ท่ามกลางการแข่งขันรุนแรงระหว่างผู้ผลิตเครื่องจักรไฟฟ้าประเภทเครื่องจักรหนักรายใหญ่ทั้งหลาย โตชิบาได้ส่งมอบแขนยึดเครื่องฉายรังสีแบบหมุนเพื่อการบำบัดรักษามะเร็งด้วยไอออนหนักที่อาศัยเทคโนโลยีตัวนำยิ่งยวดเครื่องแรกของญี่ปุ่นให้แก่โรงพยาบาลสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตัมแห่งชาติหรือคิวเอสที (National Institutes for Quantum Science and Technology: QST) ในปีพ.ศ. 2559 ทั้งนี้ แขนยึดเครื่องฉายรังสีแบบหมุนคือส่วนที่เป็นทรงกระบอกรูปร่างคล้ายโดนัทที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วย แขนยึดดังกล่าวหมุนได้ 360 องศา ทำให้ฉายรังสีได้จากทุกมุมอย่างแม่นยำและช่วยขยายขอบเขตการรักษาให้กว้างขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
ขณะนี้ ศูนย์ไอออนหนักญี่ปุ่นตะวันออกแห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยยามากาตะ มีแขนยึดเครื่องฉายรังสีแบบหมุนขนาดเล็กที่สุดในโลกและเล็กกว่าเครื่องที่โรงพยาบาลคิวเอสทีแล้ว โดยมีโตชิบาเป็นผู้สนับสนุนเทคโนโลยี
การบำบัดรักษามะเร็งมีอยู่ 3 วิธีหลักๆ ได้แก่ การผ่าตัด เคมีบำบัด และการฉายรังสี แต่ละวิธีมีข้อดีข้อด้อยต่างกันได้ การใช้ลำแสงไอออนหนักต่างจากการฉายรังสีเอกซเรย์ตรงที่สามารถปรับแต่งให้สร้างประจุความเข้มสูง* และยิงพลังงานสูงกว่าปกติไปยังก้อนเนื้อมะเร็งได้ ทำให้สามารถทำลายเนื้อร้ายโดยสร้างความเสียหายต่อเซลล์ปกติน้อยที่สุด นอกจากนั้น รังสีเอกซเรย์จะมีประสิทธิภาพดีเมื่อใกล้พื้นผิวร่างกายและจะอ่อนลงเมื่อเคลื่อนที่ผ่านร่างกาย แต่ลำแสงไอออนหนักสามารถฉายเล็งไปยังเซลล์มะเร็งได้อย่างแม่นยำ
*กระบวนการที่พลังงานจากการแผ่รังสีผลักอิเล็กตรอน (ประจุลบ) ออกจากอะตอมในวัสดุขณะที่รังสีเคลื่อนผ่านวัสดุนั้น ๆ ทำให้เกิดเป็นอะตอมประจุบวกและอิเล็กตรอนอิสระแยกออกจากกัน
จุดเด่นประการสำคัญที่สุดของการบำบัดรักษาด้วยไอออนหนักคือสามารถทำการรักษาได้โดยไม่สร้างความเสียหายแก่บริเวณที่มีเนื้อร้าย ทั้งยังใช้ได้กับผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคประจำตัวและมีทางเลือกจำกัดได้บ่อยพอสมควร วิธีการบำบัดรักษานี้นับว่าช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตเนื่องจากทำให้สามารถให้การรักษาแก่ผู้ป่วยนอกได้ ทั้งยังมีข้อดีอีกประการ คือผู้ป่วยไม่ต้องลาหยุดหรือลาออกจากงานด้วย นอกจากนั้น ความแม่นยำยังช่วยลดผลกระทบต่อร่างกายและผลข้างเคียง ด้วยเหตุนี้ จึงคาดกันว่าการรักษามะเร็งรุ่นใหม่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบไอออนหนักกันอย่างกว้างขวาง
ขณะนี้โรงพยาบาลคิวเอสทีและศูนย์อื่น ๆ ที่ติดตั้งอุปกรณ์บำบัดรักษาด้วยไอออนหนักแล้ว กำลังทำการทดลองทางคลินิกภายใต้โครงการ "กลุ่มการศึกษาทดลองมะเร็งวิทยาด้วยการฉายรังสีคาร์บอนไอออนแห่งญี่ปุ่น" ทั้งนี้ มีรายงานว่าศูนย์ไอออนหนักญี่ปุ่นตะวันออกกำลังวางแผนจะเริ่มทดลองเชิงคลินิกกับโรคมะเร็งตับและตับอ่อนทันทีที่แขนยึดเครื่องฉายรังสีแบบหมุนทำงานได้เสถียรแล้ว
คลิกที่นี่เพื่ออ่านข่าวประชาสัมพันธ์พร้อมมัลติมีเดียฉบับเต็ม: https://www.toshiba-clip.com/en/detail/p=3234