กว่า 10 ปีที่ Quick ERP (ควิก อีอาร์พี) สั่งสมประสบการณ์ สร้างผู้เชี่ยวชาญด้านไอที พัฒนาซอฟต์แวร์ ERP ซึ่งตอบโจทย์เทคโนโลยี และรูปแบบธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จนวันนี้ก้าวขึ้นมายืนเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ ERP แถวหน้าของประเทศไทย แต่นี่เป็นเพียงความสำเร็จด่านแรก เพราะเป้าหมายใหญ่ของ Quick ERP คือการสร้าง "ดิจิทัลโซลูชัน" ที่เชื่อมเทคโนโลยี (IT) เข้ากับระบบปฏิบัติการ (OT) และ ดิจิทัลโปรดักส์ ให้ข้อมูลทั้งระบบได้รับการเชื่อมแบบไร้รอยต่อ ธุรกิจสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้มากที่สุด นำมาใช้ประโยชน์ได้สูงสุดภายในเวลาอันรวดเร็ว และพัฒนาสู่การเป็น Digital Business Ecosystem หรือ ระบบนิเวศธุรกิจดิจิทัลของ Quick ERP ที่รวบรวมดิจิทัลโซลูชันแบบครบวงจร ตอบโจทย์ธุรกิจทุกรูปแบบ ทุกอุตสาหกรรม ให้ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสนำดิจิทัลและเทคโนโลยีไปใช้ได้ง่ายขึ้น ตรงความต้องการมากขึ้น แก้ปัญหาตรงจุด ไม่ต้องเสี่ยงผิดพลาด และเกิดประโยชน์สูงสุด ให้ภาคธุรกิจไทยก้าวสู่ดิจิทัล ทรานส์ฟอเมชัน (Digital Transformation) อย่างมีประสิทธิภาพ และเติบโตได้จริง และนี่คือพันธกิจสำคัญของ Quick ERP กับก้าวปีที่ 11 และต่อจากนี้
สร้างพันธมิตรที่แข็งแกร่งรอบด้าน เพื่อพัฒนาระบบนิเวศธุรกิจดิจิทัลที่ยั่งยืน
Quick ERP ก้าวสู่ปีที่ 11 พร้อมกับนโยบายสร้างพันธมิตรที่แข็งแกร่ง โดย ไพศาล แซ่ลี้ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ควิก อีอาร์พี จำกัด เชื่อว่าการจับมือกับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เป็นอีกหัวใจของการสร้าง Ecosystem หรือระบบนิเวศธุรกิจดิจิทัลที่ยั่งยืน ซึ่ง Quick ERP นับเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ไทยรายแรกๆ ที่เป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัทชั้นนำระดับโลกทั้งฝั่งซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ คือ Microsoft และ Rockwell Automation ทำให้วันนี้ Quick ERP มีดิจิทัลโปรดักส์ และเทคโนโลยีหลากหลาย เชื่อถือได้และมีมาตรฐานระดับโลก ขณะเดียวกัน Quick ERP ก็สร้างและพัฒนา Quicker (ควิกเกอร์) หรือ วิศวกรและผู้เชี่ยวชาญทั้งด้าน IT และ OT ที่สามารถนำเทคโนโลยีจากพาร์ตเนอร์มาต่อยอด หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมมาเชื่อมต่อ เพื่อให้ตอบโจทย์ธุรกิจไทยมากยิ่งขึ้น
"การเป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัทชั้นนำระดับโลก ทำให้ Quick ERP สามารถพัฒนาการให้บริการได้อย่างครอบคลุม ทั้ง บริการด้านธุรกิจ, บริการด้านคลาวด์, บริการด้านอุตสาหกรรม 4.0 และบริการด้านพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งแต่ละบริการจะมีโซลูชันที่ตอบโจทย์ตามลักษณะของธุรกิจโดยเฉพาะ ทั้ง อุตสาหกรรม, ธุรกิจกระจายสินค้า, ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจบริการ ประกอบได้ด้วยเทคโนโลยี และดิจิทัลโปรดักส์ ที่ทันสมัย มีมาตรฐาน และหลากหลายจาก Quick ERP และพาร์ตเนอร์ ซึ่งลูกค้า หรือธุรกิจสามารถเลือกใช้ ให้เหมาะกับความต้องการที่แตกต่างได้อย่างอิสระ" คุณไพศาล กล่าว
Quick ERP มีดิจิทัลโปรดักส์ที่หลากหลาย เช่น ERP, MES, CRM, RPA และ SCADA รวมถึงเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม 4.0 ไม่ว่าจะเป็น AGV, IoT, Cobot และ Hololen เทคโนโลยีทั้งหมดนี้จะนำมาผสมผสาน สร้างเป็นโซลูชัน โดย Quicker ผู้เชี่ยวชาญจาก Quick ERP โดยกระบวนการทำงานของ Quicker จะต้องทำความเข้าใจปัญหา และความต้องการของผู้ประกอบการ ลักษณะของกิจการ รูปแบบของธุรกิจจากการลงพื้นที่จริง เพื่อคัดสรรเทคโนโลยี และเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อออกแบบให้ตรงโจทย์ และเกิดประโยชน์กับลูกค้ามากที่สุด
เสริมจุดเด่นด้วย "Qoot" AI ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา Quick ERP พัฒนาซอฟต์แวร์มาอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงสร้างซอฟต์แวร์ที่ตรงตามความต้องการของตลาด หรือ ธุรกิจ ยังคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อมาช่วยเพิ่มความสามารถให้กับโซลูชันที่มอบให้ลูกค้า หนึ่งในนั้นคือ "Qoot" (คูท) AI ผู้ช่วย ที่พัฒนาขึ้นมาทำหน้าที่เป็นผู้ติดตาม ประสานงาน และสื่อสารกับผู้ใช้งาน โดยผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าความสามารถ และข้อมูลที่ต้องการให้ Qoot สอดส่อง ติดตาม และแจ้งเตือน ช่วยให้สามารถวางแผน หรือ คาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ จากการแจ้งเตือนของ Qoot
คุณไพศาล กล่าวว่า "Quick ERP พัฒนา Qoot ขึ้นมาปีนี้ (2022) เป็นเฟสแรก ความสามารถในเฟสแรกนี้จะเน้นไปที่การติดตามประสานงาน และสื่อสารระหว่างดิจิทัลโปรดักส์, เครื่องจักร, ข้อมูล และผู้ใช้งาน โดยผู้ใช้งานสามารถตั้งค่า Qoot ให้เหมาะสมกับรูปแบบ และความต้องการได้ ซึ่งลูกค้าที่ใช้บริการดิจิทัลโซลูชัน ของ Quick ERP ก็จะได้ Qoot ติดตั้งไปด้วย"
ทั้งนี้ Qoot จะยังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขีดความสามารถตามการพัฒนาเทคโนโลยีของ Quick ERP โดยตั้งเป้าให้ในอนาคต Qoot จะกลายมาเป็นผู้ช่วยสำคัญที่ทำให้กระบวนการทำงานของธุรกิจสะดวก รวดเร็ว และลดความผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นอีกจุดเด่นและนวัตกรรมจาก Quick ERP
ให้บริการดิจิทัลโซลูชันที่สะดวก เหมาะกับธุรกิจ
ประสบการณ์ที่เป็นทั้งทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ และที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี ทำให้ Quick ERP เห็นปัญหามากมายของผู้ประกอบการ ทำให้ Quick ERP สามารถนำมาต่อยอดสู่การออกแบบและสร้างดิจิทัลโซลูชันที่เข้าใจธุรกิจ ทดลอง ทดสอบ จนได้ต้นแบบโซลูชันมาตรฐานที่ใช้ได้จริง ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจแบบครอบคลุม ผู้ประกอบการมีตัวเลือกโซลูชันที่ตรงใจ เหมาะสมกับต้นทุน และการวางแผนโมเดลธุรกิจที่แตกต่างกัน
คุณไพศาล อธิบายว่า "การลงทุนด้านดิจิทัล เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและลงทุนน้อยกว่าการลงทุนด้านอื่นๆ หากเทียบกับประโยชน์และการใช้งานที่ได้รับ ซึ่งผู้ประกอบการบางรายอาจคิดว่าการลงทุนด้านดิจิทัลใช้ต้นทุนสูง แต่ในความเป็นจริง การพัฒนาด้านดิจิทัล สามารถลงทุนแบบค่อยเป็นค่อยไปตามแผนการพัฒนาของธุรกิจ ไม่จำเป็นต้องลงทุนจำนวนมากในครั้งเดียว และนี่ถือเป็นข้อดีของการลงทุนด้านดิจิทัล เพราะลงทุนทีละน้อยๆ ผู้ประกอบการสามารถปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม หรือลดบางส่วนตามความเหมาะสมได้ตลอดเวลา"
ความสำเร็จของลูกค้า คือความสำเร็จของ Quick ERP
"ความสำเร็จไม่ใช่ว่าเราขายได้เท่าไหร่ หรือ ลูกค้านำโซลูชันของเราไปใช้กี่ราย แต่ความสำเร็จของ Quick ERP คือ ลูกค้าได้รับประโยชน์จากโซลูชันของเราหรือไม่ และเป็นประโยชน์ที่ลูกค้าต้องได้รับจริง" นี่จึงถือเป็นความสำเร็จที่เป็นหัวใจของชาว Quicker ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา สะท้อนผ่านโซลูชัน หรือ นวัตกรรมที่ Quick ERP พัฒนาแต่ละผลงานซึ่งต้องชี้ชัดไปที่ประโยชน์ที่ผู้ใช้งาน หรือ ธุรกิจที่นำไปใช้งานจะต้องแก้ปัญหาได้ ลดต้นทุน หรือ ช่วยให้ธุรกิจมีกำไรมากขึ้น
"เราไม่ใช่ขายของแล้วจบ แต่เราต้องเรียนรู้ด้วยว่า สินค้าและบริการของเราเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าหรือไม่ Quicker ทุกคนต้องตอบได้ว่าลูกค้าได้ประโยชน์อะไร และต้องผลักดันให้ลูกค้าสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อธุรกิจได้ และในอนาคตเราจะต้องมีการประเมินผลที่ชัดเจน การทำแบบสอบถาม หรือ survey จากลูกค้า เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาโซลูชัน และสร้างบริการที่ดี เพราะเราเชื่อว่าสินค้าคุณภาพ ต้องมาพร้อมกับบริการที่ดีเช่นกัน" คุณไพศาล เสริม
พัฒนา Quicker ขับเคลื่อน Quick ERP
"เราพูดกันเสมอในบริษัทว่า อยากเรียนต้องได้เรียน อยากสอบ Certificate ก็ต้องได้สอบ" คุณไพศาล แซ่ลี้ เล่าว่า Quick ERP ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร ไม่น้อยไปกว่าการพัฒนาเทคโนโลยี เพราะ Quicker ทุกคน เป็นหนึ่ง Digital Business Ecosystem เป็นกลไกสำคัญในการสร้างดิจิทัลโซลูชัน และขับเคลื่อนให้ประสบความสำเร็จ ดังนั้นชาว Quicker จึงต้องไม่หยุดเรียนรู้ รักการพัฒนา โดยบริษัทสนับสนุนการพัฒนาทักษะต่างๆ ด้วยงบหลักล้านบาทที่จัดสรรเพื่อการพัฒนาศักยภาพของ Quicker โดยฉพาะ
บ่มเพาะเทคโนโลยีและนวัตกรรม เตรียมพร้อมสู่ดิจิทัลแห่งอนาคต
แม้ชื่อของ Quick ERP จะชี้ชัดถึงความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี ERP แต่ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน และอนาคต Quick ERP ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีอื่นๆ ต่อเนื่อง โดยในระยะ 5 ปีต่อจากนี้ Quick ERP โฟกัสที่การพัฒนา Cloud computing, เทคโนโลยี IoT และ Edge, พัฒนานวัตกรรม AI เติบโตเป็น Digital Twin และสร้างสรรค์ดิจิทัลโปรดักส์ใหม่ๆ ที่รองรับโลกของ Metaverse ทั้งหมดนี้เป็นเทคโนโลยีที่ Quick ERP ตั้งใจพัฒนาขึ้น เพื่อสร้างให้ Digital Business Ecosystem ของ Quick ERP ที่ก้าวทันยุคสมัย ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน และที่สำคัญคือต้องสร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับภาคธุรกิจได้อย่างยั่งยืน