กรุงเทพฯ--24 มี.ค.--สภาอุตสาหกรรมฯ
ตามที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ผ่านกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคสำคัญ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ฉบับได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อเดินกุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา โดยกฎหมายฉบับแรก มีสาระสำคัญให้ผู้ประกอบการมีความไม่ปลอดภัย โดยนำหลักความรับผิดแบบเคร่งครัด (Strict Liabillity) ส่วนกฎหมายฉบับที่สอง มีวัตถุประสงค์หลักในการคุ้มครองผู้บริโภค โดยกำหนดให้คดีผู้บริโภค (คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการในการซื้อสินค้าหรือบริการ คดี Product Liabillity และคดีอื่นใดที่เกี่ยวข้อง) สามารถดำเนินกระบวนการได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น ให้อำนาจศาลในการพิจารณาคดี กำหนดบทลงโทษแก่ผู้ประกอบการมากขึ้น เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค สภาอุตสาหกรรมฯ เห็นว่าพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโดยตรง เนื่องจากกฎหมายฉบับแรก ผู้ประกอบการจะมีความรับผิดจนกว่าพิสูจได้ว่าสินค้านั้นมิใช่สินค้าที่ปลอดภัย ส่วนกฎหมายฉบับที่สองมีกระบวนการพิจารณาคดีที่สะดวก รวดเร็วง่ายต่อการนำคดีขึ้นสู่ศาล ซึ่งจะส่งผลให้มีคดีฟ้องร้องเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ประกอบการมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ความเข้าใจ เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าว เพื่อให้สามารถปฏิบัติตาม และมีมาตรการรองรับผลของกฎหมายดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม จึงได้กำหนดจัดสัมมนาเรื่อง "กฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย : ความเสี่ยงของผู้ประกอบการ" ในวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2551 เวลา 08.30 - 17.00 น. ณ ห้องบอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอมเมอรัล รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ฝ่ายกฎหมาย ว่าที่ร้อยตรีเกรียงไกร ลาวพวน และคุณนภัทร ศรีกลัด โทรศัพท์ 0 2345 1057, 0 2345 1055 โทรสาร 0 2345 1058 หรือ E-mail : kiengkair@off.fti.or.th