นอสตร้า โลจิสติกส์ ผู้พัฒนาโซลูชันและแพลตฟอร์มด้านการบริหารจัดการงานขนส่งและโลจิสติกส์ และระบบบริหารจัดการขนส่งอัตโนมัติ หรือ NOSTRA LOGISTICS TMS เผยปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมี 3 ปัจจัยหลัก คือ 1. ผู้ขับรถ 2. ยานพาหนะ และ 3. ถนนและสิ่งแวดล้อม พบจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากรถบรรทุกรวม 563 ครั้งในปี 64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.74% จากปีก่อน ล่าสุด นอสตร้า โลจิสติกส์ พัฒนา NOSTRA LOGISTICS All In One สุดยอดเทคโนโลยีกล้องติดรถขนส่ง ภายใต้ เทเลเมติกส์โซลูชั่น เพื่อเพิ่มความปลอดภัยงานขนส่งและโลจิสติกส์ พร้อมหนุนมาตรการภาครัฐสู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของธุรกิจบริการขนส่งเพื่อยกระดับความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนและลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานระบบเทเลเมติกส์แล้วกว่า 8,000 คัน เล็งขยายฐานผู้ใช้เพิ่ม 15% ภายในปี 2566
นางวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า ธุรกิจการขนส่งสินค้าทางถนนเป็นประเภทการขนส่งหลักของประเทศไทยโดยมีสัดส่วนถึง 80% ของการขนส่งทุกรูปแบบ และเติบโตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มขึ้นไปด้วย พบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน 3 ปัจจัยหลัก คือ 1. ผู้ขับรถ 2. ยานพาหนะ และ 3. ถนนและสิ่งแวดล้อม โดยจากข้อมูลสถิติของกรมการขนส่งทางบก ในปี 2564 พบจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากรถบรรทุก รวมทั้งสิ้น 563 ครั้ง เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 9.74 จากปีก่อน โดยสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมผู้ขับรถจำนวน 383 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 68 ซึ่งสาเหตุพฤติกรรมหลักมาจากความประมาทเป็นอันดับแรก ขับรถเร็วและหลับในเป็นอันดับที่สองในจำนวนเท่ากัน และอันดับที่สามเกิดจากการขับรถตามหลังในระยะกระชั้นชิด
"จากข้อมูลอุบัติเหตุดังกล่าว รถบรรทุกมักจะทำให้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงสูง การเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งแต่ละครั้งยังก่อให้เกิดความสูญเสียมากมาย ทั้งการสูญเสียในโอกาสทางธุรกิจและการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งยังส่งผลกระทบทั้งต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและระบบการขนส่งสาธารณะโดยรวม ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการขนส่งจึงยิ่งต้องให้ความสำคัญต่อการขับขี่และการใช้รถใช้ถนน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและเพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม พร้อมกันนี้หน่วยงานภาครัฐได้ออกมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของธุรกิจบริการขนส่งและลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีสำหรับรถยนต์ที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ซึ่งสามารถช่วยผู้ประกอบการขนส่งในการควบคุม ตรวจสอบ และดูแลพฤติกรรมการขับรถของพนักงานขับรถได้แบบเรียลไทม์ เพื่อการบริหารจัดการระบบการขนส่งที่ปลอดภัยได้ตามมาตรฐานสากล" นางวรินทรกล่าว
นางวรินทรกล่าวเพิ่มเติมว่า นอสตร้า โลจิสติกส์ ได้พัฒนา NOSTRA LOGISTICS All In One สุดยอดเทคโนโลยีเทเลเมติกส์เพิ่มความปลอดภัยงานขนส่งและโลจิสติกส์ ผสมผสานความสามารถระหว่างกล้องวิดีโอในรถยนต์ (Mobile Digital Video Recorder -MDVR) การแจ้งเตือนการขับรถ (Advance Driver Assistance System - ADAS) และการตรวจจับความเสี่ยงพฤติกรรมการขับรถ (Driver Monitoring System - DMS) ใช้ในการตรวจสอบ บันทึก และแจ้งเตือนพฤติกรรมการขับรถอันตรายที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างเรียลไทม์ โดยมีความสามารถในการแจ้งเตือนผู้ขับรถเมื่อมีการเปลี่ยนเลนกะทันหัน เตือนให้รักษาตำแหน่งรถในเลน เมื่อมีการขับรถระยะกระชั้นชิด ขณะรถคันหน้าเคลื่อนที่ และขณะรถคันหน้าหยุดนิ่ง แจ้งเตือนเมื่อมีสิ่งกีดขวางอยู่หน้ารถ เตือนเมื่อรถคันหน้าเริ่มขยับ นอกจากนี้ ยังมีระบบกล้องตรวจจับความเหนื่อยล้าของตาขณะขับรถ ตรวจจับการเบี่ยงเบนความสนใจขณะขับรถ พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถทั้งแบบแนบหูและจ่อปาก ตรวจจับการสูบบุหรี่ขณะขับรถ โดยสามารถใช้งานรูปแบบภาษาไทย และรองรับการติดตั้งเบาะสั่นเพื่อเตือนพนักงานขับรถ โดยเฉพาะเมื่อมีการละสายตาจากถนน
การติดตั้งอุปกรณ์ NOSTRA LOGISTICS All In One ในรถขนส่ง ยังมีประโยชน์ในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการป้องกันพฤติกรรมการขับรถที่ไม่ปลอดภัย สามารถติดตามพฤติกรรมผู้ขับรถได้ตลอดแบบเรียลไทม์ เพิ่มการสื่อสารระหว่างศูนย์ควบคุมและผู้ขับรถ ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่ส่งผลเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน มีรายงานและประเมินผลการขับขี่ของพนักงานขับรถเพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพงานขนส่งให้ดีขึ้น ปัจจุบันมีผู้ประกอบการขนส่งและโลจิสติกส์สนใจใช้งานแล้วกว่า 8,000 คัน โดยบริษัทฯ มีแผนที่จะเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอีก 15% ภายในปี 2566 นางวรินทรกล่าวทิ้งท้าย
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NOSTRA LOGISTICS All In One https://www.nostralogistics.com/hardware/#allinone
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท จีไอเอส จำกัด โทร 02-116-4478 และ 02-116-4161