"น้ำมัน" ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต ถึงแม้ว่าจะมีพลังงานทางเลือก เช่น พลังงานไฟฟ้าที่กำลังจะเข้ามาแทนที่ในอีกไม่ช้า หรือพลังงานธรรมชาติต่าง ๆ แต่น้ำมันก็ยังเป็นสิ่งที่เรายังต้องการอยู่ดี แม้ในประเทศไทยมีการพบแหล่งน้ำมันหลายจุด แต่ก็ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จึงเป็นที่สงสัยของหลายคนว่าทำไมน้ำมันแพงเมื่อติดตามข่าวน้ำมันที่พุ่งขึ้น พี่วาฬขอรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับราคาน้ำมัน สาเหตุน้ำมันแพง และ ราคาน้ำมันตลาดโลกลดลง แล้วของไทยไม่ลดลงสักที
ทำไมในประเทศไทยถึง "น้ำมันแพง"?
ราคาน้ำมันของแต่ละประเทศ มีการกำหนดโครงสร้างราคามาจากนโยบายของภาครัฐนั้น ๆ ในประเทศไทยเองก็มีโครงสร้างราคาน้ำมันไทยแบ่งออกเป็น
- ต้นทุนเนื้อน้ำมันประมาณ 37%
- ภาษี+กองทุนต่าง ๆ 51%
- ค่าการตลาดต่างๆอีก 12%
องค์ประกอบของราคาน้ำมันหน้าสถานีบริการน้ำมันในไทยประกอบไปด้วยต้นทุน 8 ส่วน
ราคาขายปลีกหน้าโรงกลั่น + เงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมัน + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเทศบาล + ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) + เงินเข้ากองทุนอนุรักษ์พลังงาน + ค่าการตลาด + VAT ของค่าการตลาด = ราคาน้ำมันขายปลีก (ราคาหน้าปั๊ม)
สาเหตุเหล่านี้จึงเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้น้ำมันแพง เนื่องจากโครงสร้างราคาน้ำมันไทยไม่เหมือนกับประเทศอื่น ๆ หรือที่อื่น ดังนั้น หากเกิดการเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ก็ต้องดูนโยบายของประเทศนั้น ๆ กันต่อไป
ทำไมราคาน้ำมันประเทศไทยต้องเปรียบเทียบกับราคาน้ำมันที่สิงคโปร์
เพราะสาเหตุที่ทำให้น้ำมันไทยต้องเปรียบเทียบกับราคาประเทศข้างเคียงอย่างสิงคโปร์เป็นเพราะน้ำมันจัดว่าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคชนิดหนึ่ง (Commodities) ซึ่งมีการแข่งขันสูง การเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมัน หรือนโยบายการผลิตและการขายของผู้ค้าน้ำมันรายหนึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดน้ำมัน ทำให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปรับราคาให้สามารถแข่งขันกันได้ การตั้งราคาน้ำมันให้เหมาะสมเพื่อใช้อ้างอิง จึงจำเป็นที่จะต้อง
การกำหนดมาจากความสามารถในการผลิตและความต้องการของตลาด ภายใต้กลไกระบบการค้าเสรีของกลุ่มตลาดซื้อขายน้ำมันที่อยู่ใกล้เคียงกัน คล้ายคลึงกับสินค้าทางการเกษตร อย่างเช่น ราคาผลไม้ซึ่งอ้างอิงราคาที่ตลาดไทหรือราคาข้าวซึ่งอ้างอิงราคากับท่าข้าวกำนันทรง เป็นต้น
ซึ่งศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันของโลกกระจายอยู่ใน 3 ภูมิภาค คือ อเมริกา ยุโรป และเอเชีย โดยที่ตลาดกลางการซื้อขายน้ำมันของภูมิภาคเอเชียตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นประเทศส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งคำว่า "ราคาน้ำมันสิงคโปร์" นั้นไม่ใช่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ประกาศโดยรัฐบาลหรือโรงกลั่นของประเทศสิงคโปร์ แต่เป็นราคาซื้อขายน้ำมันระหว่างผู้ค้าน้ำมันในภูมิภาคเอเชียที่ตกลงกันผ่านตลาดกลางฯ ที่ประเทศสิงคโปร์ และเพราะประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใกล้กับประเทศสิงคโปร์ ทำให้ประเทศไทยอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปจากตลาดกลางฯ ในประเทศสิงคโปร์ เพื่อให้สอดคล้องกับระดับราคาที่สมดุลกับกลไกระบบการค้าเสรีของตลาดในภูมิภาคนี้ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของราคาจำเป็นจะต้องสอดคล้องอย่างเป็นสากลกับตลาดซื้อขายน้ำมันอื่น ๆ ทั่วโลก
ราคาน้ำมันตลาดโลกมีผลอย่างกับราคาน้ำมันในไทย
เพราะอย่างแรกเลยต้องทำความเข้าใจก่อนว่าน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปนั่นมีอุปสงค์และอุปทานคนละกลุ่มจึงอยู่คนละตลาดกัน ดังนั้นเมื่อข่าวน้ำมันบอกว่าราคาน้ำมันดิบของโลกลดลง อาจไม่ส่งผลกับราคาน้ำมันสำเร็จรูปของราคาน้ำมันไทยอย่างชัดเจน แม้การเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันดิบกับราคาน้ำมันสำเร็จรูปมักจะมีทิศทางเดียวกัน แต่จะไม่เปลี่ยนแปลงเป็นสัดส่วนที่เท่ากันพอดี ทำให้ค่าการกลั่นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แล้วแต่สภาพตลาดน้ำมันในขณะนั้น เป็นความเสี่ยงที่โรงกลั่นน้ำมันต้องรับไป เช่นกันหากสาเหตุที่ราคาน้ำมันตลาดโลกลดลง แล้วของไทยน้ำมันแพงอยู่มาจากปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันหน้าสถานีบริการน้ำมันในประเทศไทย ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมันสำเร็จรูปของตลาดโลก ค่าพรีเมียมและปรับคุณภาพน้ำมัน ราคาไบโอดีเซล ราคาเอทานอล ภาษีฯ กองทุนน้ำมันฯ และค่าการตลาดจากที่กล่าวไปข้างต้น
ฉะนั้นพี่วาฬขอสรุปว่า เวลาดูข่าวน้ำมันแล้วเห็นว่า ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ออกข่าวว่ามีการปรับราคาน้ำมันดิบ ส่วนที่มีคนเข้าใจกันว่าไทยนำเข้าน้ำมันมาแล้วทำไมน้ำมันแพงหรือทำไมราคาน้ำมันไทยทำไมไม่ลดลงตาม นั้นก็เป็นเพราะว่าไทยนำเข้าน้ำมันดิบในช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะราคาตลาดโลกจะปรับลด น้ำมันดิบเหล่านั้นจะต้องผ่านกระบวนการกลั่น การขนส่งต่าง ๆ มากมายและออกมาเป็นน้ำมันสำเร็จรูปหรือราคาน้ำมันหน้าสถานีบริการน้ำมัน กระบวนที่กล่าวไปจะใช้ระยะเวลาประมาณหนึ่ง ในขณะที่ข่าวน้ำมันออกว่าราคาน้ำมันดิบลดลง แต่ต้นทุนของน้ำมันสำเร็จรูปไม่ได้ลดตาม ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในไทยไม่สามารถปรับลงลดทันทีเหมือนกับราคาน้ำมันดิบของตลาดโลกนั่นเอง
Address: Bangkok, Thailand
Website: https://www.whaleenergystation.com/
Facebook: https://www.facebook.com/whaleenergystation/