นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการพัฒนาชุมชนขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่า พื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก โดยมีนายนิวัติ น้อยผาง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน พัฒนาการจังหวัดและเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน จากจังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว เข้าร่วมการประชุมฯ ณ ห้องประชุมจูปิเตอร์ 16 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
นายสมคิด จันทมฤก กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการพัฒนาชุมชน ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาช้างป่า พื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจในสถานการณ์การดำเนินงานแก้ปัญหาช้างป่า ในพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ร่วมกันกำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อสร้างการรับรู้ การยอมรับผลการดำเนินงานพัฒนาชุมชนตามโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง "คนรักษ์ช้าง" เพื่อสนับสนุนโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ และร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ที่สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน
นายสมคิด จันทมฤก กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมการพัฒนาชุมชนได้มีแผนปฏิบัติการ 3 ปี เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ และการติดตามผลการดำเนินงานในการสร้างความสมดุลระหว่างคนและช้างป่า ภายใต้โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ ด้านที่ 3 การจัดการพื้นที่ชุมชน ในประเด็น 1. การสร้างความรู้ความเข้าใจประชาชนให้อยู่ในพื้นที่เดิมได้อย่างมีความสุข 2. การพัฒนาอาชีพประชาชนให้มีประสิทธิผล 3. การเฝ้าระวัง ป้องกันและเตือนภัยช้างป่าให้กับชุมชน 4. สร้างระบบการเยียวยาให้กับผู้ได้รับผลกระทบ
ทั้งนี้ สิ่งที่น่าจะพัฒนาศักยภาพของชุมชน เพื่อให้ประชาชน คลายความกังวล รวมทั้งมีรายได้จากการผสานทุนชุมชน ในการประกอบอาชีพทั้งอาชีพเดิมและอาชีพเสริม เพื่อการอยู่ในพื้นที่ชุมชนถึงแม้ว่าจะมีการรบกวนจากช้างป่า ในด้านการเสริมสร้างศักยภาพประชาชน อาทิ การเสริมสร้างและปรับเปลี่ยน ให้มีทัศนคติต่อสถานการณ์ ให้พร้อมเผชิญเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละครอบครัวต้องประสบ ทัศนคติในการประกอบอาชีพให้ยืดหยุ่น พร้อมปรับเปลี่ยนวิถีการประกอบอาชีพ การเสริมสร้างความรู้และทักษะ วิธีการผลิต การเพิ่มมูลค่า การบริหารจัดการที่สามารถสร้างรายได้สูงขึ้น อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การส่งเสริมการเรียนรู้วิธีการเผชิญเหตุจากช้างป่า การป้องกันช้างบุรุกเข้าในพื้นที่ชุมชน พัฒนาทักษะการผลักดันฝูงช้างออกนอกพื้นที่ ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจธรรมชาติ ลักษณะนิสัย พฤติกรรมของช้าง รวมทั้งเส้นทางการหากิน อาหารที่ชอบ พืชที่ไม่ชอบและรบกวน ป้องกันช้าง หรือสามารถใช้เป็นแนวรั้วธรรมชาติป้องกันช้างได้ เพิ่มพูนทักษะของประชาชน อาสาสมัคร ในการเฝ้าระวัง ผลักดันช้าง สนับสนุนระบบเทคโนโลยีเฝ้าระวัง แจ้งเหตุ เตือนภัย เมื่อพบช้างก่อนจะเดินเข้าหมู่บ้าน
ด้านการพัฒนาอาชีพ เช่น เสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานการผลิต เช่น แหล่งน้ำ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ไฟฟ้า ระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพ พัฒนาความรู้และทักษะการประกอบอาชีพทีมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลสูงสุด ส่งเสริมกลุ่มอาชีพ การบริหารจัดการกลุ่มอาชีพ การนำวัฒนธรรม ทุนชุมชนมาปรับปรุง และผสานกระบวนการผลิตให้เป็นสินค้าและบริหารที่มีมูลค่า และมีรายได้ เสริมสร้างความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายด้วยการสนับสนุนทักษะ แลกเปลี่ยนแบ่งปัน ทรัพยากร ในการพัฒนาอาชีพ และการเฝ้าระวังป้องกันช้าง
ด้านการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ แก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจาก 5 จังหวัด และผู้นำชุมชน 183 หมู่บ้าน รวมจำนวน 420 คน เพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทาง วิธีทำงานและการสนับสนุนจากกรมการพัฒนาชุมชน การจัดทำแผนปฏิบัติการในการพัฒนาหมู่บ้านและสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ในการร่วมมือแก้ปัญหา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมของช้าง แนวทางการการพัฒนาหมู่บ้านแผนการเฝ้าระวัง แผนการพัฒนาอาชีพประชาชน แผนการจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมีการจัดการความรู้ จัดทำเป็นเอกสารเรื่องเล่าชาวคชานุรักษ์ ฉบับการ์ตูน ที่จัดการความรู้
จากประสบการณ์ของประชาชน ผู้นำชุมชนในหมู่บ้านที่เผชิญเหตุ พิมพ์แจกจ่ายให้
ทั้ง 5 จังหวัด ใช้เผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน การจัดทำระบบภูมิสารสนเทศ (graphic information system : (GIS) เพื่อกำหนดจุดเป้าหมายและศักยภาพของแต่ละหมู่บ้าน รวมทั้งรายงานความก้าวหน้าและผลผลิต สินค้าที่สำคัญของหมู่บ้าน ซึ่งอาจระบุตำแหน่ง เส้นทางเดินของช้างลงเป็นข้อมูลในระบบเพื่อใช้วิเคราะห์แนวโน้มในการจัดทำแผนการเฝ้าระวังล่วงหน้าได้
ด้านการพัฒนาอาชีพและรายได้ โดยการสนับสนุนงบประมาณในการส่งเสริมอาชีพผ่านโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง "คนรักษ์ช้าง" จำนวน 235 หมู่บ้าน ๆ ละ 108,000 บาท หมู่บ้านเครือข่ายคชานุรักษ์ 23 หมู่บ้านๆ ละ 180,000 บาท เพื่อพัฒนาอาชีพ แปรรูปผลิตภัณฑ์ สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ของของหมู่บ้านให้มีมาตรฐาน คุณภาพสินค้า สามารถจัดจำหน่ายแข่งขันในตลาดได้ทั้ง offline และ online จำนวน 45 ตำบล ๆ ละ 391,100 บาท จัดโครงการนำพัฒนาการจังหวัด และผู้นำหมู่บ้านเครือข่ายคชานุรักษ์ ทัศนศึกษาดูงานการปลูกพืชสมุนไพร ณ โรงพยาบาลอภัยภูเบศ จังหวัดปราจีนบุรี จัดฝึกอบรมการจัดหมู่บ้านท่องเที่ยว ร่วมกับ Local Alike ให้ความรู้กรรมการหมู่บ้าน
จัดนำนักท่องเที่ยวเข้าท่องเที่ยวในหมู่บ้าน คลองตาอิน อำเภอคิชฌกูฏจังหวัดจันทรบุรี ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในหมู่บ้านคชานุรักษ์ 5 จังหวัด 20 ผลิตภัณฑ์ การสนับสนุนโครงการแปรรูปข่า อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี งบประมาณ 611,000 บาทกลุ่มเลี้ยงผึ้ง อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา งบประมาณ 493,180 บาท การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ ในหมู่บ้านคชานุรักษ์ ผ่านช่องทางสื่อสารมวลชนต่าง ๆ ประสานงานกับคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อร่วมกันให้ความรู้ในการเตรียมการ จัดระบบการผลิตให้ได้มาตรฐานและได้รับการรับรอง สำหรับผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร
ด้านการส่งเสริมอาสาสมัครและระบบเฝ้าระวัง มีการสนับสนุนการพัฒนาอาสาสมัครเฝ้าระวังผลักดันช้างของหมู่บ้าน พัฒนาระบบเครือข่ายอาสาสมัครผลักดันช้าง ติดตั้งระบบเทคโนโลยีเฝ้าระวังช้างผ่านกล้องและส่งสัญญาณให้ศูนย์เฝ้าระวังแจ้งเตือนให้ชุดเฝ้าระวังรู้ตัวล่วงหน้า (กรมอุทยานฯ และ สสน. ร่วมกับ true ร่วมกันดำเนินการ) ด้านการพัฒนากองทุนสวัสดิการ มอบหมายให้จังหวัดดำเนินการ เพิ่มสมาชิก เพิ่มทุนในกองงทุนคชานุรักษ์ หรือการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หรือพัฒนากองงทุนกลุ่มอาชีพ หรือกองทุนรูปแบบอื่น ๆ เพื่อใช้ดอกผลสำหรับการดูและ ช่วยเหลือเยียวยาประชาชน