กระแสการลาออกระลอกใหญ่ที่อาจไม่เกิดขึ้นจริง The 'Not-so Great' Resignation

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 5, 2022 09:00 —ThaiPR.net

กระแสการลาออกระลอกใหญ่ที่อาจไม่เกิดขึ้นจริง The 'Not-so Great' Resignation

กระแสการลาออกระลอกใหญ่ที่อาจไม่เกิดขึ้นจริง The 'Not-so Great' Resignation

โรเบิร์ต วอลเทอร์ส เปิดเผยรายงานฉบับล่าสุด ถึงผลสำรวจและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ "กระแสการลาออก (Great Resignation)" ของพนักงานในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 50% ของพนักงานในไทย (ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เคยคิดลาออกในปีที่ผ่านมาแต่ยังไม่ได้ลาออกจริง

ข้อมูลจากผลการสำรวจจากพนักงานและบริษัทใน 6 ประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แสดงให้เห็นว่า:

  • 4 ใน 5 ต้องการลาออกในปี 2564 แต่มีพนักงานถึง 42% ที่ยังทำงานที่เดิมจนถึงปัจจุบันอยู่
  • 86% ของพนักงานได้ ทบทวนถึงความสัมพันธ์ ในการทำงานในปี 2564 โดยให้น้ำหนักกับเพื่อนร่วมงานที่สร้างแรงบันดาลใจและวัฒนธรรมการทำงานเป็นอันดับต้น
  • 40% ของพนักงานไม่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ในด้านการสร้างความผูกพันแก่พนักงาน

ภาพรวมประเทศไทย:

  • 80% เคยคิดลาออกในปี 2564 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในภูมิภาคเช่นเดียวกับสิงคโปร์ รองจากมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม 56% รู้สึกไม่สบายใจที่จะลาออกหากยังไม่มีงานใหม่รองรับ
  • ช่องว่างระหว่างการรับรู้: 56% ของบริษัทในประเทศไทยมีการดำเนินมาตรการในการรักษาพนักงาน แต่ 36% ของพนักงานกลับไม่รู้สึกถึงความพยายามเหล่านี้เลย
  • การปรับขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง และการเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาพนักงานผู้มีความสามารถสูงไว้

'กระแสของปรากฎการณ์การลาออกระลอกใหญ่ (Great Resignation)' อาจไม่เกิดขึ้นจริงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยอ้างอิงจากการสำรวจล่าสุดจาก โรเบิร์ต วอลเทอร์ส บริษัทจัดหางานผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ พบว่าพนักงานต่างให้ความสำคัญกับความมั่นคงของงานในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน โดยมากกว่าครึ่ง (59%) ระบุว่าพวกเขารู้สึกไม่สบายใจที่จะลาออกโดยที่ยังไม่สามารถหางานใหม่ได้ และ 81% ของผู้ที่คิดที่จะลาออกยินดีที่จะเปลี่ยนใจหากเงื่อนไขที่บริษัทจะเสนอตรงกับความต้องการ

การจ้างพนักงานใหม่ยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งพบว่า 76% ของบริษัทประสบปัญหาดังกล่าวในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีช่องว่างในการรับรู้เกี่ยวกับความพยายามของบริษัทในการรักษาพนักงานไว้ เนื่องจาก 40% ของพนักงานไม่ได้รู้สึกว่าบริษัทจะมีมาตรการในการสร้างความผูกพันและใส่ใจในข้อกังวลต่างๆของพวกเขา

ข้อค้นพบที่สำคัญจากการสำรวจโดยโรเบิร์ต วอลเทอร์ส เรื่องกระแสการลาออก ที่จัดทำขึ้นในเดือนมิถุนายน 2565 ซึ่งครอบคลุม 6 ประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซียและเวียดนาม) ที่เก็บข้อมูลจากพนักงานกว่า 2,600 คนและฝ่ายที่ดูแลการสรรหาบุคลากรในบริษัทต่างๆ มากกว่า 1,100 แห่ง ที่เจาะลึกถึงทัศนคติของพนักงาน เหตุผลในการลาออกและปัจจัยที่จะช่วยในการรักษาพนักงานไว้กับบริษัท

ภาพรวมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: เปลี่ยนตำแหน่งแทนการลาออก

79% ของพนักงานที่ทำการสำรวจยอมรับว่ามีความตั้งใจที่จะลาออกในปีที่ผ่านมา แต่กว่า 4 ใน 10 หรือคิดเป็น 42% ยังไม่ได้ลาออกจริง   มาเลเซียมีสัดส่วนของพนักงานที่คิดลาออกสูงที่สุดในปีที่ผ่านมา (82%) รองลงมาคือสิงคโปร์ (80%) และไทย (80%) 50% พนักงานในไทย (สูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เคยคิดที่จะลาออกในปีที่ผ่านมาแต่ยังคงอยู่กับบริษัทจนถึงปัจจุบัน 

นายแกริต บุคกาต กรรมการผู้จัดการ บริษัทโรเบิร์ต วอลเทอร์ส เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มองว่านายจ้างจะเจอภาวะการจ้างงานที่ดุเดือดในช่วงที่เหลือของปี 2565 และ 2566  "ประเด็นสำคัญนอกเหนือไปจาก "กระแสการลาออกระลอกใหญ่" คือตลาดการจ้างงานที่จะขยายตัวมากขึ้นทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีหน้า เนื่องจากพนักงานไม่ได้ตัดสินใจลาออกอย่างไม่ได้ไตร่ตรอง แต่ต้องการเปลี่ยนงานใหม่มากกว่า ยิ่งเมื่อเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เราจึงแนะนำให้พนักงานตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง และย้ายงานเฉพาะเมื่อมีข้อเสนอเข้ามาใหม่แล้วเท่านั้น"

สรุปประเด็นสำคัญในประเทศไทย: บริษัทยังมีเวลาที่จะรักษาพนักงานเอาไว้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่พนักงานรับรู้และสิ่งที่บริษัทกำลังพยายามทำกลับสวนทางกัน

80% ของพนักงานในไทยเคยคิดที่จะลาออกในปีที่ผ่านมา โดย 50% ยังไม่ได้ลาออกจริงซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในภูมิภาค เหตุผลหลักที่ทำให้พวกเขาอยู่ต่อ ได้แก่ ยังไม่พบงานที่เหมาะสมที่สุด (58%) ขาดโอกาสในตำแหน่งที่เลือก (32%) และความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงในงานกับบริษัทใหม่ (24%) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพนักงานมีโอกาสที่จะย้ายงานได้อยู่เสมอ และส่วนใหญ่กำลังวางแผนย้ายงานในอนาคตอันใกล้หากมีตำแหน่งที่ตอบโจทย์ 

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจ มากกว่า 4 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสำรวจในไทย ระบุว่าพวกเขาจะทำงานกับบริษัทต่อหากมีการเปลี่ยนแปลงที่ตอบโจทย์ สำหรับพนักงานที่คิดลาออก 82% ยอมรับว่า จะเปลี่ยนความคิดหากได้รับข้อเสนอที่เหมาะสมซึ่งเงินเดือนยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการทบทวนการตัดสินใจ  โดยจากการสำรวจพนักงานให้น้ำหนักกับการขึ้นเงินเดือนมากที่สุด (38%) รองลงมาคือการเลื่อนตำแหน่ง (30%) และการเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบในงาน (27%)  เป็นปัจจัยที่จะทำงานกับบริษัทต่อไป

เพื่อนร่วมงานและวัฒนธรรมองค์กรที่สร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานทำงานได้อย่างดีที่สุดเป็นสิ่งที่พนักงานให้ความสำคัญที่สุดในบริษัท (42%) ซึ่งอยู่ในอันดับที่สูงกว่าค่าตอบแทนและสวัสดิการอื่น (41%) รวมถึงการทำงานที่ยืดหยุ่น (35%)

อัตราการลาออกของพนักงานในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา คิดเป็น 72% ของบริษัท  สำหรับมาตรการในการรักษาพนักงาน บริษัทได้ดำเนินมาตรการหลากหลาย ได้แก่ การปรับขึ้นเงินเดือน (56%)  การเพิ่มโอกาสในการฝึกอบรมและการเพิ่มทักษะ (50%) การใช้นโยบายการทำงานที่ยืดหยุ่นและการทำงานจากทางไกล (45%) อย่างไรก็ตาม 36% ของพนักงานที่ถูกสัมภาษณ์กล่าวว่าพวกเขาไม่ได้รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เลยซึ่งสื่อให้เห็นถึงช่องว่างในการสื่อสารมาตรการต่างๆเหล่านี้ลงไปยังพนักงาน

ประเด็นอื่นๆ ในประเทศไทย ที่น่าสนใจได้แก่:

  • ความท้าทายหลักที่นายจ้างต้องเผชิญในการสรรหาพนักงาน คือความคาดหวังในเงินเดือนและผลตอบแทนที่สูงเกินไป (68%)  การแย่งชิงพนักงานระหว่างบริษัทต่างๆ (41%) และการขาดทักษะเฉพาะทาง (40%)
  • พนักงานมากกว่า 4 ใน 5 คน (83%) ได้ประเมินความพึงพอใจในงานอีกครั้งในช่วงปีที่ผ่านมา โดยให้น้ำหนักประเด็นสำคัญ ได้แก่ การมีเวลาอยู่กับครอบครัวและเพื่อนฝูง (67%) สุขภาพกายและใจที่ดี (58%) และการได้ทำงานที่มีความหมายและมีคุณค่า (51%)

นางปุณยนุช ศิริสวัสดิ์วัฒนา ผู้จัดการโรเบิร์ต วอลเทอร์ส ประจำประเทศไทย ให้ความเห็นเกี่ยวกับผลสำรวจเพิ่มเติมว่า "บริษัทต่างๆจำเป็นต้องตื่นตัวเพื่อพร้อมเผชิญกับบริบทการทำงานหลังวิกฤติโรคระบาดและสร้างสภาพแวดล้อมที่ตอบโจทย์กับพนักงานที่ต้องการสรรหาเข้ามาในบริษัท เนื่องจากตลาดการจ้างงานจะมีการแข่งขันสูงกว่าที่เคยเป็นมา มองหากลยุทธ์การสรรหาที่มากกว่าการเสนอค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดี และมีนำเสนอแนวทางใหม่ในการสร้างความผูกพันพนักงาน นอกจากนี้ การสร้างแบรนด์นายจ้างที่ยอดเยี่ยมยังคงต้องดำเนินต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้สมัครได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทแล้ว"

รายละเอียดผลการสำรวจสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่

https://www.robertwalters.co.th/great-resignation-reality-check.html

ติดตามข้อมูลข่าวสารอื่นๆ  เกี่ยวกับ โรเบิร์ต วอลเทอร์ส ประเทศไทย เพิ่มเติมได้ที่ www.robertwalters.co.th 


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ