8 สิ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ช้า เสียหายง่าย และพังไว

ข่าวเทคโนโลยี Friday November 18, 2022 09:49 —ThaiPR.net

8 สิ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ช้า เสียหายง่าย และพังไว

ปัญหาที่คนใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักจะเจอกัน ไม่ว่าจะเครื่องคอมที่บ้าน หรือแม้แต่ออฟฟิศที่ทำงานก็คือ ขณะที่ใช้ทำงานอยู่ๆ เครื่องคอมก็เกิดทำงานช้าลง หรือเครื่องค้างขึ้นมาซะอย่างนั้น บางครั้งปิดเปิดใหม่ก็ใช้เวลานาน หรือเปิดไม่ค่อยจะติด และสุดท้ายหนักเข้า บางคนคอมพิวเตอร์ถึงกับใช้งานไม่ได้และพังไปเลยก็มี ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็คือการใช้งานแบบไม่ค่อยได้ดูแล หรือดูแลอย่างไม่ถูกต้องนั่นเอง วันนี้เราจะพาไปดู 8 สิ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ช้า เสียหายง่าย และมีโอกาสพังไว เพื่อจะได้หาทางป้องกันและใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างยาวนาน

1. ฝุ่นละออง คราบสกปรก
ปัญหาแรกๆ สาเหตุที่คอมพิวเตอร์ทำงานช้า เปิดโปรแกรมค้าง หรือหนักเข้าจนอาจซ่อมแซมให้กลับมาเหมือนเดิมไม่ได้ คือปัญหาที่หลายคนมักจะมองไม่เห็น ด้วยการไม่ทำความสะอาด ปล่อยให้มีฝุ่นละออง คราบสกปรก เกาะตัวสะสมอยู่ในเครื่องมากเกินไป พอนานๆ เข้าฝุ่นและคราบต่างๆ จะเข้าไปเกาะอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ภายในเครื่อง เช่น พัดลมระบายความร้อน ทำให้พัดลมทำงานหนัก ส่งผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ

2. อุณหภูมิความร้อน
ไม่เพียงฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกเท่านั้น ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ร้อนจนเกิดความเสียหาย ความร้อนจากภายนอกตัวเครื่อง ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญไม่ต่างกัน การวางตำแหน่งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในที่แดดจัด ใกล้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ หรือวางในมุมที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องช้าและทำให้อุปกรณ์เสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น

3. สะสมความชื้น
นอกจากความร้อนแล้ว ความชื้นก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจดูแล เพราะคอมพิวเตอร์ก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ไม่ควรให้โดนน้ำ หรือโดนความชื้น เพราะอาจทำให้เครื่องอืดเครื่องช้า เปิดไม่ค่อยติด หรืออาจจะเกิดไฟฟ้าลัดวงจร จนเกิดความเสียหายได้

4. หล่นหรือโดนกระแทก
หากตัวเครื่องถูกกระทบกระเทือน โดนของแข็งกระแทกอย่างแรง หรือทำหล่น ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เกิดอาการรวน จนส่งผลให้อุปกรณ์ภายในเสียหายได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ที่เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญ

5. โดนไวรัสเล่นงาน
ในยุคที่ต้องมีการโอนถ่ายข้อมูลร่วมกันกับผู้อื่นตลอดเวลา อุปกรณ์ประเภท แฟลชไดรฟ์ ฮาร์ดดิสก์พกพา ฯลฯ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ซอฟต์แวร์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดความเสียหายได้ง่ายๆ เพราะอุปกรณ์ต่างๆ ที่เอามาต่อพ่วงนั้น อาจมีไวรัสแอบแฝงมาทำลายระบบด้วยนั่นเอง ซึ่งรวมไปถึงการดาวน์โหลดโปรแกรมที่ไม่มีลิขสิทธิ์ด้วยเช่นกัน

6. ฮาร์ดดิสก์เต็ม
หากดาวน์โหลดหรือลงโปรแกรมต่างๆ ไว้ในเครื่องมากมาย จนความจุฮาร์ดดิสก์ภายในเครื่องเต็ม โดยไม่ได้ทำความสะอาด หรือลบไฟล์ขยะทิ้งไป ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องรวน หน่วง และทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้าเช่นเดียวกัน หลายๆ คนมักจะใช้งานจนลืมลบไฟล์ หรือโปรแกรมที่ไม่ใช้ออกจากเครื่อง

7. ชาร์จคอมพิวเตอร์นานเกินไป
การเสียบไฟชาร์จคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กตลอดเวลา หรือเป็นระยะเวลานานๆ จะส่งผลให้อุปกรณ์แบตเตอรี่เสื่อมเอาได้ง่ายๆ โดยเฉพาะแบตเตอร์รี่ลิเธียมรุ่นใหม่ๆ ที่มีระบบสะสมไฟทุกครั้งที่ชาร์จ ช่วยยืดอายุการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้นานมากยิ่งขึ้น และทางที่ดีควรชาร์จแบตเตอรี่เมื่อมีความจุต่ำกว่า 20% ไม่ควรใช้จนแบตเตอรี่หมด

8. กระแสไฟฟ้าขัดข้อง
สุดท้ายปัญหาที่เกิดจากกระแสไฟทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นไฟตก ไฟกระชาก ไฟไม่สม่ำเสมอ ไฟดับ ฯลฯ คือสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ช้า เสียหายง่าย และพังไว เนื่องจากคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหลายใช้ไฟฟ้าในการทำงาน เมื่อเกิดปัญหาจากกระแสไฟ ทำให้คอมพิวเตอร์ดับและตัดการทำงาน จนเป็นผลเสียกับอุปกรณ์ต่างๆ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรติดตั้งเครื่องสำรองไฟ หรือ UPS เพื่อป้องกันปัญหาฉุกเฉินจะดีที่สุด โดยเฉพาะ Line Interactive UPS หรือ Stabilizer UPS เพราะสามารถป้องกันระบบไฟฟ้าได้ครอบคลุม และมีระบบป้องกันแรงดันไฟฟ้าสูงต่ำอัตโนมัติ

การใช้งานคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ เพราะหากเกิดความเสียหายหรือเกิดพังขึ้นมา จะเสียหายทั้งข้อมูลสำคัญๆ ในเครื่อง เสียทั้งค่าซ่อม หรืออาจต้องซื้อใหม่ เพราะราคาคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็มีราคาค่อนข้างสูง การดูแลป้องกันและใช้งานอย่างถูกวิธี จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด โดยเฉพาะการติดตั้งอุปกรณ์สำรองไฟ UPS ที่มีราคาไม่แพง แต่ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างคุ้มค่า หากสนใจอุปกรณ์เครื่องสำรองไฟ ที่มีให้ผลิตภัณฑ์ให้เลือกอย่างหลากหลาย บริการหลังการขายที่รวดเร็ว แนะนำให้เข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ Chuphotic ผู้เชี่ยวชาญและจำหน่ายเครื่องสำรองไฟแบบต่างๆ เช่น Line Interactive UPS True online 1phase ฯลฯ รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างครบถ้วน.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ