PwC รุกงานธุรกิจที่ปรึกษาในตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชี้ตลาดไทยมีศักยภาพในการเติบโตสูง

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 14, 2022 13:17 —ThaiPR.net

PwC รุกงานธุรกิจที่ปรึกษาในตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชี้ตลาดไทยมีศักยภาพในการเติบโตสูง

สายงานธุรกิจที่ปรึกษาของ PwC ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เตรียมรุกบริการธุรกิจที่ปรึกษาแบบครบวงจรแก่ลูกค้าในภูมิภาค หลังมองเห็นศักยภาพในการเติบโตของตลาดไทยที่อยู่ในระดับสูง

นาย ไซมอน เกลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PwC South East Asia Consulting เปิดเผยว่า การส่งมอบบริการที่ปรึกษาแบบครบวงจร ถือเป็นกลยุทธ์หลักที่สำคัญสำหรับงานที่ปรึกษาของ PwC ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยจะมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือลูกค้าให้บรรลุเป้าหมายการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนในปีนี้

"สิ่งที่เราต้องการส่งมอบออกสู่ตลาดคือ การให้บริการธุรกิจที่ปรึกษาแบบครบวงจร ตั้งแต่การวางแผนกลยุทธ์ไปจนถึงการปฏิบัติ" นาย เกลี กล่าว

"ด้วยการทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมงานในสายงานอื่น ๆ ทั้งสายงานตรวจสอบบัญชี ภาษี และดีลส์ จะช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่ธุรกิจและลูกค้าของพวกเขาต้องการได้" เขา กล่าว

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นาย เกลี ได้ย้ายจากประเทศสิงคโปร์มาประจำการ ณ ประเทศไทย เป็นระยะเวลาสามปี เพื่อขยายสายงานที่ปรึกษาของ PwC ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เติบโต โดยนาย เกลี จะทำงานกับหัวหน้าสายงานอื่น ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อส่งมอบผลลัพธ์แบบครบวงจรให้แก่ลูกค้าที่ดำเนินกิจการในตลาดไท

"ประเทศไทยมีศักยภาพเติบโตที่โดดเด่น" นาย เกลี กล่าว "การที่ผมตัดสินใจย้ายสำนักงานใหญ่ของเรามาที่กรุงเทพฯ เพราะเห็นถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นและสายงานธุรกิจที่ปรึกษาในประเทศไทยเองก็เป็นที่ยอมรับใน PwC"

สำหรับการขยายธุรกิจ นาย เกลี กล่าวว่า ตนมีแผนที่จะนำนวัตกรรมและแพลตฟอร์มที่ตรงกลุ่มเป้าหมายออกสู่ตลาดมากขึ้น เพื่อช่วยเสริมงานที่ปรึกษาทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

"เราให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลขององค์กรและความยั่งยืน ซึ่งปัจจัยทั้งคู่ถือเป็นส่วนหนึ่งของสมการที่ไม่แยกจากกัน นั่นหมายความว่า ที่ปรึกษาของเราทุกคนจะต้องคำนึงถึงเรื่องดังกล่าวทุกครั้งที่ทำการให้คำปรึกษาแก่ลูกค้า" นาย เกลี กล่าว

"เราจะต้องยกระดับทักษะทางด้านดิจิทัลให้แก่บุคลากรในสายงานที่ปรึกษาของเราทั้งหมด เพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าสู่ตลาดบริการด้านเทคโนโลยีและทำงานร่วมกับพันธมิตรของเรา เพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุผลลัพธ์แบบครบวงจร นี่คือความปรารถนาของผมที่จะขยายสายงานที่ปรึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" เขา กล่าว

ทั้งนี้ สายงานธุรกิจที่ปรึกษาของ PwC มุ่งเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการของลูกค้า การสร้างความไว้วางใจ และการแก้ไขปัญหา ซึ่งโฟกัสทั้งหมดที่กล่าวมา จะถูกเสริมให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นกว่าเดิมหลังจากการย้ายมาประจำการ ณ ประเทศไทยของนาย เกลี

ทั้งนี้ นาย เกลี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหุ้นส่วนของ PwC ในปี 2542 และดำรงตำแหน่งผู้นำองค์กรที่สำคัญอื่น ๆ หลายตำแหน่งทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา และเอเชีย ซึ่งรวมถึงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มธุรกิจบริการทางการเงิน ณ PwC ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงระหว่างปี 2557 ถึง 2562 ด้วย ในปัจจุบัน นาย เกลี เป็นผู้บริหารนำทีมงานธุรกิจที่ปรึกษามากกว่า 1,000 คนใน 6 ประเทศ ประกอบด้วย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย

"ผมคิดว่า ความพิเศษขององค์กรอย่าง PwC คือการผสมผสานบุคลากรท้องถิ่นที่ดีที่สุดและเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเข้าด้วยกัน" นาย เกลี กล่าว   

"ผมรู้สึกตื่นเต้นที่เรามีการผสมผสานที่ว่านี้ในไทยด้วย โดยคุณวิไลพร ทวีลาภพันทอง หัวหน้าสายงานที่ปรึกษา ประจำประเทศไทย และผมจะทำงานร่วมกันในการขยายสายงานธุรกิจที่ปรึกษาให้เติบโต" เขา กล่าว

ช่วงเวลาของความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า

นาย เกลี กล่าวว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทย และยังบังคับให้ภาคธุรกิจต้องต่อสู้กับความท้าทายของการดำเนินธุรกิจในช่วงวิกฤต ตั้งแต่การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ไปจนถึงการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความท้าทายที่ธุรกิจต้องเร่งจัดการทันที

"เรากำลังเผชิญกับปัจจัยหลายอย่างที่กลายเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ เช่น การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน เราทราบว่า ปัญหาการขาดแคลนซิลิคอน ส่งผลให้การผลิตรถยนต์ในปี 2564 น้อยกว่าที่คาดที่ราวกว่า 11 ล้านคัน" นาย เกลี กล่าว

อีกหนึ่งผลกระทบจากการหยุดชะงัก คือปรากฏการณ์การลาออกจากงานอย่างยิ่งใหญ่ (The Great Resignation) หรือการที่พนักงานจำนวนมากออกจากงานด้วยความสมัครใจ ซึ่งปัญหานี้ส่งผลให้ธุรกิจตกอยู่ภายใต้แรงกดดันในการต้องรักษาบุคลากรที่มีความสามารถสูงให้อยู่กับองค์กร นอกจากนี้ ภาวะเงินเฟ้อ ยังเป็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับธุรกิจด้วย

"เราไม่ได้เห็นการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมาหลายปีแล้ว ในขณะที่ก็ไม่เคยเห็นอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เป็นอยู่ตอนนี้ ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจและกระแสการค้า" นาย เกลี กล่าว

ปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจมีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวและนำโซลูชันแบบครบวงจรมาแก้ปัญหาความท้าทายที่กล่าวมากรณีการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลขององค์กร นาย เกลี ยกตัวอย่างว่า ลูกค้าจำเป็นที่จะต้องมีกลยุทธ์ที่ผสมผสานทั้งวัฒนธรรมขององค์กร กำลังแรงงาน และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ซึ่งยังรวมถึงการปรับกระบวนการทำงานที่จำเป็น เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลด้วย

"มันไม่มีประโยชน์ที่จะเปลี่ยนกระบวนการสู่ดิจิทัล หากธุรกิจจะต้องออกแบบทุกอย่างใหม่หมด ดังนั้นคุณควรที่จะต้องทำสิ่งนั้นก่อนที่จะฝังกระบวนการดิจิทัลใหม่เข้าไป ซึ่งเราต้องการช่วยให้ลูกค้าได้รับผลลัพธ์ที่ใช่ และนั่นต้องอาศัยความแข็งแกร่งของเครือข่าย PwC"

"เราอยู่ที่นี่เพื่อคอยให้ความช่วยเหลือ โดยเราเข้าใจดีถึงความท้าทายและแรงกดดันที่ลูกค้าต้องเผชิญ ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นเช่นไร ถือเป็นสิ่งที่ธุรกิจของพวกเขาต้องการ เรามีความมุ่งมั่นที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาสำคัญ เพราะนั่นคือหัวใจของธุรกิจของเรา - การแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ให้กับลูกค้าของเรา" นาย เกลี กล่าว


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ