บางจากฯ ร่วมกับ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เร่งพัฒนา Roadmap เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการดำเนินงานแบบคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน ตามแผน BCP 316 NET ของกลุ่มบางจากฯ รองรับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero Emissions ในปี ค.ศ. 2050 โดยมีเป้าหมายแรกคือเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2030
นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมแสดงความยินดีในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือศึกษาโครงการพัฒนาแผนที่นำทาง (Roadmap) สู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์สำหรับธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมันของบางจากฯ ระหว่างบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยนายโชคชัย อัศวรังสฤษฎ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานบริหารและพัฒนาศักยภาพองค์กร และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) โดยศาสตราจารย์คาซูโอะ ยามาโมโตะ ประธานกรรมการเป็นผู้ลงนาม เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมาย Net Zero ภายในปี ค.ศ. 2050 ของกลุ่มบริษัทบางจาก ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญเป้าหมายแรกคือเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2030 และเพื่อร่วมบรรเทาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนที่รุนแรงมากขึ้นอันเป็นวาระสำคัญทั่วโลก
ความร่วมมือระหว่างบางจากฯ และ AIT ในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งภายใต้แผน BCP 316 NET ของกลุ่มบริษัทบางจาก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ด้วยการศึกษาแนวทางพัฒนาสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์สำหรับธุรกิจโรงกลั่นเช่นเทคโนโลยี Carbon Capture, Utilization and Storage (CCUS) เพื่อดักจับ ใช้ประโยชน์และกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการกระบวนการผลิต รวมถึงการใช้นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในปฏิบัติงาน เป็นต้น
ทั้งนี้ แผน BCP 316 NET ของกลุ่มบางจากฯ มุ่งเน้นกระบวนการที่จับต้องได้และสามารถหวังผลในระยะยาว ครอบคลุม 4 แนวทางสำคัญ ได้แก่ B = Breakthrough Performance เน้นกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน ปล่อยคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม C = Conserving Nature and Society สนับสนุนการสร้างสมดุลทางระบบนิเวศผ่านการดูดซับคาร์บอนด้วยวิถีธรรมชาติ P = Proactive Business Growth and Transition เปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่พลังงานสะอาด มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ด้วยเทคโนโลยีเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน เพิ่มสัดส่วนรายได้จากธุรกิจสีเขียว เน้นขยายการลงทุนใหม่ ๆ ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจ เช่น ธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน หรือ SAF (Sustainable Aviation Fuel) จากน้ำมันใช้แล้วจากการทำอาหารโดยบริษัท BSGF และ NET = Net Zero Ecosystem สร้างระบบนิเวศเพื่อรองรับการไปสู่เป้าหมาย Net Zero อาทิ การดำเนินธุรกิจขนส่งเชื้อเพลิงโดยบริษัท BFPL การก่อตั้ง Carbon Markets Club เพื่อส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิต เป็นต้น