แนวโน้มเศรษฐกิจดิจิทัลโลกในสายตาผู้นำเทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง "หัวเว่ย"

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday June 8, 2022 16:01 —ThaiPR.net

แนวโน้มเศรษฐกิจดิจิทัลโลกในสายตาผู้นำเทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง

อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด

เทคโนโลยีด้านพลังงานและเทคโนโลยีไอซีทีถือเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของโลกตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ทั้งยังเป็นสิ่งที่แปลงโฉมโมเดลทางเศรษฐกิจของสังคมมนุษย์จากเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรมาเป็นเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรม จนผันมาเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลแบบในปัจจุบัน ซึ่งในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่แห่งยุคนี้ เทคโนโลยีดิจิทัลและการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อความเป็นมิตรต่อธรรมชาติจะเป็นสิ่งที่เดินหน้าควบคู่กันไปกัน เพื่อสร้างการพัฒนาสีเขียวที่นำไปสู่โลกอนาคตอันชาญฉลาด โดยเศรษฐกิจดิจิทัลต่อจากนี้จะประกอบไปด้วยเทรนด์ที่น่าจับตามองทั้งหมด 5 เรื่อง ซึ่งต่างก็ตอบโจทย์ทั้งเรื่องความเป็นดิจิทัลและความเป็นกลางทางคาร์บอนไปพร้อมกัน

เทรนด์เรื่องที่ 1: เศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการระบาดของโควิด-19

เศรษฐกิจดิจิทัลกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมากทั่วทุกมุมโลก และเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญที่สุดที่ ทำให้เกิดนวัตกรรม ความสามารถในการแข่งขัน และการเติบโต อีกทั้งยังมีศักยภาพอย่างมหาศาลสำหรับการสร้างให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีในสังคม โดยในปี พ.ศ. 2563 ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของโลกลดลงถึง 2.8% แต่การลงทุนด้านไอซีทีกลับเพิ่มขึ้นแบบสวนกระแสถึง 5% ซึ่งเป็นการตอกย้ำถึงความสำคัญของเทรนด์เรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล โดยประเทศชั้นนำส่วนใหญ่ทั่วโลกต่างก็ได้พัฒนานโยบาย "Digital First Economy" เพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ใหม่ที่ใหญ่ยิ่งกว่าเดิม โดยมีการคาดการณ์กันว่า 50% ของเศรษฐกิจโลกจะได้รับการแปลงเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลภายในปี พ.ศ. 2568 สำหรับแผนงานของประเทศไทยที่จะเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลเพิ่มขึ้น 50% ภายในปีพ.ศ. 2573 นั้น เห็นได้ว่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา ประเทศไทยนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ในองค์กรภาครัฐมากขึ้น 30% - 70% ในภาคเอกชน และการสร้างรายได้จากข้อมูลจะเพิ่มขึ้นเป็น 6 เท่าภายในปีพ.ศ. 2573 ซึ่งเศรษฐกิจดิจิทัลอาจจะสร้างงานใหม่ได้ถึง 60-65 ล้านตำแหน่งภายในอนาคตอันใกล้

เทรนด์เรื่องที่ 2: การเชื่อมต่อและการประมวลผล คือรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล

การเชื่อมต่อและการประมวลผลจะเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยครอบคลุมถึงเทคโนโลยี 5G, F5G และ IoT ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีด้านการเชื่อมต่อ ในขณะที่เทคโนโลยีคลาวด์และ AI จะเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีการประมวลผลในอนาคต ทั้งนี้ ประเทศไทยถือเป็นผู้นำอาเซียนของการมีโครงสร้างดิจิทัลด้านการเชื่อมต่อที่ดีที่สุดในภูมิภาค ซึ่งในอนาคตการบรรจบกันของการเชื่อมต่อและการประมวลผลจะแปลงโฉมทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง การเงิน หรือพลังงาน และสร้างมูลค่าเพิ่มใหม่ให้กับสังคม

เทรนด์เรื่องที่ 3: การแข่งขันกันนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ โดยเปลี่ยนจากการมุ่งเน้นที่ 5G ไปสู่ 5G + F5G + คลาวด์ + Al แบบ Full-stack

ในปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเติบโตอย่างรวดเร็วของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ นับตั้งแต่ประเทศไทยออกใบอนุญาตสำหรับการให้บริการ 5G ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 หลังจากนั้น ก็ได้พัฒนาจนมีผู้ใช้งานเทคโนโลยี 5G ถึง 4.9 ล้านคน ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้ใช้ 5G ในประเทศอาเซียนอื่นๆ ทั้งหมดถึง 2.5 เท่า นอกจากนี้ ในด้านเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตฟิกซ์บรอดแบนด์ F5G ประเทศไทยก็มีอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วเป็นอันดับ 1 ของโลก เช่นเดียวกันกับการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ที่ก้าวหน้าขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีเคสความสำเร็จอันน่าตื่นเต้นจากเปอร์เซ็นต์การนำเทคโนโลยีคลาวด์ไปใช้ในองค์กรไทยเพิ่มขึ้นจาก 59% เป็น 78% ในช่วงเวลาเพียงหนึ่งปี หลายองค์กรยังได้นำเทคโนโลยี AI เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ โดยการแข่งขันเทคโนโลยีดิจิทัลในอาเซียนต่อจากนี้นั้นก้าวข้ามการเชื่อมต่อไปแล้ว แต่มุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีหลักของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแบบ full-stack เช่น AI5G, F5G, คลาวด์ และ AI มากกว่า

เทรนด์เรื่องที่ 4: ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในโลกจะไม่ใช่น้ำมันอีกต่อไป แต่เป็นข้อมูล (data)

ด้วยความนิยมในเทคโนโลยี 5G, AI และคลาวด์ ทำให้ปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นด้วยความเร็วที่น่าตกใจ เมื่อผนวกกับเศรษฐกิจดิจิทัลก็ยิ่งทำให้เกิดการสร้างข้อมูลจำนวนมหาศาล เช่น โรงงานดิจิทัลและโรงงานที่เชื่อมต่อกันสามารถสร้างข้อมูลได้ถึง 1 เพตะไบต์ (PB) ในวันเดียว ทั้งนี้ The Economist ได้ตีพิมพ์เรื่อง "ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในโลกไม่ใช่น้ำมันอีกต่อไป แต่เป็นข้อมูล" ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มที่สำคัญสำหรับวันนี้และอนาคต โดยอุตสาหกรรมข้อมูลจะรวมเข้ากับภาคอุตสาหกรรมหลากหลายรูปแบบและส่งเสริมให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ แทรกซึมในเกือบทุกสาขาของสังคม รวมถึงยังจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการกำกับดูแล วิธีการจัดเก็บและการเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้การแปลงข้อมูลเป็นภาษาท้องถิ่นจึงกลายเป็นเทรนด์ใหม่ โดยปัจจุบัน ประเทศต่างๆ มากกว่า 50% ทั่วโลกได้ออกกลยุทธ์ด้านอุตสาหกรรมข้อมูลและออกนโยบายกำกับดูแลการไหลของข้อมูลข้ามพรมแดน รวมทั้งประเทศไทยที่ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเทรนด์เศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยการร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) นั่นหมายความว่าการส่งเสริมความปลอดภัยของข้อมูลและควบคุมห่วงโซ่คุณค่าของข้อมูลในปัจจุบันจะมีความสำคัญมากกว่าที่เคย

เทรนด์เรื่องที่ 5: ไม่มีดิจิทัล ไม่มีสีเขียว, บิตเพิ่มขึ้น วัตต์ที่น้อยลง ไอซีทีจะมีบทบาทสำคัญในเรื่องความเป็นกลางของคาร์บอน

นอกจากการสร้างความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจแล้ว การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัลยังเป็นหนทางสู่สังคมคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยอ้างอิงตามรายงานของ World Economic Forum ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ดิจิทัลคือ การปล่อยคาร์บอนทั่วโลกจะลดลง 12 พันล้านตันภายในปี พ.ศ. 2653 สำหรับอุตสาหกรรมไอซีที เครือข่ายต่างๆ ที่จะใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2.7 เท่า เพื่อขับเคลื่อนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว โดยหัวเว่ยมองว่าประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ให้ความมุ่งมั่นด้านความเป็นกลางด้านคาร์บอนอย่างจริงจัง ซึ่งหัวเว่ยจะช่วยสนับสนุนเป้าหมายสีเขียวของประเทศไทย ด้วยการรวบรวมเทคโนโลยีดิจิทัลและพาวเวอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาพลังงานสะอาด รวมทั้งเปิดใช้งานการแปลงพลังงานเป็นดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนการปฏิวัติพลังงาน

ปัจจุบันนี้ เทรนด์เศรษฐกิจดิจิทัลกำลังเคลื่อนมาสู่พวกเราทุกคน ซึ่งหัวเว่ยจะร่วมกันทำงานกับลูกค้าทุกรายพันธมิตรทุกฝ่าย ไปจนถึงภาครัฐ เพื่อนำความเป็นดิจิทัลสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กร และร่วมสร้างประเทศไทยที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์ มีความอัจฉริยะ และคาร์บอนต่ำไปพร้อมกัน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ