งานเสวนา PRIDE VOICE โดย 'บิทคับ' สัปดาห์แรกในหัวข้อ "สมรสเท่าเทียม และโอกาสความเท่าเทียมในโลกใหม่ ด้วย Blockchain Technology" ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม

ข่าวทั่วไป Tuesday June 14, 2022 16:06 —ThaiPR.net

งานเสวนา PRIDE VOICE โดย 'บิทคับ' สัปดาห์แรกในหัวข้อ

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา 'บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป' เปิดพื้นที่กว่า 1,700 ตร.ม. ณ 'บิทคับ เอ็ม โซเชียล' บริเวณชั้น 9 อาคารเดอะ เฮลิกซ์ ศูนย์การค้า ดิ เอมควอเทียร์ จัดงาน PRIDE VOICE @ Bitkub M Social ในหัวข้อ 'EQUALITY' : "สมรสเท่าเทียม และโอกาสความเท่าเทียมในโลกใหม่ ด้วย Blockchain Technology" เพื่อสนับสนุนกลุ่ม LGBTQA+ และนักกิจกรรมเพื่อสิทธิความเสมอภาคสำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศให้มีโอกาสสร้างคอมมูนิตี้และเปิดเวทีเสวนาหาแนวทางปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมและหาทางออกร่วมกันในประเด็นปัญหาต่างๆที่ยังคงทำให้เกิดความไม่เสมอภาคทั้งในสังคมและในองค์การธุรกิจ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานอย่างล้นหลาม นับได้ว่าเป็นเดือนแห่งความ ภาคภูมิใจของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) และความภาคภูมิใจของ บิทคับ ที่ได้ร่วมเป็น กระบอกเสียงในครั้งนี้

ภายในงานได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญพิเศษ ได้แก่ คุณธัญวัจน์  กมลวงศ์วัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล, คุณลีนา จังจรรจา หรือ 'ลีน่าจัง' นักธุรกิจ ทนายความ นักการเมือง และ            นักแสดง, คุณชัญญา รัตนธาดา ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Young Pride Club , คุณพัสกร วรรณศิริกุล คณะกรรมการเศรฐกิจสร้างสรรค์พรรคกล้า และคุณศิรภพ จันทรโอภาส  ผู้จัดการอาวุโส ทีมการตลาด บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด โดยมีคุณฐิติพงษ์ ด้วงคงหรือ 'ครูธง' MUT Master นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและวัตนธรรมให้เกียรติเป็นผู้ดำเนินงานเสวนา 

เปิดงานด้วยการกล่าวต้อนรับและกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของงานโดย คุณชัญญา วิเศษศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและมวลชนสัมพันธ์ บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด กล่าวว่า "การจัดงานเสวนาตลอดทั้งเดือนในนี้ดำเนินภายใต้แนวคิดที่ว่า EQUALITY, RESPECTFULLY, SUSTAINABILTY โดยมีความมุ่งหวังที่จะก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเชิงนโยบายต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างเป็นรูปธรรม เปิดพื้นที่ให้มีการพบปะ เสวนา แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดกว้างและนำผลจากการเสวนามาสร้างสรรค์เป็นแผนแม่บทในการวางนโยบายองค์กรและส่งต่อถึงผู้มีอำนาจในบ้านเมืองเกี่ยวกับการสร้างโอกาส ให้ความเท่าเทียม และการมีข้อปฏิบัติที่ไม่ละเมิดสิทธิ และก่อให้เกิดจิตสำนึกในการเคารพความแตกต่างหลากหลายอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นวิถีที่องค์กรยุคใหม่และประเทศที่เจริญแล้วให้ความสำคัญ" 

คุณศิรภาพ จันทรโอภาส ผู้จัดการอาวุโส ทีมการตลาด บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า "Bitkub ตั้งใจสร้าง Bitkub Chain ขึ้นมาเพื่อเป็น infrastructure ของระบบ Blockchain ไทย ในอนาคต เราพร้อมเปิดรับและสนับสนุนไอเดียของทุกคนที่อยากจะใช้ Blockchain มาสร้างประโยชน์ให้กับคนไทยในทุกรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น  เรื่องสินสมรส เราสามารถพัฒนา Smart Contract เพื่อใช้ในการแบ่งสินสมรสได้อย่างเท่าเทียม และไม่มีใครเข้ามาแทรกแซงเพื่อแก้ไขมันได้"

คุณลีน่าจัง ลีนา จังจรรจา นักธุรกิจ ทนายความ นักการเมือง และดารานักแสดง กล่าวว่า "ถ้ากฎหมาย พรบ. สมรสเท่าเทียมฉบับนี้ผ่าน จะสามารถสร้างประโยชน์และคุณอนันต์ต่อ LGBTQA+ คนกลุ่มนี้จะได้มีชีวิต ได้รับกฎหมายคุ้มครองชีวิตเขาอย่างเต็มที่ เหมือนกับประชาชนทั่วไปในประเทศไทยทั้งหมดอีก 70 ล้านคน"

คุณธัญ ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ผู้แทนราษฏร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า "สิทธิมนุษยชนขั้น  พื้นฐานการก่อตั้งครอบครัวเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นมากับเราเลย นั่นหมายถึงเราทุกคนเกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ วันนี้หรือในอนาคตสิทธินี้ก็ยังอยู่กับเราเสมอ ผมขอยืนยันว่านี่คือสิทธิที่เรามีอยู่แล้วติดอยู่กับตัวทุกคน แต่ว่าอย่างที่บอก Male Dominated Society เป็นคนกำหนดกฎหมาย เป็นคนที่บอกว่าอะไรที่มันถูกจารีต อะไรที่ถูกต้อง แต่ขอยืนยันว่า ทุกคนในโลกใบนี้มีสิทธิในการก่อตั้งครอบครัว และในเมื่อผู้ชายผู้หญิงทั่วไปสามารถสมรสได้ LGBTQA+ ต้องสมรสได้เหมือนกัน"

คุณพีเค  พัสกร วรรณศิริกุล คณะกรรมการเศรฐกิจสร้างสรรค์พรรคกล้า กล่าวว่า "ผมคิดว่าจากการผลักดันของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการเดินขบวนพาเหรด หรือการส่งเสียงผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ อย่างไรก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นวันนี้ หรือในอนาคตข้างหน้า เพราะคนและสังคมตอนนี้ต้องการให้เกิดขึ้น"

คุณปาหนัน ชัญญา รัตนธาดา ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Young Pride Club กล่าวว่า "ถ้าพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมผ่าน เราจะถือเป็นประเทศแรกในเอเชีย จะเป็นการการันตีว่าเราเป็นประเทศที่มีความเท่าเทียม ประเทศเราเจะป็นศูนย์กลางดึงดูดทุกคนเข้ามา จะสามารถช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศได้อีกด้วย"

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสุดพิเศษ  Meet & Greet กับผู้ชนะการประกวดจากเวที 'Universe is U' ได้แก่ คุณเน็ต วงศ์สถิตย์ ชัยเนตร Universe Is U 2022, คุณปุ๊กอุฟ ไกรวัฒน์ เกตุชญาคุณ  รองชนะเลิศอับดับ 1, คุณเอสเธอร์ อนุชา ศรีภูงา รองชนะเลิศอับดับ 3, คุณแบมแบม วริษฐาศรีคราม รองชนะเลิศอับดับ 4 และคุณเบญหล้า เบญหล้า ชูจิตต์ ผู้เข้ารอบ 11 คนสุดท้าย มาร่วมพูดคุยในหัวข้อ "ให้โอกาส ให้ความเท่าเทียม"

คุณเน็ต วงศ์สถิย์ ชัยเนตร ผู้ชนะ Universe is U 2022 กล่าวว่า "ขอขอบคุณ บิทคับ ที่ให้การสนับสนุน UIU       ให้เกียรตินำภาพผู้ชนะ Universe Is U 2022 และ Bitkub ICON ที่ประกาศตัวและสนับสนุน LGBTQA+ ภายใต้แนวคิด 'Unleash The Power Of Change' ขึ้นบิลบอร์ดดิจิทัลทั่วประเทศ พร้อมทั้งเปิดโอกาสและพื้นที่ให้ทุกคนมาแสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อสนับสนุนกลุ่ม LGBTQA+ และร่วมเสวนาในประเด็นปัญหาต่างๆ ที่ยังคงทำให้เกิดความไม่เสมอภาคในสังคม เน็ตขอให้ทุกคนเชื่อมั่นในตัวเอง อย่าด้อยค่าตัวเอง และขอบคุณสังคมที่มองเห็นความสามารถของเราในทุกมิติ ดอกกล้วยไม้แม้จะเป็นดอกไม้ที่เบ่งบานช้าแต่เชื่อว่าสักวันหนึ่งดอกกล้วยไม้อย่างเราจะเบ่งบานเต็มทุ่งและสวยงามแน่นอน"

คุณปุ๊กอุฟ ไกรวัฒน์ เกตุชญาคุณ รองชนะเลิศอับดับ 1 Universe is U 2022 กล่าวว่า "ในประเทศเรามี LGBTQ+ เป็นคนที่มีคุณภาพจำนวนมาก เป็นนักการเมือง เป็นบุคคลต้นแบบของสังคม หรือแม้กระทั่งพระเอกซีรี่วายที่มีชื่อเสียงมาก ประเทศไทยมีการหารายได้จากซีรี่วายซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมาก แล้วทำไมสมรสเท่าเทียมถึงไม่เปิดกว้างให้พวกเรา การสมรสจริงๆ ไม่ควรกำหนดแค่คำว่านายกับนางสาว แต่ควรเกิดขึ้นโดยใช้คำว่าบุคคลกับบุคคล เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม"

คุณเอสเธอร์ อนุชา ศรีภูงา รองชนะเลิศอับดับ 3 Universe is U 2022 กล่าวว่า "บางคนอาจจะคิดว่า พ.ร.บ. คู่ชีวิต และพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมมีความเหมือนกัน แต่จริงๆ แล้วมันไม่เหมือนกัน เราควรมองว่าสิทธิ์ที่เราจะได้รับในแต่ละข้อของกฎหมายนั้นมีอะไรบ้าง และมีมิติไหนที่จะสามารถช่วยเหลือเราได้บ้าง แต่ถามกลับกันทำไมในสังคมไทยถึงต้องมีการแบ่งระหว่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กับ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เพราะฉะนั้นจึงอยากให้พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมผ่าน เพื่อให้มนุษย์ได้สร้างความตรรหนักถึงความเท่าเทียมกันในสังคม"

คุณแบมแบม วริษฐา  ศรีคราม รองชนะเลิศอับดับ 4 Universe is U 2022 กล่าวว่า "โลกใบนี้ไม่ควรแบ่งเพศ ในเมื่อกฎหมายบอกว่าชาย และหญิงเท่าเทียมกัน ดังนั้นไม่ควรมีช่องว่างระหว่าง LGBTQA+ ในเมื่อทุกคนเสียภาษีเท่ากันทำไม LGBTQA+ ถึงได้รับสิทธิ์น้อยกว่าคนอื่น"

คุณเบญหล้า เบญหล้า ชูจิตต์ ผู้เข้ารอบ 11 คนสุดท้าย Universe is U 2022 กล่าวว่า "จากประสบการณ์การดำเนินชีวิตเป็นกลุ่ม LGBTQA+ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการสมรสกันไม่ได้ ทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างคู่ชีวิตเข้าโรงพยาบาลก็ไม่สามารถทำการอนุมัติอะไรได้เลย เช่นนั้น พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมควรจะเกิดขึ้นจริง เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมในสังคมไทยสักที"

ซึ่งกิจกรรม PRIDE VOICE @ Bitkub M Social  จะมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งเดือนมิถุนายน โดยจะจัดขึ้นอีกครั้งในวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2565 ภายใต้หัวข้อ 'RESPECTFULLY' : "Best Practice for LGBTQA+ at Work Space for Modern Organization" และวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2565 ภายใต้หัวข้อ 'SUSTAINABILITY' : "Beyond Rainbow-Washing" 

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละได้ที่ Facebook Fanpage : https://www.facebook.com/bitkubgroup/ 

https://www.facebook.com/bitkubmsocial/


แท็ก เฮลิกซ์  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ