ไอแบงก์ รวมมาตรการช่วยเหลือทางการเงินและขนโปรโมชันสุดปัง เยือนอีสาน ในงาน "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้" สัญจร ครั้งที่ 2 จ.ขอนแก่น

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday November 16, 2022 17:30 —ThaiPR.net

ไอแบงก์ รวมมาตรการช่วยเหลือทางการเงินและขนโปรโมชันสุดปัง  เยือนอีสาน ในงาน

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) รวบรวมมาตรการความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกหนี้ที่กำลังประสบปัญหา และขนโปรโมชันสุดพิเศษ ไปบริการพี่น้องชาวอีสาน มีทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัยอัตรากำไรต่ำ เริ่มต้น 1.99% ต่อปี เงินฝากประจำพิเศษ ที่ให้ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับสูงสุด 1.20% ต่อปี ทรัพย์สินรอขายทรัพย์สวยราคาโดนใจ พร้อมให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างยั่งยืน ในงาน "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน" ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2565 ณ ฮอลล์ 2 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ (KICE) จังหวัดขอนแก่น

มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ สัญจร ครั้งที่ 2 นี้ จัดโดย กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐทุกแห่ง ซึ่งมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นเจ้าภาพหลัก จัดขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาหนี้สินประชาชน และต่อยอดสินเชื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้ พร้อมให้คำปรึกษาด้านการเงินต่างๆ

ภายในงาน ไอแบงก์ ได้รวบรวมมาตรการความช่วยเหลือด้านการเงิน และยกขบวนโปรโมชันทางการเงินต่างๆ มากมาย ดังนี้

  • มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหา (NPF) สำหรับลูกหนี้สินเชื่อรายย่อย
    • ชำระเฉพาะกำไรรายเดือน 100% (ลดอัตรากำไรรายเดือน 12 เดือน)
    • ชำระเฉพาะกำไรรายเดือน 75% (ลดอัตรากำไรรายเดือน 12 เดือน)
    • ชำระเฉพาะกำไรรายเดือน 50% (ลดอัตรากำไรรายเดือน 12 เดือน)
  • มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้ทั่วไป (Non - NPF)
    สำหรับลูกหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย (MSME) และสินเชื่ออเนกประสงค์ แบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน
    • ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ / มีสถานะค้างชำระไม่เกิน 90 วัน
    • ได้รับการผ่อนปรนชำระเฉพาะกำไร ไม่เกิน 12 เดือน และขยายระยะเวลาผ่อนชำระ ไม่เกิน 2 ปี
    • ลดค่างวดการผ่อนชำระเป็นระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน
      (เงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)
  • มาตรการแก้หนี้ระยะยาวด้วยการรีไฟแนนซ์ (Refinance) และการรวมหนี้ (Debt Consolidation) เพื่อลดภาระค่างวดผ่อนชำระ สำหรับผู้ที่มีบัญชีสินเชื่อบ้านและบัญชีสินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกัน สามารถเข้าร่วมมาตรการโดยการรวมหนี้ทั้งภายในธนาคาร และ สถาบันการเงินอื่น
  • โครงการสินเชื่อ Soft Loan ฟื้นฟูธุรกิจ เป็นการให้สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคาร ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ไม่เกิน 500 ล้านบาท หรือลูกค้าสินเชื่อใหม่ที่ไม่มีวงเงินกับสถาบันการเงินใด ๆ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ ลดผลกระทบต่อการจ้างงาน และฟื้นฟูการดำเนินกิจการ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการ Refinance และเพื่อการลงทุน หรือการปรับปรุง หรือการพัฒนา ในเรื่องของเครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นการเสริมศักยภาพธุรกิจให้สามารถแข่งขันและดำเนินการต่อได้อย่างยั่งยืน ทั้งจากกระแสดิจิทัลเทคโนโลยีใหม่ การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือนวัตกรรมแห่งโลก
  • มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอุทกภัย 2565 เพื่อช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อของธนาคารที่ประสบภัยอุทกภัยและได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้รับการพักชำระหนี้เงินต้น สูงสุด 6 เดือน พร้อมยกเว้นค่าชดเชยผิดนัด (Late Charge) และขยายเวลาสัญญาสินเชื่อออกไปตามระยะเวลาพักชำระหนี้เงินต้น
  • นอกจากนี้ยังมี แคมเปญ "ไอแบงก์ ยืนหนึ่ง" ที่ครบเครื่องเรื่องสินเชื่อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะซื้อ ซ่อม สร้าง รีไฟแนนซ์ คิดอัตรากำไรต่ำพิเศษ เริ่มต้น 1.99% ต่อปี (SPRL - 5.41% ปัจจุบัน SPRL = 7.4% ต่อปี) นาน 6 เดือน ให้วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาท ผ่อนได้นานสูงสุด 35 ปี รวมถึงสินเชื่ออเนกประสงค์ Top up และสินเชื่อบ้านแลกเงิน อัตรากำไรต่ำพิเศษ พร้อมฟรีค่าประเมินและค่านิติกรรมสัญญา ด้านเงินฝากประจำพิเศษ ให้ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับสูงถึง 1.20% ต่อปี (ระยะเวลาการฝาก 24 เดือน)

    ผู้สนใจ เชิญชวนร่วมงานระหว่างวันที่ 18-20 พฤศจิกายน 2565 ณ ฮอลล์ 2 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดขอนแก่น (KICE) ตั้งแต่เวลา 10.00 - 18.00 น. พิเศษสำหรับลูกค้าที่ยื่นคำขอพร้อมเอกสารครบถ้วน รับทันทีของที่ระลึกกระเป๋าผ้าเอนกประสงค์ และรับของพรีเมี่ยมอีกต่อเมื่อทำธุรกรรมครบเงื่อนไขธนาคาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ iBank Call Center 1302 หรือ แชททาง Messenger : Islamic Bank of Thailand - ibank (@ibank.th) และ Line : iBank 4 all (@ibank)


    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ