ความเครียดเรื้อรังภัยร้ายต่อสุขภาพระยะยาว ผู้เชี่ยวชาญแนะสารอาหารช่วยปรับสมดุลสุขภาวะจิตได้

ข่าวทั่วไป Monday June 13, 2022 13:14 —ThaiPR.net

ความเครียดเรื้อรังภัยร้ายต่อสุขภาพระยะยาว ผู้เชี่ยวชาญแนะสารอาหารช่วยปรับสมดุลสุขภาวะจิตได้

สถาบันแบลคมอร์ส ประเทศไทย ระบุการรับมือกับความเครียดได้ ต้องมีสุขภาวะจิตที่ดี หากปล่อยทิ้งจะเกิดความเครียดเรื้อรังและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แนะการรับสารอาหารที่เหมาะสม เช่น วิตามินบี และแมกนีเซียมช่วยปรับสมดุลสุขภาวะจิตได้

สรีรวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมเภสัชวิทยาแห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการร่วมกันโดยมีคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมเป็นเจ้าภาพ ในหัวข้อ The Science of Successful Ageing: Physiopharmacological Perspectives and Beyond ซึ่งการประชุมวิชาการครั้งนี้ ภญ.ดร. อโนมา เจริญทรัพย์ ผู้จัดการด้านการศึกษา สถาบันแบลคมอร์ส ประเทศไทย กล่าวถึง สุขภาวะจิตที่ดี หรือMental Wellbeing เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะไม่เพียงส่งผลต่อจิตใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อร่างกายด้วย การมีสุขภาวะจิตที่ดี คือ การที่คนเราสามารถปรับสภาพอารมณ์และใช้สติในการรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างดี และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้

ความเครียดส่งผลให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย เช่น ความดันโลหิตเพิ่มขี้น เกิดการรบกวนจังหวะการเต้นของหัวใจ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนจำนวนมาก ผลกระทบต่อการหลั่งอินซูลิน การสร้างกระดูกลดลง เป็นต้น การตอบสนองต่อความเครียด แบ่งออกเป็น 3 ระยะโดยสองระยะแรกจะเกิดขึ้นระหว่างที่เผชิญกับความเครียดแบบเฉียบพลันและความเครียดในชีวิตประจำวัน และระยะที่ 3 นำไปสู่ความเครียดเรื้อรัง หรือเรียกว่าภาวะต่อมหมวกไตล้า ซึ่งส่งผลให้สภาพจิตใจย่ำแย่ และเกิดปัญหาต่อสุขภาพในระยะยาว

การได้รับสารอาหารที่เหมาะสมจะเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยจัดการความเครียด เพราะสารอาหารที่มีประโยชน์จะไปช่วยกระตุ้นการปรับสมดุลสุขภาวะจิตในระยะสั้น พร้อมกับการเสริมสร้างและป้องกันในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ความต้องการสารอาหารแต่ละคนไม่เท่ากัน คนที่มีความเครียดสูงร่างกายต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อการฟื้นฟูสุขภาวะจิตให้กลับมาสมดุลและรับมือกับความเครียดได้ ร่างกายจึงควรได้รับสารอาหารที่จำเป็น เช่น วิตามินบีหลากหลายชนิด ในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละช่วง จะช่วยบำบัดและจัดการกับสภาวะความเครียดต่างๆ ได้ รวมถึงสารอาหารจำพวกแมกนีเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นช่วยในการทำงานของเอนไซม์ในร่างกายมากกว่า 300 ชนิด อีกทั้งช่วยในเรื่องการทำงานของกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ควบคุมความดันโลหิตและช่วยระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้แมกนีเซียมยังปรับการทำงานของแกน HPA ซึ่งเป็นกลุ่มของความสัมพันธ์และการตอบสนองต่อกันและกันระหว่างสมองส่วนไฮโปทาลามัส ต่อมพิทูอิทารี และต่อมหมวกไต ที่ควบคุมการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียดโดยทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด

สถาบันแบลคมอร์ส ประเทศไทย (Blackmores Institute) เป็นสถาบันที่จัดการสอนเกี่ยวกับเรื่อง Complementary Medicines Education (CMEd) หรือโภชนเภสัชภัณฑ์ โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ผสมผสานที่นำไปใช้เสริมหรือใช้ร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน ในเรื่องวิตามิน เกลือแร่ สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เปิดการสอนมากว่า 5 ปี เพื่อให้เภสัชกรสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาวิเคราะห์ผู้ป่วยและให้คำปรึกษาในการรักษาเสริมควบคู่กับการใช้ยา หลักสูตรแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ขั้นพื้นฐาน กลางและสูง เป็นการเรียนผ่านทางออนไลน์ (Online Modules) หลายบทเรียน อาทิ Introduction to Complementary Medicine, Vitamins in Health and Disease, Safety of Complementary Medicines เป็นต้น หลังจากนั้นจะเป็นการเข้าอบรมในชั้นเรียน Masterclass ด้วยรูปแบบพิเศษโดยการใช้กรณีศึกษาและองค์ความรู้ทั้งหมดมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ ซึ่งเภสัชกรที่ผ่านในระดับ Masterclass สามารถสะสมหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ หรือ CPE ได้ นอกจากนี้ CMEd ยังได้รับรางวัลระดับสากลมากมาย เช่น รางวัลระดับแพลททินัมจาก LearnX รางวัลระดับ Gold Excellence in Learning จาก Brandon Hall Group เป็นต้น ปัจจุบัน CMEd เปิดตัวในหลายประเทศครอบคลุมเกือบทั้งเอเชีย เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มาเลเซีย เป็นต้น

โดยผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเรียนได้ที่ www.blackmoresinstitute.org สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ education.th@blackmores.co.th หรือ ติดต่อแผนก Education สถาบันแบลคมอร์ส โทร 02-203-7900


แท็ก วิตามิน  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ