คุณแม่มือใหม่รับมืออย่างไร หากเกิดภาวะ "ซึมเศร้าหลังคลอดบุตร"

ข่าวทั่วไป Tuesday February 15, 2022 11:23 —ThaiPR.net

คุณแม่มือใหม่รับมืออย่างไร หากเกิดภาวะ

การเป็นคุณแม่มือใหม่ แม้จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก แต่พบว่าหลายครั้งที่คุณแม่มือใหม่ต้องทนทุกข์ทรมาณกับ "ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตร" บางครั้งอาจรุนแรงจนถึงขั้นคิดทำร้ายตัวเองและลูกน้อย โดยองค์การอนามัยโลกพบว่า มีคุณแม่ถึง 20% ประสบปัญหานี้ ซึ่งตัวเลขที่แท้จริงอาจมากกว่านี้ก็เป็นได้ เนื่องด้วยคุณแม่มือใหม่หลายๆ ราย มิได้เข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

แพทย์จีนเชน ปรีชาวณิชวงศ์ แพทย์แผนจีนประจำหยินหยางคลินิก เปิดเผยว่า "การคลอดบุตรนั้นมีแนวโน้มจะทำให้คุณแม่เสีย "เลือด" มาก และอาจเกิด "เลือดคั่ง" ขึ้นในร่างกาย ซึ่ง "เลือด" ในทางแพทย์จีนไม่ได้หมายถึง เสียเลือดจริงๆ จนต้องให้เลือดเสริม แต่เรามองว่าเป็นการสูญเสีย "พลังงาน" ประเภทหนึ่งในร่างกายไป ยิ่งถ้าเป็นการผ่าคลอด ร่างกายจะยิ่งสูญเสียและบอบช้ำมาก สาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรในทางแพทย์แผนจีนสามารถจำแนกออกมาเป็น 3 ประการดังนี้

  • เลือดหล่อเลี้ยงหัวใจน้อยลง "หัวใจ" ในทางการแพทย์แผนจีน มิใช่เพียงอวัยวะที่ทำหน้าที่ไหลเวียนเลือดอย่างเดียว แต่ยังควบคุมความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ด้วย เมื่อเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจน้อยลง จิตใจจะกระวนกระวาย อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ ฝันบ่อย ขี้หลงขี้ลม อ่อนเพลีย ใบหน้าซีดเซียว ยิ่งถ้าก่อนมีบุตรตัวคุณแม่เป็นคนที่เจ็บป่วยง่ายเป็นทุนเดิม อาการจะยิ่งเห็นได้ชัด
  • เลือดคั่งอุดกั้น เนื่องจากตอนคลอดบุตรไม่ว่าจะผ่าคลอดหรือคลอดธรรมชาติล้วนทำให้คุณแม่สูญเสียพลังงานไป ทำให้การไหลเวียนเลือดช้าลง หรืออาจเกิดการช้ำในจากตอนทำคลอด จนทำให้เลือดคั่งอุดกั้นขึ้น ส่งผลให้เลือดไปหล่อเลี้ยง "หัวใจ" ไม่เพียงพอ จะมีอาการแสดงออกคล้ายแบบแรก และมีอาการเลือดคั่งเพิ่มเติมขึ้นมา เช่น น้ำคาวปลาออกนาน สีคล้ำ มีลิ่มเลือดเยอะ ใบหน้าหมองคล้ำต่างๆ
  • ลมปราณตับติดขัด เดิมทีคุณแม่อาจเป็นคนคิดมาก อารมณ์อ่อนไหว เครียดง่าย ยิ่งพอตอนคลอดบุตรเสียเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจ ยิ่งทำให้สภาพร่างกายแย่ลง คุณแม่จะฉุนเฉียว ซึมเศร้า ขี้ตกใจ ฝันร้าย ลมปราณติดขัดทำให้แน่นหน้าอก ท้องอืด ลมในท้องเยอะ เมื่อได้เรอหรือถอนหายใจ ลมปราณไหลเวียนสะดวกขึ้นจะรู้สึกดีขึ้นเล็กน้อย
  • ทั้ง 3 สาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรนั้น ล้วนมีความเชื่อมโยงกัน ส่งผลกระทบต่อกันได้ ดังนั้น การรักษาในทางการแพทย์แผนจีนจึงต้องดูแลในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงเลือด การไหลเวียนเลือดและลมปราณ หลังจากที่แพทย์แผนจีนตรวจหาสาเหตุพบแล้ว จะใช้ยาสมุนไพรจีนและการฝังเข็มเพื่อปรับสมดุลให้กับร่างกายและจิตใจ รวมถึงการให้คำปรึกษาหาทางออกทางอารมณ์ต่างๆ ควบคู่ไปด้วย

    นอกจากภาวะซึมเศร้าแล้ว แพทย์แผนจีนยังสามารถช่วยดูแลอาการอื่นๆ หลังคลอดบุตรได้ เช่น การเพิ่มปริมาณน้ำนม น้ำคาวปลาไม่หยุด การปวดตามข้อต่างๆ ของร่างกาย อาการกลัวหนาวกลัวร้อนผิดปกติ ซึ่งเมื่อสุขภาพกายคุณแม่ดีและรู้สึกสบายตัวแล้ว อารมณ์ก็จะผ่อนคลายขึ้น คุณแม่ก็จะสามารถกลับมามีสุขภาพจิตที่ดีได้อย่างปกติสุข

    ทั้งนี้ อยากแนะนำให้คุณแม่หลังคลอดบุตร ควรหาเวลาให้กับตนเองและควรมีคนใกล้ชิดคอยพูดคุยและรับฟังปัญหาต่างๆ หากพบว่าภาวะซึมเศร้านี้ไม่ทุเลา ควรรีบปรึกษาแพทย์อย่างทันท่วงทีครับ"

    สำหรับผู้ที่สนใจสามารถปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 094-794-6006 หรือเข้าเยี่ยมชม Facebook ได้ที่ https://www.facebook.com/chenyinyangclinic ที่ตั้งคลินิก หยินหยางคลินิก 999/1-2 ถนนรัชดา-รามอินทรา แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230


    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ