"สาธารณรัฐไซปรัส" ประเทศตั้งอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ของตุรกีและทางตะวันตกของซีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่รู้จักในฐานะหมู่เกาะใหญ่เป็นอันดับ 3 ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมทั้งกรีกและยุโรป มีประชากรประมาณ 1 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาธุรกิจ แต่ภาษาทางการเป็นกรีก ปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ความน่าสนใจคือ "ไซปรัส" เป็นประเทศที่ สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตปี พ.ศ. 2523 จนถึงปัจจุบัน รวมแล้วถึง 42 ปี
นายอะยิส ลุยซู (H.E. Mr. Agis Loizou) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐไซปรัสประจำประเทศไทย ซึ่งมีถิ่นพำนัก ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เปิดเผย ในขณะร่วมการประชุมมนตรีมูลนิธิเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Foundation Board of Governors) ว่า นับจาก สถานกาณณ์ โควิด-19 ไซปรัสและไทย เริ่มเดินหน้าความร่วมมือ ด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวมากขึ้น
โดยเฉพาะการท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งรูปแบบในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม อีกทั้ง ไซปรัส และ ไทยมีวิถีวัฒนธรรมด้านประวัติศาสตร์โบราณที่สอดคล้องกัน คือ การเคารพผู้สูงอายุ เป็นมิตร นอกจากนี้รูปแบบประเทศ ยังมีภูมิศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวที่มีธรรมชาติที่สวยงามทั้งภูเขา ทะเล ซึ่งการเปิดประเทศหลังสถานการณ์ วิด-19 สามารถสร้างความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวร่วมกันเพิ่มมากขึ้น 3 ด้าน สำคัญ ซึ่งเป็นประโยชน์กับทั้งสองประเทศ ได้แก่
ล่าสุด นายอะยิส ลุยซู เข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ซึ่งนายกรัฐมนตรี รู้สึกยินดีและเน้นย้ำว่า ไทยพร้อมส่งเสริมความร่วมมือ ไทย-ไซปรัส ให้แน่นแฟ้นในทุกด้าน ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันมากว่า 4 ทศวรรษ โดยเฉพาะด้านการค้าการลงทุนเพื่อประโยชน์ของทั้งสองประเทศและต่อยอดไปยังภูมิภาค โดยเฉพาะด้านการค้าการลงทุน ไทยและไซปรัสเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันส่งเสริมและฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงหลังโควิด-19 ในด้านที่ทั้งสองฝ่ายมีความพร้อมและมีศักยภาพ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เปิดเผยว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ BCG และ การพัฒนาพื้นที่ EEC ของไทย โดยเฉพาะด้านพลังงาน เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว และเศรษฐกิจดิจิทัล ถือเป็นนโยบายด้านเศรษฐกิจที่สอดรับกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของไซปรัส ซึ่งปัจจุบันนี้ มีนักลงทุนไทยสนใจลงทุนในต่างประเทศและในยุโรปมากขึ้นในสาขาบริการ ด้านการท่องเที่ยว การโรงแรม ร้านอาหารไทย สปา และนวดแผนไทย ซึ่งไซปรัสสามารถใช้ประโยชน์จากไทยในการต่อยอดการลงทุนและเชื่อมโยงไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคได้
ส่วนด้านการท่องเที่ยวยินดีส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ไปมาหาสู่ระหว่างกันได้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันไทยได้ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าประเทศแล้ว เชื่อมั่นว่าในอนาคตนักท่องเที่ยวจากอียูและไซปรัสจะเดินทางมายังไทยเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ
นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตไซปรัส ได้เสนอ นายกรัฐมนตรี ให้ทั้งสองประเทศจัดการประชุมด้านการลงทุน (Investment Summit) ร่วมกับภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมนักลงทุนทั้งในประเทศและในระดับภูมิภาค การจับมือร่วมกันในลักษณะนี้ ทำให้ ไทย - ไซปรัส สามารถเปิดก้าวสู่เวทีเศรษฐกิจโลกร่วมกันในอนาคต
ด้าน นายปณิธิ วสุรัตน์ กงสุลกิตติมศักดิ์ไซปรัสประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังการแพร่ระบาดโควิด-19 เชื่อว่าเป็นโอกาสการฟื้นความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว ไซปรัส - ไทย
ล่าสุดมีการหารือกับหอการค้าไทย เพื่อเดินหน้าลงทุนธุรกิจโรงแรมและสปา คาดว่าธุรกิจไทยน่าจะตอบโจทย์ด้านนี้ การลงทุนดังกล่าวถือเป็นโอกาสในการขยายแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของคนไทย ในฐานะที่หมายใหม่แห่งยุโรป นอกเหนือจากการท่องเที่ยวที่ อังกฤษและสหรัฐ
สาธารณะไซปรัส เป็นประเทศเล็ก แต่ มีจีดีพีต่อหัวประมาณ 26,624 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อคนต่อปี หรือ ประมาณ 961,126.40 บาท ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของยุโรป และ เป็นประเทศที่มีความปลอดภัยสูงสุดเพราะมีอาชญากรรมน้อยมาก ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศเกือบ 4 ล้านคน