"ผื่นลมพิษ" โรคกวนใจของใครหลายคน
"ลมพิษ" เป็นอีกหนึ่งโรคที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก เพราะสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาแม้จะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงมากนัก แต่ก็สร้างความรำคาญใจให้กับผู้ป่วยได้ไม่น้อยเลย ทั้งในด้านบุคลิกภาพ ความสวยงาม การทำงาน รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน
ลมพิษเป็นโรคที่ทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นได้ เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อตัวกระตุ้น ทำให้ผิวหนังเกิดเป็นผื่นหรือปื้นนูนแดง ไม่มีขุย มีขนาดตั้งแต่ 0.5-10 ซม.กระจายตามร่างกายอย่างรวดเร็ว มีอาการคันบริเวณที่มีผื่นขึ้น โดยทั่วไปผื่นจะอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง แล้วผื่นนั้นก็จะราบไปโดยไม่ทิ้งร่องรอยใดๆ แต่ก็สามารถมีผื่นใหม่ขึ้นที่อื่นๆ ได้บางคนอาจริมฝีปากบวม ตาบวม หรือถ้าเป็นรุนแรงมากอาจมีอาการปวดท้อง แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก หอบหืด เป็นลมจากความดันโลหิตต่ำได้
ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าตัวเองนั้นแพ้อะไร อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในปัจจุบัน ก็อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคลมพิษได้เช่นกันโรคนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
ลมพิษเรื้อรัง อาจเป็นการแสดงของความผิดปกติหรือโรคที่แอบซ่อนอยู่ได้ เช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ โรคภูมิแพ้ การติดเชื้อแอบแฝงต่างๆ แพทย์อาจทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อค้นหาสาเหตุให้กับผู้ป่วย หากว่าตรวจหาโรคสำคัญที่อาจเป็นสาเหตุออกไปแล้ว ก็จะเข้ากลุ่มโรคลมพิษเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยควรช่วยสังเกต สิ่งกระตุ้นต่างๆ ที่ทำให้ลมพิษกำเริบ เช่น อุณหภูมิของอากาศ ความชื้น การเสียดสี แรงกดทับ อาหาร ยา อารมณ์เช่นความเครียด เวลาที่ลมพิษชอบขึ้นบ่อยๆ จะช่วยให้แพทย์ประเมินความรุนแรง และให้การรักษารวมถึงจัดยาให้ตรงกับช่วงเวลาที่ลมพิษจะกำเริบได้ดีขึ้น
** สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคลมพิษเฉียบพลัน ที่มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือมีภาวะความดันโลหิตต่ำ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วเพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ส่วนการรักษานั้นจำเป็นต้องหาสาเหตุที่ทำให้เกิดลมพิษ เพื่อจะได้หลีกเลี่ยง ร่วมกับการกินยาหรือฉีดยา ซึ่งแพทย์จะพิจารณารักษาตามอาการของผู้ป่วยแต่ละรายไป รวมถึงการปฏิบัติตัวเพื่อบรรเทาอาการด้วยการไม่แกะเกาผิวหนัง และทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดแต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเรื้อรังต่อเนื่องหลายปี ดังนั้นการรักษาภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย จะช่วยให้ควบคุมอาการของโรคได้ดีขึ้น และทำให้คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยดีขึ้นด้วย