5G จะยกระดับศักยภาพการทำงานขึ้นไปอีกขั้น เทคโนโลยี 5G ขจัดปัญหาด้านการเชื่อมต่อ โดยนำการประมวลผลจากคลาวด์ (cloud computing) และปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้กับภาคการผลิต นำความเป็นไปได้ใหม่ๆ มาสู่ภาคอุตสาหกรรม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) เปิดตัวเครือข่ายพันธมิตร 5G ในประเทศไทย ผนึกกำลังเปลี่ยนแปลงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G สู่การใช้งานจริง โดยมีเป้าหมายเปิดตัว 10 โครงการในปีนี้ โดยเครือข่ายพันธมิตรก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการเทคโนโลยี 5G ซึ่งรวมถึงกลุ่มผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม ผู้จำหน่ายและลูกค้าองค์กรเพื่อขับเคลื่อนอีโคซิสเต็ม 5G ให้รุดหน้า
ในปัจจุบัน เครือข่ายพันธมิตร 5G ในประเทศไทยมีโครงการพัฒนาการใช้งาน 5G ถึง 20 โครงการซึ่งเริ่มดำเนินการในเดือนเมษายนปีนี้ ทั้งนี้ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ขึ้นกล่าวในงาน 'Thailand 5G Summit 2022' ว่า "นวัตกรรมมีบทบาทสำคัญในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในหลายภาคส่วน เทคโนโลยี 5G ถือเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการพลิกโฉมเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต"
เทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะในปัจจุบันและอนาคต
อุตสาหกรรมภาคการผลิตทั่วโลกได้เข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่โดยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยจะพลิกโฉมอุปกรณ์และกระบวนการผลิตตลอดจนกระบวนการจัดหาผลิตภัณฑ์ หลากหลายประเทศเปิดตัวแผนยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อสนับสนุนการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้ เช่น กลยุทธ์สู่ความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงของสหรัฐอเมริกา การเปิดตัวกลยุทธ์ 'ไทยแลนด์ 4.0' และมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลอาเซียนของประเทศไทย ประเทศเยอรมนีเปิดตัวกลยุทธ์อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) และประเทศจีนประกาศแผน 'Made in China 2025' ซึ่งล้วนเป็นกลยุทธ์ที่จะนำเทคโนโลยีไอซีทีขั้นสูงมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถหลักของภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ กลยุทธ์ 'ดิจิทัลไทยแลนด์' ของประเทศไทยเริ่มมีความคืบหน้าหน้าด้วยโครงการสำคัญต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ 'เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม' หรือ 'Value-Based Economy' และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลให้พร้อมกับก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลของอาเซียน
การประยุกต์ใช้ 5G กับการออกแบบ ระบบการวิจัยและพัฒนา ระบบควบคุมการผลิตและระบบการจัดการบริการจะพลิกโฉมกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมแนวดิ่งที่ครอบคลุมการวิจัยและพัฒนา การออกแบบ การผลิต การจัดการและบริการ สิ่งนี้จะเปลี่ยนภาคการผลิตให้เป็นอุตสาหกรรมอัจฉริยะที่ยืดหยุ่น มุ่งเน้นการบริการที่เหนือไปอีกขั้น
อิทธิพลของเทคโนโลยี 5G ในภาคการผลิต
มีการคาดการณ์ว่า 5G จะเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของภาคการผลิตคิดเป็นมูลค่าประมาณ 7.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปีพ.ศ. 2573 โดยสมมติฐานและการวิเคราะห์นี้ได้มาจากการสัมภาษณ์ตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตและโทรคมนาคม และการสำรวจผู้ผลิตกว่า 100 รายทั่วโลกเพื่อวิเคราะห์ข้อได้เปรียบของเทคโนโลยี 5G
ในปีพ.ศ. 2573 เทคโนโลยี 5G จะมีศักยภาพในการผลักดันผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของการผลิตทั่วโลกให้เติบโตถึง 4% หรือต่ำกว่า 7.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐเพียงเล็กน้อย โดยคาดการณ์จากการใช้งานใหม่ และการปรับปรุงการใช้งานเดิมที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G เทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ รวมทั้งคำนึงว่าการปรับปรุงพัฒนาเหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานอย่างไร
5G เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ภาคการผลิตใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องจักร โรงงาน ตลอดจนข้อมูลผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม โดยข้อได้เปรียบของเทคโนโลยี 5G ที่สำคัญที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตมี 5 ประการได้แก่:
- เทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สายที่ดีที่สุด เพื่อทำให้เกิดบริการอินเทอร์เน็ตสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่เชื่อมต่ออย่างเต็มรูปแบบ
- มีการรับประกันการเชื่อมต่อให้มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัยเพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย
- ลดค่าความหน่วงให้เหลือระดับต่ำกว่า 15 มิลลิวินาที เพื่อการบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์
- มีการถ่ายโอนข้อมูลด้วยความเร็วสูงสำหรับการเชื่อมต่อระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์โดยเครื่องจักร (Machine Vision) โดยใช้วิดีโอความละเอียดสูง
- นำเสนอฟังก์ชันใหม่ๆ นอกเหนือจากการเชื่อมต่อ เช่น ระบุตำแหน่งได้แม่นยำมากขึ้นผ่านเครือข่าย 5G (5G position) และ 5G_LAN
ข้อได้เปรียบของเทคโนโลยี 5G สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต
เทคโนโลยี 5G มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการผลิตในสองด้าน คือการเพิ่มอัตราการเข้าถึงระบบเชื่อมต่อของภาคอุตสาหกรรมและการเพิ่มกรณีการใช้งานแอปพลิเคชันใหม่ๆ
การเพิ่มอัตราการเข้าถึงระบบเชื่อมต่อของภาคอุตสาหกรรม
ในอดีตโรงงานต่างๆ ใช้เครือข่ายอีเทอร์เน็ต (Ethernet) แบบตายตัวในการเชื่อมต่อ ซึ่งใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายมหาศาลในการประยุกต์ใช้งาน ส่งผลให้ผู้ผลิตที่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยจะไม่สามารถพัฒนากระบวนการผลิตได้อย่างรวดเร็ว
เทคโนโลยี 5G จะมาแทนที่เครือข่ายแบบเดิม เอื้อประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ผลิตในประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานแบบตายตัวที่จำกัด แต่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีประสิทธิภาพ เพราะสามารถเข้าถึง 5G ไร้สายแบบคงที่และบรอดแบนด์โดยไม่ต้องติดตั้งสายเคเบิล ส่งผลให้ผู้ผลิตที่นำระบบดิจิทัลมาใช้ในการผลิตได้ช้ากว่าที่อื่นก็สามารถก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้
การใช้งานใหม่และแอปพลิเคชันใหม่ๆ
เทคโนโลยี 5G จะปลดล็อกการใช้งานในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยความเห็นจากตัวแทนภาคอุตสาหกรรมได้ตอกย้ำถึงข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของเทคโนโลยี 5G ซึ่งก็คือการเชื่อมค่อจำนวนอุปกรณ์และปริมาณข้อมูล (ครอบคุลมเรื่องการเชื่อมโยงกับความสามารถและความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล, ความน่าเชื่อถือ, ความปลอดภัยและอัตราความหน่วงต่ำ)
เทคโนโลยี 5G เพิ่มปริมาณการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ผลิตต้องใช้ในโรงงาน โดยการเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันตลอดจนเพิ่มจำนวนข้อมูลที่ผ่านเครือข่ายได้แบบทวีคูณ ผู้ปฏิบัติงานสามารถติตดามดูสถานะของเครื่องจักร กระบวนการและระบบทั้งหมดได้ละเอียดยิ่งขึ้นและระบุปัญหาได้อย่างแม่นยำ
5G เหนือกว่าการเชื่อมต่อแบบ Wi-Fi ในด้านความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของข้อมูล เมื่อผู้ผลิตใช้ข้อมูลในการควบคุมกระบวนการและระบบการผลิตโดยอัตโนมัติก็จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลถูกต้องและถูกจัดเก็บตลอดเวลา รวมทั้งป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลได้
อัตราค่าความหน่วงต่ำเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้ 5G เพื่อผลักดันการใช้งานใหม่ เพราะมีการใช้ข้อมูลเพื่อตรวจสอบอุปกรณ์และทำให้ระบบดำเนินการแบบเรียลไทม์ การใช้งานในจุดสำคัญของกระบวนการทางอุตสาหกรรมต้องการอัตราความหน่วงที่ต่ำมากถึงสิบมิลลิวินาทีหรือน้อยกว่า
ศักยภาพของเทคโนโลยี 5G ที่ทำให้เกิดการใช้งานใหม่และปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
ประเทศจีนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำในการติดตั้งเครือข่าย 5G อันทรงพลังในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มระบบอัตโนมัติในกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานหนักหรือเป็นอันตราย รวมทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
สถานการณ์เหล่านี้รวมถึงเหมืองถ่านหิน 5G ที่ใช้เครื่องจักรขุดเจาะจากระยะไกล ซึ่งเรียกว่าโรงงานอัจฉริยะที่ควบคุมการผลิตและคุณภาพด้วยระบบอัตโนมัติ รวมถึงท่าเรือที่นับและประมวลผลตู้สินค้าผ่านกล้องที่เชื่อมต่อบนเว็บไซต์
เครือข่าย 5G เหล่านี้ต่างจากเครือข่ายสาธารณะของผู้บริโภคในเมืองต่าง ๆ เพราะมีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ปรับแต่งสำหรับรองรับสถานการณ์เฉพาะขององค์กร แยกออกจากเครือข่ายสาธารณะและสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการเฉพาะด้านเพื่อจัดการกับเป้าหมายองค์กรและกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น
ในสายการผลิตอัจฉริยะ การควบคุมระยะไกลโดยใช้ 5G และคลาวด์ ช่วยเปลี่ยนวิธีการทำงานของผู้คนโดยสิ้นเชิง การผลิตรถยนต์ในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นำข้อได้เปรียบของ 5G ที่มีแบนด์วิดท์สูง ความหน่วงต่ำและมีความคล่องตัวมาใช้ และการทำงานจากระยะไกลทำให้บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์สามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมและประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ในอดีต ผู้ปฏิบัติงานต้องควบคุมอุปกรณ์ในห้องควบคุมขนาดเล็ก ซึ่งเป็นงานที่อันตรายและไม่ดึงดูดผู้สมัครที่มีทักษะสูง เทคโนโลยี 5G และการประมวลผลบนคลาวด์ (cloud computing) ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องปรับอากาศได้อย่างสะดวกสบาย ผู้ปฏิบัติงานเพียงคนเดียวสามารถควบคุมเครนสะพานได้หลายตัวผ่านวิดีโอความละเอียดสูง ทำให้ต้นทุนแรงงานลดลงอย่างมหาศาล
ทั้งนี้ ท่าเรือแหลมฉบังในประเทศไทยถือว่าประสบความสำเร็จในการควบคุมรถคานเคลื่อนที่ในการยกตู้สินค้า (Rubber tyred gantry crane - RTG) ด้วยแผงควบคุมผ่าน 5G ความเร็วสูง ที่มีความหน่วงต่ำและความเสถียร นำมูลค่ามหาศาลทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมมายังท่าเรือ ช่วยลดจำนวนบุคลากรที่ต้องทำงานภายใต้ความเสี่ยงสูงลงถึง 80% และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ RTG เพราะทำงานร่วมกับรถบรรทุกไฟฟ้าอัตโนมัติแบบไร้คนขับ (Yard EV autonomous Trucks) ที่ควบคุมผ่าน 5G จากศูนย์กระจายเพื่อส่งฉลากสินค้า โดยรถบรรทุกเหล่านี้ทำงานอย่างต่อเนื่องได้ทั้งกลางวันกลางคืนอีกด้วย
สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ องค์กรต้องพบกับความท้าทายด้านการจ้างงานเพราะเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันสูงเนื่องจากขาดการติดตามด้านเทคนิคและการจัดส่งอัจฉริยะแบบเรียลไทม์ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์แข่งขันได้น้อยลง ด้วยเทคโนโลยีที่รุดหน้าทำให้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ การเชื่อมต่อ 5G คลาวด์คอมพิวติ้งและการวิเคราะห์บิ๊กดาต้า ช่วยขับเคลื่อนโมเดลการทำงานผ่านแผงควบคุม ส่งผลให้พนักงานปฏิบัติการในเหมืองกลับมาทำงานในสำนักงานได้มากขึ้น เทคโนโลยีต่างๆ เช่น การประมวลผลด้วยคลาวด์ บิ๊กดาต้า ปัญญาประดิษฐ์และดิจิทัลทวิน (Digital Twin) เปลี่ยนอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินเข้าสู่ระบบดิจิทัลและปรับใช้แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยด้านการผลิตในปัจจุบันกับอุตสาหกรรมเหมืองทั้งหมด ปัจจุบันบริษัทในเครือปูนซีเมนต์ไทยและบริษัทพลังงานเปลี่ยนจากการใช้รถบรรทุกดีเซลเป็นรถบรรทุกไฟฟ้าขับเคลื่อนอัตโนมัติด้วยแพลตฟอร์มอัจฉริยะ 5G+
ในอนาคตคนงานเหมืองอาจจะไม่ต้องทำงานในเหมืองใต้ดินอีกต่อไป แต่จะสวมชุดสูทและเน็กไทมาควบคุมอุปกรณ์ขณะดื่มกาแฟแทน
หัวเว่ย ในฐานะบริษัทชั้นนำระดับโลกด้านไอซีที มุ่งมั่นนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถยกระดับวงจรการผลิตให้ทันสมัย เราจับมือพันธมิตรชั้นนำจากอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศจีน ได้แก่ เซี่ยซัน ยูตง Watyous และไชน่า ซอฟท์ทีเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตธุรกิจ E2E ของประเทศไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0