต่างๆ ได้ เรามั่นใจว่าต้นแบบนี้จะประสบความสำเร็จ และเกิดการทำซ้ำ และขยายผลในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทย"
คุณ Rajan Sankaran ผู้จัดการทั่วไปของ Cytiva อาเซียน ได้กล่าวว่า "อุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตของประเทศไทย มีศักยภาพในการเติบโตที่สูง เนื่องด้วยการสนับสนุนที่แข็งแกร่งจากรัฐบาล ทั้งนี้ เรามุ่งหวังที่จะสนับสนุนการเติบโตของประเทศไทยในอุตสาหกรรมดัง ผ่านความร่วมมือระหว่างผู้กำหนดนโยบายและภาคเอกชนเพื่อเร่งการวิจัยและการพัฒนาการบำบัดขั้นสูง (advanced therapeutics) และเสริมสร้างความสามารถของประเทศไทย"