นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดารง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร จัดกิจกรรมประกวดน้าผึ้งโพรงคุณภาพดี เนื่องในวันผึ้งโลก ประจาปี 2565 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพน้าผึ้งโพรงของเกษตรกรไทยให้ได้คุณภาพมาตรฐาน ตอบสนองความต้องการของตลาด และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ชิงเงินรางวัลรวม 12,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ ซึ่งผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ทาง https://bit.ly/3v62ym7 พร้อมส่งน้าผึ้ง จานวน 2 ขวด (ขวดละ 750 มิลลิลิตร หรือ 1 กิโลกรัม) มาที่ กลุ่มส่งเสริมแมลงเศรษฐกิจ (น้าผึ้งส่งประกวด) เลขที่ 2143/1 กรมส่งเสริมการเกษตร อาคารเบญจสิริกิติ์ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ได้ตั้งแต่บัดนี้ - 30 เมษายน 2565 และสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 08 6353 8646 ทั้งนี้ จะมีการประกาศผลการประกวดในวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 และมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศการประกวด ใน "งานวันผึ้งโลก" วันที่ 20 พฤษภาคม 2565
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงช่วยผสมเกสร มีนโยบายในการสร้างการรับรู้ถึงประโยชน์ของผึ้งและแมลงผสมเกสรต่อภาคการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรและบุคคลทั่วไปเห็นถึงความสำคัญของแมลงเหล่านี้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการผลิตพืชผลทางการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารเคมี รวมถึงส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงอย่างยั่งยืน ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ จึงสนับสนุนการจัดงานผึ้งโลกอย่างต่อเนื่อง โดยงานวันผึ้งโลก (World Bee Day) ตรงกับวันที่ 20 พฤษภาคม ของทุกปี และ ปี 2565 นี้ เป็นการจัดงานวันผึ้งโลก ครั้งที่ 5 กำหนดจัดขึ้น ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผึ้งร่มไทร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร มีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงผึ้ง มาตั้งแต่ปี 2521 โดย ดร.ยุกติ สาริกะภูติ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้เล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ของผึ้ง จึงมอบหมายให้กองป้องกันและกาจัดศัตรูพืช ดำเนินการวางกรอบ การพัฒนาการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้ง และต่อมาในปี 2522 กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดตั้ง กลุ่มส่งเสริมและอนุรักษ์พันธุ์ผึ้ง ซึ่งขึ้นตรงกับกองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์ และขยายพันธุ์ผึ้งขึ้นทั่วประเทศ จำนวน 5 ศูนย์ ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น จันทบุรี และชุมพร โดยปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตรมีหน่วยงานรับผิดชอบด้านการส่งเสริมแมลงเศรษฐกิจทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค อันประกอบไปด้วย กลุ่มส่งเสริมแมลงเศรษฐกิจ สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนกลาง ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จานวน 2 แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดชุมพร และ ศูนย์สหวิชาการ ที่มีบทบาทหลักในการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ จานวน 3 แห่ง ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ขอนแก่น และจังหวัดจันทบุรี ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะมีบทบาทภารกิจในการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตผึ้งและแมลงเศรษฐกิจให้
เป็นอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงและผลิตสินค้าผึ้งและแมลงเศรษฐกิจให้ได้มาตรฐาน และปลอดภัยต่อผู้บริโภค วิจัยและพัฒนาการผลิตสินค้าผึ้งและแมลงเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพ มีเทคโนโลยี การผลิตที่ทันสมัย การผลิตที่มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต เชื่อมโยงและสร้างความสามารถในการแข่งขันทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ ให้บริการทางการเกษตรแก่เกษตรกรที่เลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่แพร่หลายและส่งเสริมการบริโภค ตลอดจนประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง