คณะพาณิชย์ฯ มธ. MOU สมาคมเพื่อนชุมชน ขับเคลื่อนธรรมศาสตร์โมเดล รุ่นที่ 7 หนุน 9 วิสาหกิจชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ - บริการผ่านไอเดียคนรุ่นใหม่

ข่าวทั่วไป Wednesday June 22, 2022 12:08 —ThaiPR.net

คณะพาณิชย์ฯ มธ. MOU สมาคมเพื่อนชุมชน ขับเคลื่อนธรรมศาสตร์โมเดล รุ่นที่ 7 หนุน 9 วิสาหกิจชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ - บริการผ่านไอเดียคนรุ่นใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ ยลระบิล ที่ปรึกษาคณบดีฝ่ายการนักศึกษา คณะพาณิชย์ฯ ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ ( MOU ) กับ คุณมงคล เฮงโรจนโสภณ นายกสมาคมเพื่อนชุมชน ภายใต้ "โครงการสมาคมเพื่อนชุมชน - ธรรมศาสตร์โมเดล รุ่นที่ 7/2565 การส่งเสริมพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก ในพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ ตามแนวทางธรรมศาสตร์โมเดล"

โดยมีคุณชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคุณวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณนวลนารถ สายสุทธิวงษ์ ผู้อำนวยการภาค ธนาคารออมสินภาค 15 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ จังหวัดระยอง

ความร่วมมือในครั้งมีการพัฒนา ระบบฐานรากด้านเศรษฐกิจของชุมชน เพิ่มมุมมองในการปรับปรุงสินค้า ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าในวงกว้าง และเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันกับสินค้าอื่นในท้องตลาด นอกจากนี้ความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ในครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันสร้างวิสาหกิจชุมชนให้มีรากฐานที่เข้มแข็ง และ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยเน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ในปีนี้มี 9 วิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมโครงการ

1. วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านประมงเรือเล็กตากวน-อ่าวประดู่

2. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บเครื่องหนังชนันทน์วัชเครื่องหนัง

3. วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์หอมมะหาด

4. วิสาหกิจชุมชนชากลูกหญ้าพัฒนา

5. วิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมสุขใจ

6. วิสาหกิจชุมชนครัวแม่ฉัน By Nana

7. วิสาหกิจชุมชนมุนดินฟาร์มเกษตร

8. วิสาหกิจชุมชนโคเนื้อบาร์มันบ้านแซมไฮซ์

9. วิสาหกิจชุมชนสวนเกษตรผสมผสาน ฐานเรียนรู้สวนคุณย่าชุมชนหนองแฟบ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ ยลระบิล กล่าวว่า โครงการธรรมศาสตร์โมเดล เป็นโครงการต่อเนื่องที่ช่วยพัฒนา ระบบฐานรากด้านเศรษฐกิจของชุมชน เพิ่มมุมมองในการปรับปรุงสินค้า ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าในวงกว้าง และเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันกับสินค้าอื่นในท้องตลาด นอกจากนี้ความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ในครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันสร้างวิสาหกิจชุมชนให้มีรากฐานที่เข้มแข็ง และ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยเน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำองค์ความรู้ท้องถิ่นที่มีอยู่มาต่อยอดด้วยเทคโนโลยีและการบริหารจัดการที่เป็นระบบ เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชนในการพัฒนาศักยภาพตนเอง สิ่งเหล่านี้คือเป้าหมายสำคัญในการช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชนอย่างแท้จริง

นายมงคล เฮงโรจนโสภณ นายกสมาคมเพื่อนชุมชน กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นความก้าวหน้า ของการขยายผลเพื่อยกระดับวิสาหกิจชุมชน ที่ได้ร่วมกับคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนต้นแบบเขตพื้นที่มาบตาพุดคอมเพล็กซ์ โดยนำหลัก "ธรรมศาสตร์โมเดล"มาดำเนินการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้แก่วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก ให้มีขีดความสามารถในการบริการในเชิงการค้า รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยและพัฒนาระหว่างชุมชน ซึ่งคณาจารย์ และนักศึกษาโครงการบูรณาการปริญญาตรี - โท หลักสูตร 5 ปี (IBMP) คณะพาณิชยศาสตร์ มธ. ที่ทำหน้าที่ลงพื้นที่ปฎิบัติภารกิจ ให้คำแนะนำ และเป็นพี่เลี้ยงให้กับ 9 ชุมชนเป้าหมาย ซึ่งใช้ระยะเวลาดำเนินการไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใต้กรอบความร่วมมือระยะเวลา 1 ปี ซึ่งโครงการเพื่อนชุมชน-ธรรมศาสตร์โมเดล ยังได้เชื่อมโยงไปยังผู้ประกอบการ ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ และภาคีเครือข่ายฯ ได้ร่วมกันเป็น "บริษัทพี่เลี้ยง" ให้กับวิสาหกิจชุมชนแต่ละกลุ่ม โดยทำงานร่วมกับนักศึกษา ในการยกระดับศักยภาพ ทั้งด้านบริหารจัดการ การปรับปรุงคุณภาพสินค้า และการบริการ สร้างรายได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงการค้าให้กับวิสาหกิจชุมชน จ.ระยอง สู่มาตรฐานสากล ตลอดจนร่วมกันขับเคลื่อนต้นแบบการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) ให้กับจังหวัดระยองต่อไป


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ