ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราต่างรับรู้กันดีว่าประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว คำพูดที่ฟังดูห่างไกลที่อยู่ ๆ ก็มาถึงโดยไม่รู้ตัว ทำให้ผู้คนเริ่มวิตกกับหลายความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในฝั่งสมาชิกครอบครัวที่มีเวลาให้ผู้สูงอายุน้อยกว่าที่ควร จนกลายเป็นความพะวงหน้าพะวงหลัง สร้างผลเสียให้กับทั้งฝั่งลูกหลานและผู้สูงวัย
ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าชีวิตในสังคมร่วมสมัยที่คร่อมด้วยสังคมผู้สูงอายุนั้น มีแนวคิดหลาย ๆ อย่างที่ต่างไปจากยุคสมัยก่อนหน้านี้มาก เช่นเดียวกับภาพไม่สู้ดีของที่พักคนชราก็เริ่มเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมแล้ว "ซึ่งเหตุผลหลักก็เป็นเพราะสังคมเองก็ต้องรับมือกับ Aging Society ที่แทบจะเป็น Super-aged Society อยู่รอมร่อแล้วนี่แหละ"
นั่นคือหลาย ๆ ที่พักได้ปรับเปลี่ยนหน้าตาของคำ ๆ นี้ไปโดยสมบูรณ์ ทั้งพื้นที่พักอาศัย สาธารณูปโภค พื้นที่ส่วนกลางที่ส่งเสริมความแข็งแรงทางสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ สิ่งอำนวยความสะดวกและกิจกรรมที่ได้ใช้เวลาร่วมกับเพื่อนที่วัยไล่เลี่ยกัน เป็นบ้านอีกหลังที่ผู้สูงอายุไม่ต้องอยู่คนเดียว รวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดี จนคำว่าเดียวดายหรือถูกทอดทิ้งกลายเป็นคำเก่าและค่อย ๆ เลือนไป
อีกทั้งที่พักบางแห่ง ยังถูกรองรับด้วยสถานบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ สำหรับการดูแลเรื่องโรคภัยโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น "ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุยันฮี" ที่ตั้งอยู่ใกล้กับโรงพยาบาลยันฮี ที่มีแพทย์ประจำศูนย์เป็นแพทย์อายุรกรรม และทีมพยาบาลวิชาชีพ ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ที่ให้การดูแลด้วยความชำนาญและมีมาตรฐานอย่างเป็นกันเอง
นึกภาพในมุมของผู้สูงอายุแต่ละคน อาจมีความต้องการการดูแลที่แตกต่างกันไป ทั้งเรื่องทั่วไปอย่างการช่วยเหลือด้านกิจวัตรประจำวัน หรือเรื่องเฉพาะตัวอย่างการดูแลด้านโรคเรื้อรังที่ต้องอาศัยการรักษา และการจัดการอย่างใจเย็น อดทน อ่อนโยน และใกล้ชิดกว่าที่พักผู้สูงวัยทั่วไปจะทำได้
'คุณลุงแดง-พลเอกพลาวุฒิ กลับเจริญ' หนึ่งในผู้เข้ารับบริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุยันฮี เล่าว่า ตัวเขาเองมีอาการหลอดเลือดในสมองตีบ และจำเป็นต้องหาโรงพยาบาลที่มีกายภาพบำบัด "ผมป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ จำเป็นต้องหาโรงพยาบาลเพื่อรักษาตัวที่มีกายภาพบำบัด และโรงพยาบาลยันฮี เป็นโรงพยาบาลแรกที่ครอบครัวนึกถึง เพราะมีการให้บริการดูแลแบบครบวงจร ไม่ต้องไปหาหมอหลายๆ ที่ และก็เป็นโชคดีที่ผมได้มารักษาตัวที่โรงพยาบาลยันฮี ที่นี่ผมอยู่มา 5 เดือนกว่ามันไม่เหมือนอยู่โรงพยาบาล มันเหมือนอยู่บ้าน อยู่กับญาติตัวเอง เจ้าหน้าที่ทุกคนเป็นกันเอง ซึ่งผมก็มีความสุข และผมก็เชื่อว่าตัวเองจะกลับไปใช้ชีวิตปกติได้"
แน่นอนว่าการดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องยาก และจะยากขึ้นอีกหากผู้สูงอายุนั้นป่วยเรื่องโรคเรื้อรัง มุมมองของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุจึงไม่ใช่แค่การฝากคนที่เรารักให้ไม่ต้องโดดเดี่ยวเท่านั้น แต่มันยังเป็นการเยียวยาคนสำคัญของเราได้เต็มที่ พร้อมให้เขาได้ใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวโดยไม่ป่วยไข้
นายแพทย์ชวลิต หล้าคำมี แพทย์ผู้ชำนาญการ ศูนย์ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลยันฮี บอกกับเราว่า ในเคสนี้ต้องให้การรักษาระยะยาว เป็นเรื่องที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุยันฮีจะต้องควบคุมให้ดี ทั้งการดูแลส่วนของโรคประจำตัวเดิม และการดูแลร่างกายด้านการทำกายภาพบำบัด นอกจากนั้นยังมีเรื่องการดูแลแผลกดทับหรือภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต "หลัก ๆ อีกด้านหนึ่งที่ศูนย์ฯ ให้ความสำคัญ จะเป็นเรื่องของจิตใจ เราจะมีจัดกิจกรรมสันทนาการเพื่อลดภาวะเครียดหรือภาวะซึมเศร้า และให้ความรักความอบอุ่นอย่างเป็นกันเองสม่ำเสมอ เสมือนทุกคนเป็นคนในครอบครัว"
หลังจากพักรักษาตัวที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุยันฮี จนอาการดีขึ้นมาก คุณลุงแดง เล่าให้เราฟังว่า "โชคดีที่ผมได้มารักษาตัวที่โรงพยาบาลยันฮี ที่นี่เอาใจใส่เป็นอย่างดี อบอุ่น และเป็นกันเอง โดยเฉพาะเรื่องการฟื้นฟูร่างกายของผม ด้วยการทำกายภาพบำบัด โดยมีแพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพบำบัดคอยให้คำปรึกษาและดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด ทำให้ผมมั่นใจและดีใจว่า ผมเลือกไม่ผิดที่มารักษากับยันฮีครับ"
ผู้สูงอายุ คือ บุคคลอันเป็นที่เคารพรักของลูกหลาน เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของทุกคนในครอบครัว ทุกท่านล้วนมีคุณค่าต่อครอบครัวและสังคม เราในฐานะลูกหลานควรตระหนักถึงคุณค่าของเวลา การใช้เวลากับท่านให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ท่านมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามวัย เพื่ออยู่กับลูกหลานให้นานที่สุด
สอบถามหรือรับคำปรึกษาศูนย์ดูแลผู้สูงอายุยันฮี ได้ที่ศูนย์บริการข้อมูล โรงพยาบาลยันฮี โทร.1723 หรือ Facebook: โรงพยาบาลยันฮี Yanhee Hospital / Line: @Yanhee Hospital และ IG: yanheehospital_official