กรมควบคุมโรคสหรัฐฯ ชี้ วัคซีนไอพีดีสามารถป้องกันโรคปอดบวม และลดโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้

ข่าวทั่วไป Tuesday March 18, 2008 10:46 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 มี.ค.--คอมมูนิเคชั่น แอนด์ มอร์
กรมควบคุมโรคประเทศสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control: CDC) เปิดเผย “วัคซีนไอพีดีสามารถป้องกันเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบกว่า 60,000 คนในประเทศสหรัฐอเมริกา จากการติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส หลังจากวัคซีนไอพีดีได้รับการอนุมัติในปี 2000”
จากการศึกษาของ กรมควบคุมโรคประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า วัคซีนไอพีดีสามารถป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรียนิวโมคอคคัส 7 สายพันธุ์ ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญอันดับต้นๆ ของเด็กเล็กกว่า 2 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปี โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคติดเชื้อในกระแสเลือดของเด็กเล็ก โดยจากการศึกษาของกรมควบคุมโรคประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าตั้งแต่ที่มีการพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัส (วัคซีนไอพีดี) ฉีดให้แก่เด็กเล็กทำให้อัตราการติดเชื้อในเด็กจากแบคทีเรียนิวโมคอคคัส 7 สายพันธุ์ดังกล่าวมีอัตราลดลงถึงร้อยละ 98 หรือคิดเป็นจำนวนเด็กติดเชื้อเหลือเพียง 1.7 ราย ต่อจำนวนประชากร 100,000 คนในปี 2005 ในขณะที่เมื่อปี 1998 (ก่อนที่มีวัคซีนฉีดให้แก่เด็ก) พบว่าจำนวนเด็กที่ติดเชื้อมีถึง 81.9 ราย ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน
กรมควบคุมโรคประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวเพิ่มเติมว่า “ผลการศึกษายังพบว่า อัตราการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียนิวโมคอคคัสสายพันธุ์อื่นๆ มีเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะสายพันธุ์ 19A มีการพัฒนาวัคซีนในอนาคตที่จะสามารถครอบคลุมป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรียนิวโมคอคคัสสายพันธุ์นี้ด้วย พบว่าอัตราการติดเชื้อของแบคทีเรียนิวโมคอคคัสสายพันธุ์อื่นๆมี เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 หรือคิดเป็นจำนวน 21.7 ราย ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน ในปี 2005 ในขณะที่เมื่อปี 1998 พบว่าอัตราการติดเชื้อของแบคทีเรียนิวโมคอคคัสสายพันธุ์อื่นๆมีจำนวน16.8 ต่อจำนวนประชากร 100,000 คน”
เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสเป็นสาเหตุของการเกิดโรคปอดบวมได้หากเชื้อเข้าสู่ปอด และจะก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบหากเชื้อมีการกระจายเข้าสู่สมอง เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสเป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของเด็กเล็กทั่วโลกซึ่งขณะนี้มีวัคซีนที่ฉีดป้องกันได้ และเมื่อเดือนมีนาคม คศ. 2007 ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เริ่มแนะนำให้ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายบรรจุวัคซีนไอพีดีเป็นวัคซีนพื้นฐานในแผนสาธารณสุขแห่งชาติ เพื่อช่วยป้องกัน และลดอัตราการตายจากการติดเชื้อนี้ในเด็กเล็กทั่วโลกที่พบประมาณ 1 ล้านคนในแต่ละปี หรือประมาณ 45 คนต่อนาที
สำหรับในประเทศไทย เริ่มนำวัคซีนไอพีดีมาใช้ตั้งแต่ปี 2006 แต่ปัจจุบันวัคซีนไอพีดียังเป็นวัคซีนเสริมหรือวัคซีนทางเลือก โดยพ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นผู้พิจารณาถึงความคุ้มค่าและตัดสินใจเลือกเองว่าควรจะฉีดให้เด็กหรือไม่ ซึ่งการฉีดวัคซีนไอพีดีที่ได้ผลควรฉีดในเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เนื่องจากเป็นวัยเสี่ยงเพราะเด็กเล็กยังไม่มีภูมิต้านทาน อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถป้องกันโรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสได้เบื้องต้น ได้แก่ การให้ทารกกินนมแม่ เพราะในนมแม่มีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ การสอนให้ลูกหลานล้างมือให้สะอาด และการสร้างสุขอนามัยที่ดีให้เกิดขึ้นในครอบครัว เป็นต้น
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
บุษบา (บุษ) / พิธิมา (ก้อย)
โทร. 0-2718-3800 ต่อ 133 / 138

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ