การแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2551 Thailand Intelligent Vehicle Challenge 2008 2 เมษายน 2551

ข่าวเทคโนโลยี Friday April 4, 2008 11:40 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 เม.ย.--ซีเกท เทคโนโลยี
สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ร่วมกับ ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย โดยการสนับสนุนจากบริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จัดการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2551 (Thailand Intelligent Vehicle Challenge 2008) ซึ่งเป็นการแข่งขันพัฒนารถไร้คนขับ ให้วิ่งไปบนเส้นทาง ที่กำหนด ให้ได้ระยะทางไกลที่สุดเร็วที่สุด โดยการจัดนี้นับเป็นการแข่งขัน ปีที่ 2 การแข่งขันรอบคัดเลือก จัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายน ศกนี้ ณ สนามบางกอก เรซซิ่ง เซอร์กิต ด้านหลังซีคอนสแควร์
การจัดการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย จัดขึ้นครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ. 2550 โดยความร่วมมือของหน่วยงานดังกล่าวข้างต้น โดยมีทีมนิสิตนักศึกษามากกว่า 15 ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งนี้ ทีมแจ็ค โอแลนเทิร์น (Jack O Lantern ) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชนะเลิศการแข่งขัน ในการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2551 มีทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 16 ทีม จาก 13 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศกติการถที่ใช้แข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้รถที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเองหรือรถที่มีขายตามท้องตลาดก็ได้มาพัฒนาดัดแปลงต่อให้เป็นรถอัจฉริยะ ไม่มีข้อจำกัดในประเภทของเครื่องยนต์หรือแหล่งกำเนิดพลังงาน ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้รถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในประเภทต่าง ๆ เช่น เบนซิน ดีเซล แก๊สโซฮอล แก๊สธรรมชาติ แก๊สปิโตรเลียมเหลว อัลกอฮอล์ หรือสามารถใช้รถที่ใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานประเภทอื่น เช่น รถไฟฟ้า รถไฮบริดจ์ รถพลังงานเคมี หรือรถที่ใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหลายประเภทพร้อมกันเป็นต้น
คุณสมบัติของรถ
รถจะต้องสามารถบรรจุผู้โดยสารได้อย่างต่ำ 1 คนและแล่นไปได้ด้วยกำลังของรถเอง (คณะกรรมการจะตรวจสอบคุณสมบัติข้อนี้โดยการตรวจสอบจากการวางได้อย่างเสถียรของผู้โดยสารจำลองที่เป็นวัตถุขนาด 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร หนัก 60 กิโลกรัม) รถจะต้องบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองไว้บนรถ ไม่อนุญาตให้ติดตั้งอุปกรณ์ ใด ๆ ที่ใช้ในการแข่งขันนอกตัวรถ เช่นที่บริเวณสนามแข่งขัน ขนาดของรถอย่างต่ำคือกว้าง 1 เมตรและยาว 2 เมตร รถจะต้องสามารถทำงานได้ในสภาวะการขับรถจริง เช่น มีแสงแดด มีร่มเงา มีฝนตก
ความเป็นอัจฉริยะ
รถจะต้องสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองโดยปราศจากคนขับทั้งโดยตรง หรือแบบบังคับทางไกล รถจะต้องสามารถเคลื่อนที่ไปบนเส้นทางที่กำหนดให้โดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ ที่ทำให้สามารถแบ่งแยกถนนออกจากสิ่งแวดล้อม อื่น ๆ และบังคับรถให้วิ่งอยู่บนถนนได้ สามารถรู้ถึงสิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่พร้อมทั้งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ สามารถรู้ถึงสัญญาณจราจรเช่น สัญญาณไฟเขียว ไฟแดง หรือสัญญาณบังคับทิศทาง พร้อมทั้งปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด
เซนเซอร์ที่ใช้
ไม่มีข้อจำกัดของประเภทและจำนวนของเซนเซอร์ที่ใช้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้ กล้อง เลเซอร์ เรดาร์ โซนาร์ จีพีเอสและแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ เอนโคดเดอร์ หรือเซนเซอร์ประเภทอื่น ๆ ได้โดยอิสระ
อุปกรณ์ควบคุมที่ใช้
ไม่มีข้อจำกัดของประเภทและจำนวนของอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดก็ได้ เช่น เดสก์ทอป แลปทอป พีซี104 พีดีเอ คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ประเภทฝังตัว ไมโครโปรเซสเซอร์
รถที่ใช้แข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้รถที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเองหรือรถที่มีขายตามท้องตลาดก็ได้มาพัฒนาดัดแปลงต่อให้เป็นรถอัจฉริยะ ไม่มีข้อจำกัดในประเภทของเครื่องยนต์หรือแหล่งกำเนิดพลังงาน ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้รถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในประเภทต่าง ๆ เช่น เบนซิน ดีเซล แก๊สโซฮอล แก๊สธรรมชาติ แก๊สปิโตรเลียมเหลว อัลกอฮอล์ หรือสามารถใช้รถที่ใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานประเภทอื่น เช่น รถไฟฟ้า รถไฮบริดจ์ รถพลังงานเคมี หรือรถที่ใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหลายประเภทพร้อมกันเป็นต้น
คุณสมบัติของรถ
รถจะต้องสามารถบรรจุผู้โดยสารได้อย่างต่ำ 1 คนและแล่นไปได้ด้วยกำลังของรถเอง (คณะกรรมการจะตรวจสอบคุณสมบัติข้อนี้โดยการตรวจสอบจากการวางได้อย่างเสถียรของผู้โดยสารจำลองที่เป็นวัตถุขนาด 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร หนัก 60 กิโลกรัม) รถจะต้องบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองไว้บนรถ ไม่อนุญาตให้ติดตั้งอุปกรณ์ ใด ๆ ที่ใช้ในการแข่งขันนอกตัวรถ เช่นที่บริเวณสนามแข่งขัน ขนาดของรถอย่างต่ำคือกว้าง 1 เมตรและยาว 2 เมตร รถจะต้องสามารถทำงานได้ในสภาวะการขับรถจริง เช่น มีแสงแดด มีร่มเงา มีฝนตก
ความเป็นอัจฉริยะ
รถจะต้องสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองโดยปราศจากคนขับทั้งโดยตรง หรือแบบบังคับทางไกล รถจะต้องสามารถเคลื่อนที่ไปบนเส้นทางที่กำหนดให้โดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ ที่ทำให้สามารถแบ่งแยกถนนออกจากสิ่งแวดล้อม อื่น ๆ และบังคับรถให้วิ่งอยู่บนถนนได้ สามารถรู้ถึงสิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่พร้อมทั้งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ สามารถรู้ถึงสัญญาณจราจรเช่น สัญญาณไฟเขียว ไฟแดง หรือสัญญาณบังคับทิศทาง พร้อมทั้งปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด
เซนเซอร์ที่ใช้
ไม่มีข้อจำกัดของประเภทและจำนวนของเซนเซอร์ที่ใช้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้ กล้อง เลเซอร์ เรดาร์ โซนาร์ จีพีเอสและแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ เอนโคดเดอร์ หรือเซนเซอร์ประเภทอื่น ๆ ได้โดยอิสระ
อุปกรณ์ควบคุมที่ใช้
ไม่มีข้อจำกัดของประเภทและจำนวนของอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดก็ได้ เช่น เดสก์ทอป แลปทอป พีซี104 พีดีเอ คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ประเภทฝังตัว ไมโครโปรเซสเซอร์
ไมโครคอนโทรเลอร์ ดีเอสพี พีแอลซี หรืออุปกรณ์ควบคุมอื่น ๆ ได้โดยอิสระ
ความเร็วของรถ
ความเร็วสูงสุดของรถในการแข่งขันถูกจำกัดไว้ที่ 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้ง
รถยนต์ของทุกทีมต้องติดตั้งฮาร์ดดิสก์ซีเกท รุ่น EE 25.2 ความจุ 60 กิกะไบต์ เพื่อเก็บข้อมูลที่วัดได้จากเซนเซอร์ เช่น ตำแหน่งของรถ หรือ ภาพที่ได้รับจากกล้อง หรือ ข้อมูลอื่น ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการแข่งขัน จำนวนความถี่ของข้อมูลอย่างต่ำหนึ่งชุดข้อมูลทุก ๆ ระยะทาง 20 เมตร เพื่อเป็นรายงานประกอบการแข่งขัน
การหยุดฉุกเฉิน
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องพัฒนาระบบหยุดรถแบบฉุกเฉิน ทั้งแบบปุ่มกด และแบบทางไกลระยะอย่างต่ำ 20 เมตร และสาธิตให้คณะกรรมการพิจาณาว่าสามารถหยุดรถได้จริงในกรณีฉุกเฉินก่อนการแข่งขันทุกครั้ง
เวลาในการแข่งขัน
เวลาที่ใช้ในการแข่งขันสูงสุดของแต่ละทีมคือ 20 นาที ผู้เข้าแข่งขันสามารถขอยุติการแข่งขันก่อนเวลาการแข่งขันสูงสุดได้ โดยมีข้อกำหนดขณะเริ่มการแข่งขันว่าจะต้องเคลื่อนที่ออกจากจุดสตาร์ทให้ได้ภายใน 5 นาที ในช่วง 5 นาทีนี้ผู้เข้าแข่งขันสามารถรีไทร์ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ผลของการแข่งขันจะพิจารณาจากการวิ่งครั้งไกลที่สุด รถถูกพิจารณาว่าออกนอกเส้นทางเมื่อทุกล้อออกนอกถนน
การพิจารณาผลการแข่งขัน
การแข่งขันในรอบแข่งคัดเลือก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องพัฒนารถไร้คนขับให้วิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดให้ที่มีสิ่งกีดขวาง ติดตั้งอยู่บนเส้นทางอย่างสุ่ม ทีมที่วิ่งได้ระยะทางไกลที่สุดเร็วที่สุด 8 ทีมแรกจะได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 50,000 บาท
การแข่งขันในรอบแข่งชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องพัฒนารถไร้คนขับ ให้วิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดให้ โดยที่เส้นทางจะถูกกำหนดให้ก่อนการแข่งขัน 1 ชั่วโมง ในลักษณะของตำแหน่งต่าง ๆ ที่รถจะต้องวิ่งผ่านตามลำดับ บนเส้นทางจะมี สิ่งกีดขวางติดตั้งอย่างสุ่ม ก่อนทางแยกบางจุดจะมีสัญญาณไฟจราจร บนเส้นทางจะมีสัญญาณจราจรต่าง ๆ รถต้อง ปฏิบัติตามสัญญาณไฟและสัญญาณจราจร นอกจากนี้บนเส้นทางจะมีสิ่งที่อาจจะรบกวนสัญญาณ GPS การตัดสิน ทีมชนะเลิศ จะพิจารณาจากทีมที่วิ่งได้ระยะทางไกลที่สุดเร็วที่สุดและปฏิบัติตามกฎจราจรมากที่สุด
คุณสมบัติของทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน
สมาชิกในทีมต้องเป็นนักศึกษาระดับอาชีวะศึกษา ระดับอุดมศึกษา หรือ สูงกว่า ในสถาบันการศึกษาในประเทศไทย มีสมาชิกในทีมไม่เกิน 10 คน และมีอาจารย์ที่ปรึกษาไม่เกิน 3 คน สมาชิกทุกคนในทีมและอาจารย์ที่ปรึกษาต้องเป็นสมาชิกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย
รางวัล
รางวัลชนะเลิศ 300,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศ 200,000 บาท
รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม 50,000 บาท
รางวัลความคิดสร้างสรรค์ 50,000 บาท
รางวัลออกแบบยอดเยี่ยม 50,000 บาท
8 ทีมที่ทำคะแนนสูงสุดที่ผ่านเข้ารอบแข่งชิงชนะเลิศ ทีมละ 50,000 บาท
กรณีข้อพิพาทของกฎกติกา
ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทที่ไม่ได้กำหนดไว้ในกฎให้ถือดุลยพินิจของคณะกรรมการตัดสินเป็นเกณฑ์ ความเห็นของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด
กำหนดการ
22 กุมภาพันธ์ 2551 วันสุดท้ายของการลงทะเบียนเข้าร่วมการแข่งขันและส่งรายงานการออกแบบ
27 กุมภาพันธ์ 2551 อบรมผู้เข้าร่วมแข่งขัน ชี้แจงกฎกติกา
2 เมษายน 2551 แข่งรอบคัดเลือก
4 มิถุนายน 2551 แข่งรอบชิงชนะเลิศ
หน่วยงาน
ผู้จัดการแข่งขัน สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย
ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย
ผู้สนับสนุนหลักการแข่งขัน บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้สนับสนุนการแข่งขัน สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ