โคคา-โคล่า และ The Ocean Cleanup จับมือกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ?จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอีโคมารีน จัดการแก้ปัญหามลพิษพลาสติกในแม่น้ำเจ้าพระยา?

ข่าวทั่วไป Friday April 1, 2022 15:35 —ThaiPR.net

โคคา-โคล่า และ The Ocean Cleanup จับมือกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ?จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอีโคมารีน จัดการแก้ปัญหามลพิษพลาสติกในแม่น้ำเจ้าพระยา?

โคคา-โคล่า และ The Ocean Cleanup กำหนดให้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหนึ่งใน 15 แม่น้ำสายสำคัญจากทั่วโลก ที่ทั้งสององค์กรจะร่วมมือกันในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อทำความสะอาดและลดปัญหามลพิษจากขยะ ด้วยวิธีการสกัดกั้นและดักจับขยะพลาสติกจากแม่น้ำไม่ให้รั่วไหลลงสู่มหาสมุทร? 

เดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรระดับโลกรายแรกกับ The Ocean Cleanup ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการทำความสะอาดแม่น้ำสายสำคัญทั่วโลกโดยใช้นวัตกรรม เรือ Interceptor(TM) ของ The Ocean Cleanup อันเป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อนเรือเพื่อดักจับขยะบนผิวน้ำ โดย Interceptor(TM) รุ่นแรกเปิดตัวในปี พ.ศ.2562 และเป็นโซลูชั่นตัวแรกที่สามารถพัฒนาสู่การใช้งานจริงในวงกว้างเพื่อป้องกันไม่ให้ขยะพลาสติกไหลจากแม่น้ำเข้าสู่มหาสมุทร? 

โครงการทำความสะอาดแม่น้ำในประเทศไทยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ในปีที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการศึกษาถึงลักษณะของมลพิษที่เกิดจากขยะพลาสติกในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมในการสกัดกั้นก่อนที่จะรั่วไหลลงสู่มหาสมุทร โดยได้รับความร่วมมือจากทั้งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท อีโคมารีน จำกัด ?ซึ่งมีการจัดพิธีลงนามความร่วมมือ  ณ สถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำกรุงเทพฯ ในวันนี้ (31 มีนาคม 2565) โดยมีนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นสักขีพยาน ในการลงนามระหว่าง มร. โบแยน สแลต ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งองค์กร The Ocean Cleanup และ อีโคมารีน บริษัทลูกของบริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานด้านเทคนิค อันจะช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางน้ำ และร่วมปกป้องสิ่งแวดล้อมตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน ?ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าเรือ Interceptor(TM) จะสามารถเริ่มดำเนินการในแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงบริเวณใกล้กับคลองลัดโพธิ์ ในพื้นที่อำเภอบางกระเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ ได้ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 ?? 

"ภารกิจของ The Ocean Cleanup คือการกำจัดขยะพลาสติกในมหาสมุทร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ไม่เพียงแต่จะกำจัดขยะที่อยู่ในมหาสมุทรเท่านั้น เรายังต้องหยุดการรั่วไหลของขยะเกิดใหม่ในแม่น้ำไม่ให้ไหลสู่มหาสมุทรด้วยเช่นกัน โดยผ่านการทำงานกับภาครัฐ ประชาชน และเอกชน เพื่อที่จะ แก้ปัญหามลพิษจากขยะในแม่น้ำ 1000 สายทั่วโลก จึงถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่เราได้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในแผนการพัฒนาของประเทศไทยที่กำหนดว่าจะลดขยะพลาสติกในทะเลลง 50% ภายในปี พ.ศ. 2570 ด้วยการติดตั้งเครื่อง Interceptor(TM) รุ่นแรกในแม่น้ำเจ้าพระยา" มร. โบแยน สแลต ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งองค์กร The Ocean Cleanup กล่าว? 

นายสุรเดช ตัณฑ์ไพบูลย์ ประธานกรรมการ บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ในนามของอีโคมารีน เรารู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับ The Ocean Cleanup ซึ่งมีหลักการและวิสัยทัศน์เดียวกันในการคิดค้นนวัตกรรมสำหรับการป้องกันมลพิษทางน้ำ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางทะเล เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน การมีส่วนร่วมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีของ อีโคมารีน และ บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) ที่จะได้นำประสบการณ์ในการต่อเรือ การซ่อมแซมเรือ รวมถึงอุปกรณ์ องค์ความรู้ และบุคคลากรที่มีความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมทางน้ำ มาช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกในแม่น้ำ โดยมีเป้าหมายคือการพัฒนาโซลูชันการทำความสะอาดแม่น้ำ โดยการแยกขยะพลาสติกออกจากแหล่งน้ำ"?? 

นาย วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า "การประกาศความร่วมมือในวันนี้เป็นอีกก้าวที่น่าประทับใจในการต่อสู้กับปัญหาพลาสติกในประเทศไทย เราทุกคนต่างตระหนักดีว่าขยะพลาสติกได้กลายเป็นปัญหาที่น่ากังวลในระดับโลก ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยพยายามอย่างมากในการแก้ปัญหามลภาวะพลาสติก โดยก่อนหน้านี้ประเทศไทยถูกจัดอันดับเป็นประเทศอันดับที่ 6 ที่ปล่อยขยะลงสู่ทะเลมากที่สุดในโลก แต่จากการประเมินผลล่าสุด ประเทศไทยลดอันดับมาอยู่ที่อันดับที่ 10 ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาให้ดีที่สุดต่อไปตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ และผมมั่นใจว่าเราจะสามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่าย จึงเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทยที่ได้เครื่อง Interceptor มาแก้ปัญหาขยะพลาสติกในแม่น้ำเจ้าพระยา ผมขอขอบคุณทุกฝ่ายในความร่วมมือครั้งนี้ รอคอยที่จะได้เห็นความร่วมมือภายใต้โครงการนี้เกิดขึ้นและประสบผลอย่างดีในประเทศไทย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสิ่งนี้จะสะท้อนให้เห็นความตั้งใจของเราทุกคนที่กำลังร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อส่งต่อโลกที่ดีขึ้นให้แก่คนรุ่นถัดไป"  

"เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนของมหาสมุทร ประเทศเนเธอร์แลนด์เชื่อว่าความร่วมมือและการผนึกกำลังทำงานร่วมกัน และโซลูชันทางนวัตกรรมที่สามารถป้องกันและบรรเทาผลกระทบได้นั้นเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นความร่วมมือระดับโลก ทั้งระหว่างภาครัฐ และเอกชน รวมถึงสถาบันวิจัยเกิดขึ้นในประเทศไทย?นี่ถือเป็นก้าวที่สำคัญอย่างแท้จริงสำหรับเป้าหมายของเราในการยุติมลพิษจากขยะพลาสติกในทะเล" นายแร็มโก โยฮันเนิส ฟัน ไวน์คาร์เดิน เอกอัครราชทูต ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย กล่าว ? 

ในฐานะส่วนหนึ่งของความร่วมมือในการดำเนินการระดับโลกนี้ โคคา-โคล่า ประเทศไทยจะช่วยสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมในการจัดการขยะที่รวบรวมได้ และรวมถึงการมีส่วนร่วมในการสร้างความตระหนักของภาคอุตสาหกรรมและผู้บริโภค ในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการลดปัญหามลพิษจากขยะพลาสติกต่อไป โดย เดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี กำลังดำเนินการตามวิสัยทัศน์ World Without Waste เพื่อผลักดันให้มีการจัดเก็บวัสดุบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง อันจะเป็นการป้องกันไม่ให้วัสดุเหล่านั้นกลายเป็นขยะ ทั้งนี้ โคคา-โคล่ามีเป้าหมายที่จะจัดเก็บบรรจุภัณฑ์เพื่อนำมารีไซเคิลในปริมาณเทียบเท่ากับบรรจุภัณฑ์ที่จำหน่ายออกสู่ตลาดให้ได้ทั้งหมดก่อนปี พ.ศ. 2573? 

"บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มเป็นหนึ่งในขยะที่สามารถพบได้ในมหาสมุทรและแหล่งน้ำต่าง ๆ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราไม่อาจยอมรับให้เกิดขึ้นได้ โคคา-โคล่าจึงร่วมมือกับพันธมิตรในการสนับสนุนเทคโนโลยีที่สามารถช่วยทำความสะอาดมหาสมุทรและแม่น้ำทั่วโลกได้ รวมถึงแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยด้วย" คาร์ลอส ดิแอช-ริกบี้ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) กล่าว? 


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ