แรงกดดันของเงินเฟ้อสร้างผลกระทบต่อยอดการใช้จ่ายคลาวด์
การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายบริการคลาวด์สาธารณะของผู้ใช้ทั่วโลกในปี 2566 จะเติบโตเพิ่มขึ้น 20.7% คิดเป็นมูลค่า 591.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจาก 490.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2565 และเติบโตสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ 18.8%
ซิด ณาก รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า "แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบันและสภาพเศรษฐกิจระดับมหภาคกำลังส่งผลกระทบต่อยอดการใช้จ่ายคลาวด์ โดยระบบคลาวด์คอมพิวติ้งยังคงเป็นปราการหลักด้านความปลอดภัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่สามารถรองรับการเติบโตในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน เนื่องจากมีความคล่องตัว ยืดหยุ่น และปรับขนาดได้"
"องค์กรยังใช้จ่ายได้เท่าที่มีงบประมาณอยู่เท่านั้น ซึ่งการใช้จ่ายบนคลาวด์อาจลดลงถ้างบประมาณรวมของไอทีปรับลดลง เนื่องจากคลาวด์ยังเป็นการใช้จ่ายด้านไอทีกลุ่มใหญ่ที่สุดและเป็นไปตามสัดส่วนของงบประมาณ"
การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าบริการ Infrastructure-as-a-service (หรือ IaaS) จะเป็นหมวดการใช้จ่ายคลาวด์ของผู้ใช้ที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดที่ 29.8% ในปี 2566 และในปีหน้าการใช้จ่ายคลาวด์ในทุกหมวดจะโตขึ้น
"ธุรกิจเดินหน้าเปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์กันอย่างต่อเนื่อง โดยบริการ IaaS จะโตต่อเป็นปกติ ตามที่องค์กรกำลังเร่งปรับปรุงระบบไอทีให้มีความทันสมัย สำหรับลดความเสี่ยงและลดต้นทุนให้เหมาะสม ซึ่งการย้ายระบบไปยังคลาวด์ยังช่วยลดรายจ่ายด้านการลงทุนระยะยาว (Capital Expenditures) โดยสามารถทยอยจ่ายเงินสดตามรูปแบบการสมัครใช้ นับว่าเป็นประโยชน์สำคัญท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เงินสดมีความสำคัญต่อการรักษาการดำเนินธุรกิจ" ซิด ณาก กล่าวเพิ่มเติม
การ์ทเนอร์ยังคาดการณ์ด้วยว่าบริการ PaaS และบริการ Software-as-a-service (หรือ SaaS) จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภาวะเงินเฟ้อ เนื่องมาจากความท้าทายด้านพนักงานและการมุ่งเน้นไปที่การปกป้องผลกำไรขององค์กร อย่างไรก็ตามการ์ทเนอร์คาดว่าทั้ง 2 หมวดนี้จะยังเติบโตต่อเนื่องในปี 2566 โดยบริการ PaaS จะเติบโตที่ 23.2% ขณะที่บริการ SaaS เติบโตที่ 16.8%
"ค่าจ้างที่สูงขึ้นและบุคลากรที่มีทักษะมากขึ้นมีความจำเป็นกับการพัฒนาแอปพลิเคชัน SaaS ให้ทันสมัย ดังนั้นองค์กรจะเผชิญกับความท้าทายด้านการจ้างงานที่ลดลงเพื่อควบคุมต้นทุน แต่บริการ PaaS สามารถสร้างโค้ดอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อใช้ในแอปพลิเคชัน SaaS ได้ ดังนั้นอัตราการใช้บริการ PaaS จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย"
"แม้จะมีการเติบโต ความสามารถในการทำกำไร และแรงกดดันจากการแข่งขัน แต่การใช้จ่ายกับคลาวด์จะยังมีอยู่ต่อไปตราบเท่าที่มีการใช้งานคลาวด์ เมื่อแอปพลิเคชั่นและปริมาณเวิร์คโหลดย้ายไปยังระบบคลาวด์ที่โดยทั่วไปแล้วจะคงอยู่ที่นั่น โดยรูปแบบการสมัครใช้คลาวด์แบบสมาชิกนั้นจะทำให้ธุรกิจเกิดการใช้จ่ายตลอดระยะเวลาของสัญญาและยังมีแนวโน้มว่าจะสูงเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายบนคลาวด์ถือเป็นรายได้รายปี ซึ่งเป็นเสมือนของขวัญที่มอบให้อย่างต่อเนื่องแก่ผู้จัดจำหน่ายคลาวด์" ซิด ณาก กล่าวสรุป
ข้อมูลสำหรับประเทศไทย
การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในปี 2566 มูลค่าการใช้จ่ายบริการคลาวด์สาธารณะจะโตขึ้น 31.8% หรือ 54.4 พันล้านบาท จาก 41.3 พันล้านบาทในปี 2565 โดยในปี 2566 บริการ Infrastructure-as-a-service (IaaS) จะเป็นหมวดที่มียอดการใช้จ่ายโตมากสูงสุดที่ 41.9% และทุกหมวดบริการจะโตในระดับเลขสองหลัก
ลูกค้าการ์ทเนอร์ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ "Forecast: Public Cloud Services, Worldwide, 2020-2026, 3Q22 Update."
นักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์จะนำเสนอการวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับกลยุทธ์ของระบบคลาวด์และโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงแนวโน้มการดำเนินงานที่งาน Gartner IT Infrastructure, Operations & Cloud Strategies Conferences ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน ณ กรุงลอนดอน, 6-8 ธันวาคม ที่ลาสเวกัส และ 13-14 ธันวาคม ที่กรุงโตเกียว ติดตามข่าวสารและการอัปเดตจากการประชุมเหล่านี้ได้ทาง Twitter โดยติดแฮชแท็ก #GartnerIO
เกี่ยวกับ Gartner for High Tech
Gartner for High Tech นำเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดตามขอบเขตความผิดชอบให้แก่ผู้นำเทคโนโลยีและทีมงานไอที รวมถึงข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรม มุมมองกลยุทธ์แนวโน้มเกิดใหม่และการเปลี่ยนแปลงในตลาด เพื่อให้สามารถจัดลำดับความสำคัญของภารกิจและสร้างความสำเร็จให้แก่องค์กรในอนาคต อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.gartner.com/en/industries/high-tech หรือติดตามข่าวสารและการอัปเดตจาก Gartner for High Tech ได้ที่ Twitter และ LinkedIn
ติดตามข่าวสารและข้อมูลอัปเดตจาก Gartner for High Tech ได้ทาง Twitter และ LinkedIn หรือเยี่ยมชม IT Newsroom สำหรับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม
เกี่ยวกับการ์ทเนอร์
บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com