ISO/IEC ประกาศรับรองรูปแบบเอกสาร Ecma Office Open XML

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday April 8, 2008 16:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 เม.ย.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทย
หลังจากการพิจารณากว่า 14 เดือน คณะกรรมการร่วมขององค์กรมาตรฐานสากลนานาชาติ หรือ ISO และคณะกรรมการอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ (IEC) ได้สรุปผลรับรองรูปแบบเอกสาร Office Open XML หรือ Open XML เป็นมาตรฐานสากลอย่างเป็นทางการจากการประเมินเอกสารรวบรวมข้อมูลมาตรฐานนานาชาติ (DIS) 29500 ในเรื่อง Office Open XML ที่นำเสนอโดยสถาบัน Ecma International
Open XML คือมาตรฐานเปิดสำหรับงานเอกสารใช้ในสำนักงาน อาทิเช่นการสร้างงานเอกสาร การนำเสนอ และสเปรดชีท ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากผู้ใช้งานเอกสาร นักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ ลูกค้า และองค์กรภาครัฐทั่วโลก มาตรฐานนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2549 โดยสถาบัน Ecma International ซึ่งเป็นองค์กรมาตรฐานในยุโรป หลังจากนั้นได้ถูกนำเสนอเข้ารับการรับรองมาตรฐานสากลนานาชาติจากสถาบัน International Organization for Standardization/ International Electrotechnical Commission (ISO/IEC) เพื่อการรับรองและประกาศผลอย่างเป็นทางการโดยคณะทำงานกลางขององค์กมาตรฐานสากลนานาชาติ หรือ ISO ในกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เข้าสู่ยุคใหม่แห่งการเข้าถึงและผลักดันการใช้งานร่วมกันได้ของแพล็ตฟอร์มที่ต่างกัน Open XML ได้ถูกออกแบบมาตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อให้มีความสามารถในการคงรูปแบบและคุณสมบัติของเอกสาร ข้อความ การนำเสนอ และสเปรดชีทที่ถูกถอดรหัสเป็นรูปแบบไบนารี่ แต่เพิ่มคุณสมบัติการนำเสนอในรูปแบบ XML ซึ่งมีความสามารถพิเศษในการกำหนดรูปแบบ การต่อขยายรูปแบบ การนำเสนอรายละเอียดต่างๆ ของเอกสาร และยังสามารถทำงานร่วมกันในระบบที่ต่างกันได้
ปัจจุบันมีผู้ใช้งานเอกสารกว่า 400 ล้านคนสร้างเอกสารบนรูปแบบไบนารี่ คาดกันว่ามีเอกสารถึง 40,000 ล้านฉบับที่ถูกสร้างขึ้นมา และจะถูกสร้างขึ้นเรื่อยๆ ปีละหลายพันล้านฉบับ ไฟล์ในรูปแบบไบนารี่เหล่านี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ยุคที่คอมพิวเตอร์ราคาแพงมาก ขนาดของไฟล์และเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการใช้งาน ในทางกลับกันรูปแบบ Open XML ได้นำประโยชน์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ และยังเปิดให้ใครก็ได้สามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นมากกว่าการปรับแต่งเอกสารแบบง่ายๆ คุณสมบัตินี้เองทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอพพลิเคชั่นที่สามารถใช้งานได้กับฮาร์ดแวร์หลากยชนิด อาทิเช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมไปถึงแอพพลิเคชั่นพิเศษสำหรับความต้องการของคนพิการและคนตาบอด เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น ในการทำงานด้วยรูปแบบเอกสาร Open XML นั้น จะช่วยในการเข้าถึงข้อมูลในรูปแบบ DAISY ทำให้ผู้ใช้งานเอกสารที่เป็นกลุ่มผู้พิการทางสายตา หรือผู้ที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยรูปแบบการพิมพ์ปกติได้นั้นสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นสำหรับเชื่อมต่อกับไมโครซอฟท์ออฟฟิศเวิร์ดได้ฟรี โดยสามารถแปลเอกสารที่อยู่บนรูปแบบเอกสาร Open XML ให้เป็น DAISY XML ซึ่งเป็นพื้นฐานของมาตรฐาน DAISY ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก โดยสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทยให้ความเห็นเพิ่มเติมในเรื่องนี้ว่า “การที่รูปแบบเอกสาร Open XML ได้รับการรับรองมาตรฐานอย่างเป็นทางการนั้น จะทำให้เครื่องมือแปลเอกสาร Open XML เป็น DAISY XML ของไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ เวิร์ด กลายเป็นตัวแปลที่จะช่วยแปลงเนื้อหาที่อยู่บนมาตรฐานรูปแบบเอกสารแบบ Open XML ไปสู่รูปแบบของสื่อมัลติมีเดียที่ทำให้คนทั่วโลกเข้าถึงได้โดยปราศจากข้อจำกัดในเรื่องของการมองเห็น”
บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อิสระและผู้ให้บริการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกว่าร้อยรายทั่วโลกอย่างแอปเปิ้ล อิงค์ คอเรล คอร์ป ซัน ไมโครซิสเต็มส์ อิงค์ ไมโครซอฟท์ และโนเวล อิงค์ กำลังมีการพัฒนาโซลูชั่นโดยใช้รูปแบบเอกสาร Open XML ร่วมกับแพล็ตฟอร์มอื่นๆ ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น วินโดวส์ ลีนุกซ์ แม็คโอเอส และปาล์มโอเอส ด้วยการนำเสนอคุณค่าที่แท้จริงสำหรับผู้ใช้งานระบบสารสนเทศทั่วไป ผลการวิจัยอิสระพบว่าการใช้งานรูปแบบเอกสาร Open XML จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต และบรรดาบริษัทนับพันรายได้มีการแสดงเจตจำนงในการสนับสนุน Open XML หลังจากการรับรองจากองค์กรมาตรฐานสากลนานาชาติ หรือ ISO (http://www.iso.org) และคณะกรรมการอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ (IEC) http://www.openxmlcommunity.org.
ความสามารถพิเศษของ Open XML ในการการสร้างระบบงานเอกสารในองค์กร เช่น E-Document 2000 ของ บริษัท โซลูชั่น คอร์เนอร์ จำกัด มหาชน เป็นตังอย่างหนึ่งของคุณสมบัติพิเศษของ Open XML ในการสามารถตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ติดตั้งระบบและผู้ใช้งานทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก
การรับรองครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงถึงความต้องการต่อนวัตกรรมเปิดในการจัดการรูปแบบเอกสาร ซึ่งเป็นการปูทางไปสู่มาตรฐานเอกสารในอนาคต ไมโครซอฟท์ขอขอบคุณผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจำนวนมากทั่วโลกที่ได้สละเวลาในการให้ความเห็นและแนวคิดต่างๆ และไมโครซอฟท์จะรับฟังความคิดเห็นของชุมชนทั่วโลกเสมอด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนามาตรฐาน Open XML ในผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ต่อไป
นางสาวปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การลงมตินี้ถือเป็นความสำเร็จของลูกค้าและผู้ให้บริการเทคโนโลยีรวมถึงภาครัฐในการที่จะเลือกฟอร์แมทที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด นอกจากนี้ ทุกกลุ่มยังมีโอกาสได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางนี้ ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในประเทศไทยอย่างสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (ซิป้า) ซอฟต์แวร์ปาร์ค และโรเซ็ตตาเน็ต ประเทศไทย (หนึ่งในหน่วยงานภายใต้เนคเทค) เป็นสิ่งที่มีค่าอย่างยิ่ง และเราขอขอบคุณที่ทุกฝ่ายที่ได้มีส่วนช่วยให้ Open XML เป็นมาตรฐานเอกสารสำหรับนักพัฒนาและลูกค้าในประเทศไทย เราได้รับประสบการณ์มากมายจากขั้นตอนต่างๆ ในการลงคะแนน และเรายืนยันว่าเราจะยังคงทำงานอย่างเปิดเผยและร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องมาตรฐานในการผลักดันการทำงานร่วมกันได้ระหว่างแพล็ตฟอร์มที่ต่างกันและการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ต่อไป”
การสนับสนุน Open XML ในประเทศไทยคำกล่าวต่างๆ เหล่านี้คือการยืนยันถึงการสนับสนุน Open XML ในประเทศไทย
ดร.รุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (ซิป้า)
“นี่เป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่นของไมโครซอฟท์ในเรื่องมาตรฐานและการใช้งานร่วมกันได้ของแพล็ตฟอร์มที่แตกต่างกัน ความสามารถในการนำกลับมาใช้ใหม่นี้ จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งแก่ภาครัฐ และไมโครซอฟท์เองก็ได้แสดงความมุ่งมั่นและความเป็นผู้นำที่จะทำให้เกิดประโยชน์นั้นขึ้นอย่างจริงจัง”
คุณประวิทย์ ฉัตรลดา นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย
“นวัตกรรมแบบเปิดคือคำตอบสำหรับโลกคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน เราต้องการมาตรฐานที่หลากหลาย และยินดีที่รูปแบบเอกสารออฟฟิศของไมโครซอฟท์ได้รับการรับรองเป็นมาตรฐานสากล”
คุณสุวิภา วรรณสาธพ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์ปาร์ค)
“ดิฉันทราบว่าไมโครซอฟท์ได้พยายามอย่างยิ่งในการที่จะทำให้โลกเชื่อมต่อกันผ่านแนวคิดการใช้งานร่วมกันได้ของแพล็ตฟอร์มที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์ปาร์คยินดีที่ได้ร่วมทำงานใกล้ชิดกับไมโครซอฟท์เพื่อที่จะสนับสนุนความร่วมมือทางเทคโนโลยีระหว่างไมโครซอฟท์ และพันธมิตรรายอื่นๆ ในชุมชนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ที่จะส่งผลให้เกิดความสำเร็จในโลกของเทคโนโลยีที่มีความแตกต่างกัน”
คุณสมเกียรติ อึงอารี นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย
“เป็นก้าวสำคัญสำหรับ Open XML ที่ได้รับการยอมรับโดย ISO ซึ่งจะทำให้ทางเลือกสำหรับองค์กรธุรกิจ ภาครัฐ และอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์”
ดร. ชยกฤต เจริญศิริวัฒน์ ผู้อำนวยการองค์กร RosettaNet ประเทศไทย
“การที่ไมโครซอฟท์ได้รับการรับรองให้เป็นมาตรฐานสากล เป็นคำตอบสำหรับภาคอุตสาหกรรม รูปแบบเอกสารใหม่นี้ Open XML และ PIP ของ RosettaNet จะสามารถทำงานร่วมกันในกระบวนการค้าและระบบโลจิสติกส์ สิ่งนี้จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่ระบบโลจิสติกส์และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ประเทศไทยก้าวสู่ความสำเร็จในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ได้มาตรฐานโลก”
ดร.วัชรี พรรณเชษฐ์ ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วี-สมาร์ท จำกัด
“นี่เป็นมากกว่าแค่การทำให้ Open XML เป็นมาตรฐาน การขับเคลื่อนครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีมาตรฐานที่หลากหลายซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้นักพัฒนาและผู้ใช้งานมีโอกาสได้เลือกฟอร์แมทที่เหมาะสมกับความต้องการมากที่สุด การยอมรับ Open XML เป็นมาตรฐานอย่างเป็นทางการ จะทำให้อุตสาหกรรมไอทีมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมผ่านความร่วมมือต่างๆ และเป็นอิสระจากการยึดติดอยู่กับแอพพลิเคชั่น ผู้ให้บริการ หรือแพล็ตฟอร์มอย่างใดอย่างหนึ่งในการที่จะแลกเปลี่ยนเอกสารระหว่างกัน”
Open XML กลายเป็นมาตรฐานครั้งนี้ เป็นก้าวย่างสำคัญของไมโครซอฟท์ในเป้าหมายที่จะทำให้เกิดการไม่ยึดติด สร้างทางเลือกและนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น
“ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นที่มีอยู่ในปัจจุบันมีความหลากหลาย ความต้องการภาครัฐและภาคเอกชนต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสิ่งที่ท้าทายไมโครซอฟท์อย่างมาก ในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เรากำลังทุ่มเททำงานอย่างหนักที่จะช่วยให้คนไทยและองค์กรนานาชาติเข้าใจถึงความหมายของมาตรฐานเอกสารต่อระบบนิเวศน์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเข้าใจถึงประโยชน์ที่แท้จริงของมาตรฐาน Open XML ที่จะส่งผลต่อธุรกิจของเขา” คุณปฐมา กล่าวเพิ่มเติม
หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง Open XML หรือข้อมูลเกี่ยวกับโซลูชั่นที่สามารถใช้งานมาตรฐานเปิดได้ ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จาก http://www.openxmlcommunity.org/inuse.aspx .
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
คุณศุภาดา ใจดี
ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทย
โทรศัพท์: 0-2627-3501 ต่อ 209
โทรสาร: 0-2627-3510
Email: sjaidee@th.hillandknowlton.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ