คุณนันท์มนัส เปี่ยมทิพย์มนัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวมากที่สุดในโลก และแนวโน้มเศรษฐกิจยังสามารถเติบโตได้อีกมาก โดยรัฐบาลตั้งเป้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณ 7% ต่อปี ระหว่างปี 2021-2025 ผ่านการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจดิจิตอล และตั้งเป้าก้าวขึ้นเป็นประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 2045 บลจ.ไทยพาณิชย์ เล็งเห็นโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในตลาดหุ้นเวียดนาม จึงได้ออกกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นเวียดนาม (SCBVIET) และ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นเวียดนาม เพื่อการเลี้ยงชีพ (SCBRMVIET) เริ่มเสนอขายครั้งแรก วันที่ 1-7 มีนาคม 2565 นี้ ลงทุนขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท เป็นทางเลือกให้นักลงทุน โดยสามารถเลือกลงทุนได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งกองทุนรวมปกติ SCBVIET ที่มีให้เลือกลงทุนทั้ง ชนิดสะสมมูลค่า - SCBVIET(A), ชนิดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ - SCBVIET(E) และชนิดเพื่อการออม - SCBVIET(SSF) สำหรับการลงทุนเพื่อการลดหย่อนภาษี รวมถึงกองทุน SCBRMVIET ที่เป็นกองทุน RMF สำหรับการลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้จัดโปรโมชั่นพิเศษสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นเวียดนาม เพื่อการเลี้ยงชีพ (SCBRMVIET) ในช่วง IPO จะได้รับ Fund Back มูลค่าสูงสุด 1,000 บาท (ตามเงื่อนไขที่กำหนด) โดยมอบเป็นหน่วยลงทุนกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ระยะสั้น (SCBSFF) ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารธนาคารพาณิชย์ และหุ้นกู้ โดยสามารถลงทุนได้ในทุกช่องทาง และผ่านผู้สนับสนุนการขายทุกราย
จุดเด่นของกองทุน SCBVIET และ SCBRMVIET คือ นโยบายการลงทุนแบบ Active เฟ้นหาโอกาสทำกำไรในทุกสภาวะตลาด ผ่านการบริหารพอร์ตแบบยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนพอร์ตให้เหมาะกับมุมมองการลงทุนและสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา ผ่านทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย ทั้ง ETF, กองทุนต่างประเทศ และหุ้นรายตัว ตัวอย่างการลงทุนในเบื้องต้น ได้แก่ 1) ETF เช่น Diamond ETF, VN30 ETF, Vietnam Leading Financial ETF 2) กองทุนต่างประเทศ เช่น Dragon Capital Vietnam Equity Fund และ 3) หุ้นเวียดนามรายตัว ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเชิงลึก เพื่อเฟ้นหาธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ รวมทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนด้วยการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ให้พอร์ตมีสภาพคล่องเพียงพอ เนื่องจากตลาดเวียดนามเป็น Frontier Market ที่ยังคงมีความเสี่ยงด้านสภาพคล่องสูง
"สำหรับตลาดเวียดนาม หัวใจสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาจากภาคอุตสาหกรรม ที่ได้รับผลพวงจากเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ และเทคโนโลยีด้านผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยคาดว่าการลงทุนตรงจากต่างชาติจะเข้ามาในภาคการผลิตอย่างต่อเนื่อง และเป็นสัดส่วนมากกว่า 5% ของ GDP ในขณะที่สัดส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมก็เติบโตขึ้นเช่นกัน จาก 40% ในปี 2000 เป็น 86% ในปี 2020 เนื่องจากเป็นประเทศที่เน้นการส่งออก ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการกู้เงินจากต่างชาติ ทำให้สถานะทางการคลังแข็งแรง อีกทั้งแนวโน้มปริมาณแรงงานในประเทศที่เติบโตดีต่อเนื่องจนถึงปี 2040 ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ และจะส่งผลให้เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการขยายตัวของเมืองเติบโตมากขึ้นในอนาคต" คุณนันท์มนัสกล่าว
กองทุน SCBVIET มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศเวียดนาม บริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องหรือทรัพย์สินส่วนใหญ่ที่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม ตราสารทุนของผู้ประกอบการเวียดนามที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอื่น หน่วย CIS กองทุน ETF ที่เน้นลงทุนในตราสารทุนประเทศเวียดนาม รวมถึงหน่วย property หน่วย infra (ไม่เกิน 20% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิกองทุน) ที่เกี่ยวข้องกับประเทศเวียดนาม โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ทั้งนี้ กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) ในสกุลเงินต่างประเทศที่กองทุนถืออยู่เทียบกับสกุลเงินบาท ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุนในต่างประเทศ
สำหรับ SCBRMVIET มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วย CIS เพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นเวียดนาม (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการ ที่ SCBAM Client Relations โทร.02-777-7777 กด 0 กด 6 หรือผู้สนับสนุนการขายทุกราย หรือ https://scbam.info/3shr2au สนใจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชัน SCBAM Fund Click ได้ที่ https://scbam.info/3dEjSFD
ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน