วว. ร่วมประชุม WAITRO Summit 2022 ส่งผลงานวิจัยประกวดโปสเตอร์ธีม SDG Impact @ เมืองเคปทาวน์ แอฟริกาใต้

ข่าวทั่วไป Wednesday November 16, 2022 10:32 —ThaiPR.net

วว. ร่วมประชุม WAITRO  Summit  2022  ส่งผลงานวิจัยประกวดโปสเตอร์ธีม SDG  Impact  @ เมืองเคปทาวน์ แอฟริกาใต้

ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย น.ส. พิมประไพ ศุภรรัตน์ นักวิเทศสัมพันธ์อาวุโส วว. เข้าร่วมงาน WAITRO Summit 2022 เป็นวันที่สอง ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 พฤศจิกายน 2565 ณ เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ โดยได้ปฏิบัติภารกิจ Workshop on Benchmarking Best RTO Management Practice ซึ่งเป็นโครงการ WAITRO Benchmarking สำหรับหน่วยงานวิจัยสมาชิก WAITRO ดำเนินการโดย Danish Technology Institute (DTI) ร่วมกับ Jiangsu Industrial Technology Research Institute (JITRI) การเข้าร่วม Benchmarking ทำให้ได้เปรียบเทียบสมรรถนะระหว่างหน่วยงาน เพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติ Best Practices ให้ทัดเทียมหน่วยงานที่มีศักยภาพสูงกว่า ดังนั้นเพื่อให้ผลการศึกษา Benchmark มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานวิจัยมากกว่า 50 หน่วยงาน จากหลากหลายภูมิภาค

นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมสัมมนาย่อย เช่น Kick-off Workshop on SDG 3 - Good Health Well being และ Kick-off Workshop on SDG 17 - Partnership for the Goals และ Workshop on Project Pitch โดย Mr. Dirk Lehmann, Pitch Coach ประเทศเยอรมนี ที่ถ่ายทอดความรู้การจัดทำโครงสร้างและเทคนิคการ Pitch  การทำ Power Point เพื่อดึงดูดเฉพาะข้อมูลสำคัญ  นอกจากนี้ WAITRO ยังจัดประกวดโปสเตอร์ในธีม SDG Impact  ซึ่งมีสมาชิกส่งเข้าประกวดจำนวน 48 โปสเตอร์ และ วว. ได้ส่งผลงานวิจัยร่วมประกวดจำนวน  2  โปสเตอร์ ดังนี้

 1.ผลงาน BCG Farming Model ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่เกาะสมุย สร้างงาน  สร้างอาชีพ ตามหลัก  BCG  ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมี ดร.รจนา  ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. เป็นหัวหน้าโครงการ

2.ผลงาน Production System of Quality, Low-cost, and Sustainable Community Water Supply using IoT in a Shortage Area โดยเป็นโครงการนำ IOT มาใช้ในระบบการผลิตน้ำประปาคุณภาพ มีต้นทุนต่ำและยั่งยืนสำหรับพื้นที่ขาดแคลน ซึ่งมี ดร.เอกชัย ธรรมสัตย์ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ วว. เป็นหัวหน้าโครงการ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ