การตรวจคัดกรองก่อนตั้งครรภ์และวิธีการรักษาในปัจจุบันสามารถช่วยคู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยากได้อย่างไร? | BGI

ข่าวทั่วไป Thursday September 22, 2022 10:56 —ThaiPR.net

การตรวจคัดกรองก่อนตั้งครรภ์และวิธีการรักษาในปัจจุบันสามารถช่วยคู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยากได้อย่างไร? | BGI

วีดีโอ: https://www.youtube.com/watch?v=xBG2NykCS6U

"เราห่วงใย ใส่ใจ สุขภาพคุณ" หรือ Your Health, Our Concern ซี่รีย์ที่มุ่งเน้นให้ความรู้ทางการแพทย์ โดยคลิปวีดีโอนี้ได้สัมภาษณ์สูตินรีแพทย์ แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ที่ Genesis Fertility Clinic (GFC) ประเทศไทย คุณหมอได้ให้คำแนะนำกับคุณพ่อคุณแม่ที่วางแผนตั้งครรภ์ และได้แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองก่อนตั้งครรภ์ว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยากได้อย่างไร

แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรักษาภาวะมีบุตรยาก โดยมีประสบการณ์ในด้านนี้มากว่า 10 ปี

ปัญหาเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากที่พบบ่อย

"อายุ" มักเป็นสาเหตุหลักของภาวะมีบุตรยาก แต่ประจำเดือนมาไม่ปกติอาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติเกี่ยวกับถุงน้ำ เช่น ถุงน้ำรังไข่ ซึ่งโรคแบบนี้ควรตรวจพบในระยะแรกโดยการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนในอนาคต

การตรวจคัดกรองเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจและรักษาภาวะมีบุตรยาก โดยเฉพาะการตรวจเลือดและน้ำอสุจิของฝ่ายชาย และการตรวจอัลตราซาวนด์มดลูกและรังไข่ของฝ่ายหญิง

การรักษาภาวะมีบุตรยาก

เมื่อตรวจพบสาเหตุที่แท้จริงของภาวะมีบุตรยาก คู่สมรสจะได้รับคำแนะนำวิธีการรักษา ประกอบด้วยสามขั้นตอนหลักดังนี้:

  • ช่วยคำนวณวันตกไข่ของสุภาพสตรีเพื่อช่วยการตั้งครรภ์เองตามธรรมชาติ
  • หากการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติไม่สำเร็จ อาจรักษาด้วยวิธี IUI หรือการฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูก
  • หาก IUI ไม่ได้ผล สามารถพิจารณาทางเลือกอื่น เช่น IVF (การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย) หรือ ICSI (การฉีดอสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่)
  • IVF คือการเก็บไข่และอสุจิ แล้วผสมในหลอดทดลอง จากนั้นคัดเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุดและนำใส่เข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์เนื่องจากมีตัวอ่อนที่ดีและแข็งแรงที่สุด อีกวิธีหนึ่งคือ ICSI โดยใช้เข็มดูดอสุจิและฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง ซึ่งวิธี ICSI ได้รับความนิยมมากว่าเนื่องจากจะทำให้มีโอกาสในการตั้งครรภ์ที่สูงกว่า

    บทบาทสำคัญของการตรวจคัดกรอง

    การตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อเบื้องต้น เช่น ไวรัสตับอักเสบบี HIV และโรคซิฟิลิส มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการตรวจพบพาหะของธาลัสซีเมียถือเป็นปัญหาใหญ่และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากเพื่อหาวิธีป้องกันไม่ให้ส่งต่อโรคไปยังบุตรได้ เมื่อตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน แนะนำให้การตรวจตัดกรองโครโมโซมของทารกในครรภ์ (NIPT) เนื่องจากผลการทดสอบดังกล่าวมีความแม่นยำสูงและช่วยลดความกังวลที่อาจเกิดขึ้นได้

     "ทุกครรภ์นั้นแตกต่างกัน" แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม กล่าวว่าแม้ลูกคนแรกปกติ ก็ไม่อาจรับประกันได้ว่าลูกคนที่สองจะเป็นเช่นนั้น จึงควรมีการตรวจคัดกรองในทุกๆครรภ์ คุณหมอยังเน้นย้ำอีกว่า ในปัจจุบันไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะยืนยันว่าการติดโรคโควิด-19 ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ของผู้ชายและผู้หญิงหรือไม่

    ในบรรดาคู่สมรสที่แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรมรักษาได้สำเร็จ คุณแม่วัย 42 ปีรายหนึ่ง ซึ่งได้ตั้งครรภ์ธรรมชาติมานานแล้ว แต่ผลการตรวจโครโมโซมไม่ค่อยดี มีไข่เพียง 3 ใบ และตรวจโครโมโซมผ่านแค่ใบเดียว หลังจากการรักษาไปสามรอบ ผลการตรวจตัวอ่อนเป็นปกติ ลูกเกิดมาแข็งแรงดี และคุณแม่มีความสุขมาก 

    แพทย์หญิงปรวัน ตั้งธรรม ฝากถึงผู้สนใจการรักษาภาวะมีบุตรยากว่า "ไม่ต้องกังวลเรื่องการตรวจ ความเจ็บปวด หรือสิ่งที่หมอจะทำ ผ่อนคลาย ไม่อยากให้กังวลไปก่อน"

     เกี่ยวกับ NIFTY(R): การตรวจตัดกรองโครโมโซมของทารกในครรภ์

    รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NIFTY(R) Test หรือการตรวจตัดกรองโครโมโซมของทารกในครรภ์ (NIPT) ชั้นนำของโลก สามารถดูที่เว็บไซต์ของเรา NIFTY ได้ตรวจมาแล้วมากกว่า 10,000,000 รายทั่วโลก NIFTY เหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 10 สัปดาห์ขึ้นไป และทราบผลภายใน 7-10 วันทำการ

     เกี่ยวกับ BGI Genomics

    BGI Genomics มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน เป็นผู้ให้บริการในการจัดลำดับจีโนมและโปรตีโอมิกชั้นนำของโลก บริการของเราครอบคลุมกว่า 100 ประเทศและภูมิภาค และมีความร่วมมือกับสถาบันการแพทย์มากกว่า 2,300 แห่ง


    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ