ปัญหาสายสื่อสารรกรุงรัง ไม่เป็นระเบียบ ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่มีมาอย่างยาวนาน และเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงตลอดเวลา เพราะนอกจากจะบดบังทัศนียภาพแล้ว ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้อยู่บ่อยครั้ง รวมถึงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และอุบัติเหตุได้
นายทินกร นาทองลาย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เปิดเผยว่า "โครงข่ายท่อร้อยสายใต้ดิน" เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและโทรคมนาคมของ NT ที่มีศักยภาพความพร้อมที่สนับสนุนโครงการจัดระเบียบสายสื่อสารลงท่อร้อยสายใต้ดินด้วยความพร้อมของท่อร้อยสายใต้ดินที่มีอยู่แล้ว 4,450 กิโลเมตร ซึ่งเดิม NT ได้สร้างท่อร้อยสายไว้ใช้สำหรับสายเคเบิลทองแดงที่มีจำนวนมากๆ เพื่อให้บริการโทรศัพท์บ้าน (Fixed line) และสายเคเบิลไฟเบอร์ออปติก (Optical Fiber Cable) สำหรับเชื่อมโยงระหว่างชุมสายต่างๆ เข้าหากัน ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาทดแทนเลยมีการยกเลิกการใช้สายเคเบิลทองแดงและทำให้ท่อร้อยสายที่เคยใส่สายทองแดงไว้ว่างลง รวมทั้งมีการปรับปรุงและก่อสร้างท่อร้อยสายไปพร้อม ๆ กับการก่อสร้างถนนใหม่เพื่อลดผลกระทบจากการเปิดผิวจราจร และพร้อมให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนในการนำสายสื่อสารลงใต้ดินทั่วประเทศ ลดการลงทุนซ้ำซ้อน และประหยัดงบประมาณได้เป็นจำนวนมาก
เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานมีการลงทุนสูง ซึ่ง NT มีสินทรัพย์ด้านโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว จึงมีความพร้อมด้านการบริการด้วยการบริหารทรัพยากรร่วมกัน อีกทั้งยังมีความเป็นกลางในการบริหารจัดการแก่ผู้ให้บริการทุกรายอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม (Neutral Operator) มีการใช้ทรัพยากรของรัฐที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยปรับสภาพภูมิทัศน์ของบ้านเมืองให้มีสภาพเรียบร้อยสวยงามสมเป็นมหานครแห่งอาเซียน เพิ่มศักยภาพและความปลอดภัยของโครงข่ายสื่อสารจากการเกิดอุบัติเหตุ และยังเป็นหน่วยงานของภาครัฐโดยตรงที่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการจัดระเบียบสายสื่อสาร เพื่อสภาพภูมิทัศน์ของประเทศสวยงาม
นายทินกร กล่าวต่อว่า โครงการนี้มีการดำเนินการร่วมกันกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชน ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) , การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กรุงเทพมหานคร เทศบาลและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย โดยมีแผนการดำเนินงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว สำหรับแผนงานในกลุ่มเร่งด่วน คือพื้นที่ชั้นในของ กทม. ตามแนวถนนสายหลัก ก่อนขยายออกสู่พื้นที่รอบนอกต่อไป และหากพื้นที่ใดยังไม่สามารถนำสายลงใต้ดินได้ NT จะดำเนินโครงการจัดระเบียบสายให้เรียบร้อย ตัดสายเก่าทิ้ง และเดินสายสื่อสารใหม่ให้เรียบร้อยและปลอดภัย
ปัจจุบัน NT มีโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 7 โครงการมีทั้งที่ดำเนินแล้วเสร็จและอยู่ระหว่างดำเนินงาน รวมระยะทางทั้งสิ้น 449.19 กิโลเมตร ได้แก่
เป็นการนำสายสื่อสารลงใต้ดินตามโครงการ ปรับสภาพภูมิทัศน์ของเมืองให้สวยงาม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะรื้อถอนเสาไฟฟ้า ระยะทางรวมประมาณ 46 กิโลเมตร โดยมีโครงการที่สร้างท่อแล้วเสร็จ และนำสายลงดินแล้ว ได้แก่ จ.สุโขทัย บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์, จ.อยุธยา บริเวณรอบอุทยานประวัติศาสตร์ ถนนซีกุน ป่าโทน และศรีสรรเพชญ์, ถนนเลียบหาดเฉวง สมุย จ.สุราษฎร์ธานี และถนนบุญวาทย์ จ.ลำปาง, โครงการเมืองสามธรรม จ.สกลนคร, ถนนนิตโย-ถนนสุนทรวิจิตร จ.นครพนม, ถนนประชาราษฎร์ 200ปี และถนนบางลา จ.ภูเก็ต, ถนนนางงาม, ถนนอุดรดุษฎี จ.อุดรธานี, ถนนอุปราช จ.อุบลราชธานี และบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา
นอกจากนี้ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างนำสายลงใต้ดิน ได้แก่ จ.ลพบุรี และถนนประจักษ์ศิลปาคม จ.หนองคาย
7.โครงการตามข้อตกลงความร่วมมือกับกองทัพเรือ เป็นการนำสายสื่อสารลงใต้ดินตามโครงการปรับสภาพภูมิทัศน์บริเวณรอบๆ ฐานทัพเรือสัตหีบ โดยกองทัพเรือเปลี่ยนระบบไฟฟ้าจากสายอากาศเป็นสายใต้ดินและรื้อถอนเสาไฟฟ้า ระยะทางรวมประมาณ 42 กิโลเมตร
ส่วนแผนการดำเนินการนำท่อร้อยสายของNTลงใต้ดินในเขตกรุงเทพมหานครนั้น แบ่งเป็น 2 โครงการได้แก่
สำหรับประโยชน์ของ "โครงการท่อร้อยสายใต้ดิน" คือสามารถตอบโจทย์ความมั่นคงและมีเสถียรถาพ ทางการสื่อสารและโทรคมนาคม ของธุรกิจต่างๆ ได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ และสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน หรือ Infrastructure Sharing ทั้ง Telecom Infrastructure และ Digital Infrastructure ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน อีกทั้งยังเป็นทางเลือกให้กับผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงธุรกิจอื่นๆ ให้สามารถใช้ทรัพยากรของประเทศร่วมกันได้
โดย NT มองว่า "โครงข่ายท่อร้อยสายใต้ดินของ NT" นอกจากจะช่วยลดการลงทุนซ้ำซ้อนแล้ว ยังสามารถให้บริการด้วยต้นทุนที่ต่ำช่วยลดภาระและสนับสนุนผู้ประกอบการสื่อสารทุกรายและยังช่วยสนับสนุนการปรับสภาพภูมิทัศน์บ้านเมือง ให้มีสภาพเรียบร้อยสวยงามสมกับเป็น "มหานครแห่งอาเซียน" รวมถึงเป็นการเพิ่มศักยภาพและความปลอดภัยของโครงข่ายสื่อสารมากยิ่งขึ้น