TikTok เสริมพลังสุขภาพใจร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัยบนโลกดิจิทัล เนื่องในโอกาส World Mental Health Day และสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติของไทย เชิญผู้เชี่ยวชาญเรื่องสุขภาพจิต และครีเอเตอร์ ในฐานะผู้ผ่านประสบการณ์บนโลกดิจิทัลมาอย่างโชกโชน มาพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นสุขภาพใจ เพื่อให้ผู้คนทุกช่วงวัย รับรู้ถึงผลกระทบของปัญหาสุขภาพจิตและสามารถรับมือได้อย่างดี ใน TikTok Talk "Better Together with TikTok ดูแลใจไปด้วยกันกับ TikTok"
โดยความพิเศษของ TikTok Talk ในครั้งนี้คือการเปิดพื้นที่ให้คนได้แชร์เรื่องราวและประสบการณ์ของตนเองที่ส่งผลต่อสุขภาพใจ ผ่าน #ดูแลใจไปด้วยกัน และช่องทางอื่นๆ โดยมี หมอแน๊ต จากกรมสุขภาพจิต @thaidmh และครีเอเตอร์ชื่อดัง คุณปาร์ตี้ นักพาทย์ฟิลกู้ด @papaparty_feelgood และคุณอีฟสึ @eve_tsu ตลอดจน คุณเม ชนิดาจาก TikTok มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และหยิบหยกเคสต่างๆ เพื่อแชร์แนวทางแก้ปัญหา เยียวยาจิตใจ และส่งพลังบวกอย่างเต็มที่ ส่งผลให้ไลฟ์ในครั้งนี้ สร้างความประทับใจและการมีส่วนร่วมกับผู้คนมากกว่า 1.35 แสนคนที่ร่วมรับชม
ส่องสถานการณ์สุขภาพใจของคนไทยในวันนี้
ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ พบผู้มีภาวะเครียดเสี่ยงซึมเศร้า และเสี่ยงฆ่าตัวตายเป็นสัดส่วนสูงมากในกลุ่มเด็กและเยาวชน รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโดยตรงทางเศรษฐกิจ จากการตกงาน หรือสูญเสียรายได้หรือธุรกิจ มีความเสี่ยงในภาวะสุขภาพจิตดังกล่าวสูงกว่าคนทั่วไปถึง 2-3 เท่า เลยทีเดียว จาก ผลวิจัยล่าสุดของ "Mintel" พบ ผู้บริโภคชาวไทยราว 8 ใน 10 ประสบปัญหา "สุขภาพจิต" ส่งผลให้ปัจจุบันคนไทยกว่า 3 ใน 4 (76%) รู้สึกเห็นด้วยว่าควรจะมีการพูดคุยเรื่องสุขภาพจิตในพื้นที่สาธารณะให้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน สอดคล้องกับ ผลวิจัยที่ TikTok ร่วมกับ YouGov เพื่อสำรวจทัศนคติที่มีผลต่อสุขภาพจิต ทั้งในระดับโลกถึงระดับท้องถื่น ในหัวข้อ Global Consumer Attitudes on Mental Well-being พบว่า 47% รู้สึกสบายใจในการได้แขร์ปัญหาสุขภาพจิตหากมีคนที่รักหรือเพื่อนเปิดใจรับฟัง และอีก 31% น่าจะสบายใจที่จะได้แชร์ปัญหาสุขภาพจิตกับคนอื่นตั้งแต่อายุยังน้อย
ในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้คนเป็นสิ่งที่ TikTok ให้ความสำคัญ TikTok ได้เชื่อมโยงกับชุมชนทั่วโลก เพื่อสร้างคอมมูนิตี้ที่มีผู้แบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพจิต ผ่านแฮชแท็ก #MentalHealth ซึ่งมียอดรับชมมากกว่ากว่า 45 พันล้านครั้ง #Selfcare มียอดรับชมมากกว่า 28 พันล้านครั้ง และ #Wellbeing อีกกว่า 1 พันล้านครั้ง
สำหรับประเทศไทย TikTok ได้กระตุ้นให้เกิดคอมมูนิตี้แห่งการแบ่งปันเรื่องราวและประสบการณ์เกี่ยวกับสุขภาพใจในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและองค์กรไม่แสวงผลกำไร เพื่อดำเนินการผ่านแคมเปญต่างๆตลอดทั้งปี และล่าสุดกับ #ดูแลใจไปด้วยกัน ที่มียอดรับชมมากกว่า 13.2 พันล้านครั้ง
ปัจจัยที่ควรเฝ้าระวัง และเคล็ดลับรู้เท่าทันใจ
เห็นได้ว่า คนไทยเริ่มมองเรื่องสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญ เพราะแม้ข่าวสารหรือคอนเทนต์ในโลกดิจิทัลสามารถทำให้เรามีความสุข และสามารถสร้างโอกาสการเติบโต ความรู้ ให้กับผู้คนได้ แต่อาจจะส่งผลให้จิตใจเราย่ำแย่โดยที่ไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นข่าสารด้านลบ หรือการคอมเมนต์ที่ล้ำเส้นกันง่าย พูดอะไรไม่ได้แคร์ โลกดิจิทัลจึงเปรียบเสมือนเป็นดาบ 2 คม เราจึงต้องมีวิจารณญาณเสพแต่สิ่งดีๆ เข้ามา เลือกดูคอมเมนต์ที่ไม่ทำให้เราประสาทเสีย รู้เท่าทันอารมณ์ตนเองและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตัวเราเอง ด้วย "สติ"
อีกปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตในสังคมไม่ว่าจะเป็นการ bully การเปรียบเทียบด้วย beauty standard หรือมาตรฐานความงาม ที่คนเรามักยึดติดจนเกินพอดี และใช้มาตรฐานอื่นๆ ของตัวเอง ไปตัดสินผู้อื่น ทำให้เกิดการทำร้ายจิตใจคนในสังคมต่อกันไปทอดๆ
ผลกระทบของปัญหาสุขภาพจิตทำร้ายเราได้ขนาดไหน?
ถ้าเราขาดการสร้างภูมิคุ้มกันจิตใจไป มันจะส่งผลร้ายกับตัวเราได้เยอะมาก เช่น อาการเครียดสะสมที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า จากทั้ง การโดน bully เจอเรื่องราวที่เป็น toxic ต่อชีวิต หรือสังคม beauty standard เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และกลายเป็นส่วนหนึ่งที่หลายๆ คนเจอ ที่ส่งผลให้บางคนกลายเป็นคนขาดความมั่นใจจนไม่เห็นสิ่งสวยงามในโลก บางคนไม่กล้าเข้าสังคม รู้สึกโดดเดี่ยวขาดความอบอุ่น หรือบางคนอาจจะทำร้ายตนเองจนถึงชีวิตได้
บทบาทสำคัญของการร่วมมือกันขับเคลื่อนสังคมให้รับรู้ถึงปัญหาสุขภาพจิต
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับเรื่องสุขภาพจิตเลยคือ "สังคม" เพราะสภาพแวดล้อมเป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมที่ดี หรือ toxic ฉะนั้นการสร้างพื้นฐานสุขภาพจิตที่ดีให้ทุกคนคือการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ โดยจะส่งผลถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรขึ้น ถ้าเราลองมองย้อนกลับไป เมื่อ 20 ปีก่อน จะเห็นว่าไม่มีใครออกมาพูดเรื่องปัญหาสุขภาพจิตเลย แต่ปัจจุบันกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น ผู้คนในสังคมต่างออกมาพูด ออกมาเตือนสติและช่วยเหลือกันและกัน ทั้งในโลกออฟไลน์และแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ มีการสร้างคอมมูนิตี้มาช่วยเหลือกัน รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญอย่างกรมสุขภาพจิตมาคอยช่วยให้ความรู้และสร้างความตระหนักถึงสิ่งสำคัญ คือการสร้างสถาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี แต่อาจจะไม่เกิดขึ้น ถ้าผู้คนไม่ช่วยกัน เพราะต้องเริ่มจากการให้ความสนใจและใส่ใจคนในครอบครัวหรือคนรอบข้างก่อนเป็นอันดับแรก
วิธีดูแลเยียวยาจิตใจตนเองและผู้อื่น
สุดท้ายการดูแลจิตใจตัวเองให้ดีขึ้นไม่พ้นเรื่องของปรับเปลี่ยนทัศนคติและความคิด ถ้ารอบตัวเรามีแต่สิ่งที่ทำให้จิตใจเราแย่ เราสามารถหาทางออกเบื้องต้นด้วยการปรึกษาใครสักคนที่รับฟังเรา เช่น คนใกล้ชิด คนในครอบครัว หรือจิตแพทย์ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสิ่งที่จะช่วยจิตใจเราให้ดีขึ้น
- ปรับทิศนคติของตัวเอง เปลี่ยนมุมมองที่เป็นบวก อย่าไปยึดติดกับกระแสหรือมาตรฐานสังคมมากเกินไป ให้ตั้งสติบอกตัวเองว่า เรามีคุณค่าเสมอ จะทำให้เราไม่ตกหลุม หรือไหลไปกับกระแสลบที่ผ่านเข้ามา
- ปลูกฝังคนในครอบครัว สถาบันและสังคม ให้รู้จักเคารพตัวเองและผู้อื่น ซึ่งจะนำไปสู่การเกรงใจ และไม่ใช้ถ้อยคำทำร้ายผู้อื่น
- รู้จักหยุด หรือปิดการรับรู้เรื่องราวที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ ในโลกออนไลน์ เรียนรู้ที่จะใช้เครื่องมือเพื่อปิดกั้นคอมเมนต์ที่สร้างพลังลบ
- รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ ไม่จมอยู่กับตัวเอง
- เปิดโอกาสให้ตัวเอง ด้วยการเปิดใจพูดคุยกับคนใกล้ชิต และกล้าที่จะแชร์ ขอให้เชื่อว่ามีคนที่รับฟังเราอยู่เสมอ
- ทำสิ่งที่เราชอบ หางานอดิเรกที่สร้างความสุขให้ตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นดูหนัง ฟังเพลง
- สร้างความสุขเล็กๆ เป้าหมายเล็กๆ ในแต่ละวัน ไม่ต้องทำเรื่องยิ่งใหญ่ก็ได้ แค่รักษาใจตัวเองให้มั่นคงไม่บวกหรือลบจนเกินไป
- เปลี่ยนสภาพแวดล้อม เดินทางท่องเที่ยว ไปในที่ใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคยบ้าง พาตัวเองไปอยู่ในที่ๆ เต็มไปด้วยพลังบวก
- พบจิตแพทย์ หรือขอความช่วยเหลือด้านจิตใจจากผู้เชี่ยวชาญ เป็นทั้งวิธีแก้ไขและวิธีป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว
นี่คือความอบอุ่นและความรู้ที่ TikTok Talk Live ครั้งนี้ได้แชร์ออกมาให้ทุกคนได้รับรู้ สำหรับคนที่อยากรู้ถึงวิธีดูแลใจตัวเองหรือปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://vt.tiktok.com/ZSRWaKNuU/ และทุกคนสามารถติดตาม TikTok Talk ครั้งถัดไปได้ในวันที่ 22 ธันวา จะเป็นเรื่องพิเศษอะไร รอดู 1 ทุ่มตรงที่ TikTokCreators_TH