ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานต้อนรับ พลเรือเอกปวิตร รุจิเทศ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน และคณะ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและประชุมหารือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเกษตรกรรม ได้แก่ 1.จุลินทรีย์ทางการเกษตร เพื่อนำไปใช้ในการเพาะปลูกและกำจัดโรคพืช 2.จุลินทรีย์สำหรับสำหรับบำบัดน้ำเสีย เพื่อนำไปย่อยไขมัน และเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อนำไปเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ รักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน โอกาสนี้ นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. ดร.ประทีป วงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน วว. พร้อมด้วย ผู้บริหาร นักวิจัย ร่วมต้อนรับและประชุมหารือในหัวข้อดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุม RD 1 วว. เทคโนธานี คลองห้า จ.ปทุมธานี
โอกาสนี้ วว. นำเสนอนิทรรศการผลงานวิจัยพัฒนาด้านการเกษตรที่นำไปใช้งาน ช่วยตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีคุณสมบัติช่วยการเจริญเติบโตของพืช อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่พี่น้องเกษตรกร วว. พัฒนาสูตรปุ๋ยให้มีความเหมาะสมต่อความต้องการของพืชและการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้เกิดการผลิตอย่างยั่งยืน ลดการสูญเสียปุ๋ยส่วนเกินที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพบำรุงทั้งต้นไม้และบำรุงดิน ทำให้ต้นข้าว ไม้ผล พืชเกษตร เช่น ทุเรียน ขนุน ลองกอง ลำไย ส้มโอ ยางพารา เจริญงอกงามดี ให้ผลผลิตสูง และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน
สารชีวภัณฑ์ มีสายการผลิตครอบคลุมตอบโจทย์ทั้งสายการผลิตเชื้อราและแบคทีเรีย มีประสิทธิภาพควบคุมศัตรูพืช กำลังการผลิตรวมต่อปี 115,000 ลิตร เพื่อการขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมของประเทศให้ยั่งยืน สามารถผลิตสารชีวภัณฑ์ได้ 3 รูปแบบ คือ หัวเชื้อเหลว หัวเชื้อผง และหัวเชื้อสด ในส่วนของบรรจุภัณฑ์มี 3 ขนาด คือ เล็ก กลาง และใหญ่ ตอบโจทย์ผู้ใช้ชีวภัณฑ์ทั้งรายย่อยและรายใหญ่ ทั้งนี้ วว. มีจุดแข็งด้านชีวภัณฑ์ คือ มีโครงสร้างพื้นฐานโรงงาน ICPIM 2 ที่มีศักยภาพตอบโจทย์ให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทย ในการให้บริการครบวงจรทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ใหม่ๆ ในระดับห้องปฏิบัติการ และทดสอบกระบวนการผลิต ขยายจุลินทรีย์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมีการวิจัยพัฒนาถังหมักระดับชุมชน ในรูปแบบถังสแตนเลสและถังพลาสติก ที่สามารถตอบโจทย์เกษตรกร ผู้ประกอบการ ในการขยายชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานให้เพียงพอกับการใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรม
วว. พร้อมให้บริการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้คำแนะนำปรึกษาด้านธุรกิจ ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน เสริมแกร่งเกษตรกร ผู้ประกอบการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ โทร. 0 2577 9000 โทรสาร 0 2577 9009 เว็บไซต์ www.tistr.or.th E-mail : tistr@tistr.or.th line@TISTR IG : tistr_ig